วันอาทิตย์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2562

64) ตอบคำถามเกี่ยวกับโลกแบน 35 ข้อ ภายใน 35 นาที (ข้อที่ 11-20)


35 Most Common Flat Earth Questions Answered in 35 Minutes

ข้อ 11) ทำไมดวงจันทร์ถึงกลับหัวในซีกโลกใต้? (นาทีที่ 9:02)

สำหรับคนที่อาศัยอยู่ในประเทศทางซีกโลกใต้จะเห็นดวงจันทร์กลับหัว ต่างจากคนที่อาศัยอยู่ทางซีกโลกเหนือที่จะเห็นดวงจันทร์ในทางตรงกันข้ามเพราะพวกเขามองดวงจันทร์จากคนละซีกโลกนั่นเอง 


ข้อ 12) แล้วภาพโลกที่ถ่ายจากอวกาศล่ะ? (นาทีที่ 9:39) 

ภาพโลกที่เราเห็นจากองค์กรนาซ่าคือภาพที่่ใช้โปรแกรม photoshop ตกแต่งมา ซึ่งมันเห็นได้อย่างชัดเจนและพวกเขาก็ยอมรับเองจากคำสัมภาษณ์ของนักออกแบบ Robert Simmon ที่กล่าวว่า "It is photoshopped, but it has to be." (มันถูกตกแต่งด้วยโปรแกรม photoshop แต่มันก็ต้องเป็นอย่างนั้นแหละ) นี่เป็นการพิสูจน์ว่าภาพโลกที่เห็นเป็นเพียงภาพปลอมที่ถูกตกแต่งด้วยวิธีกราฟฟิก หลังจากที่ทำการวิเคราะห์ภาพโลกหลาย ๆ ภาพ คุณจะเห็นว่ามีการทำซ้ำก้อนเมฆหลายครั้ง นอกจากนั้นยังมีคำว่า SEX ท่ามกลางก้อนเมฆอยู่ด้วย แม้แต่สีของมหาสมุทรยังแตกต่างกัน นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์เคยบอกว่าโลกมีลักษณะกลมแป้นเหมือนลูกแพร์ (oblate spheroid) ซึ่งมันขัดแย้งกับภาพโลกของนาซ่าที่มีลักษณะกลมเกลี้ยง สรุปคือเราไม่เคยมีภาพโลกจริง ๆ จากอวกาศ มีเพียงแต่ภาพที่ถูกตกแต่งด้วยโปรแกรมโฟโต้ชอปซึ่งเราก็เชื่อว่านั่นคือภาพจริง 

ลองอ่านดูข้อมูลจากเว็บไซต์ของนาซ่า ที่โรเบิร์ต ซิมมอนเคยให้สัมภาษณ์ไว้



คำถาม: สิ่งที่เจ๋งที่สุดที่คุณได้ทำจากการทำงานที่ Goddard

คำตอบ: ครั้งสุดท้ายที่มีคนถ่ายภาพโลกไว้ได้เป็นภาพจากปี 1972 เป็นภาพถ่ายที่แสดงให้เห็นโลกครึ่งใบที่มาจากวงโคจรต่ำของโลก (low earth orbit วงโคจรรอบโลกที่อยู่สูงขึ้นไประหว่าง 160-2,000 กม.) ซึ่งมาจากโครงการอพอลโล 17 องค์กรนาซ่ามีดาวเทียม Earth Observing System (EOS) ได้ถูกออกแบบมาเพื่อตรวจสอบสุขภาพโลก และในปี 2002 เรามีข้อมูลของโลกเพียงพอที่จะนำมาทำเป็นภาพโลกทั้งใบ เราก็เลยได้ทำมันออกมา ช่วงที่ยากที่สุดก็คือการทำแผนที่โลกแบบแบนให้เป็นพื้นผิวโลกจากข้อมูลดาวเทียมทั้งหมด 4 เดือน คนที่ทำงานมากที่สุดในส่วนนี้คือ Reto Stockli ซึ่งปัจจุบันทำงานอยู่ที่ Swiss Federal Office of Meteorology and Climatology แล้วเราก็เอาภาพแผนที่โลกที่มีลักษณะแบนมาพันรอบลูกบอล ในส่วนที่ผมทำก็คือการประกอบส่วนต่าง ๆ ของพื้นผิวโลกก้อนเมฆ และมหาสมุทร เพื่อให้สมกับที่ผู้คนคาดหวังที่จะได้เห็นภาพโลกจากอวกาศ และนั่นก็กลายเป็นภาพโลกที่โด่งดังมากในชื่อว่า Blue Marble (หินอ่อนสีฟ้า) ผมมีความสุขกับมันมากและไม่เคยคิดว่ามันจะได้รับความนิยมอย่างมากมาย เราไม่เคยคิดว่ามันจะกลายเป็นจุดสนใจ ผมก็ไม่เคยคิดว่าผมจะกลายเป็น Mr. Blue Marble
เราได้พัฒนาแผนที่พื้นฐานโดยการเพิ่มความละเอียด และในปี 2004 เราได้ทำภาพแผนที่เป็นซีรี่ส์ออกมาแบบรายเดือน

ดูภาพเทคนิคการแต่งภาพโดยวิธี copy และ paste ด้วยโปรแกรม Photoshop

  


  

โหลดภาพ Blue Marble จากนาซ่ามาดูเองได้ https://visibleearth.nasa.gov/images/57723/the-blue-marble

ข้อ 13) แสงจากดวงจันทร์คือแสงสะท้อนจากดวงอาทิตย์จริงหรือ? (นาทีที่ 10:52) 

แสงจากดวงจันทร์มีความแตกต่างจากแสงจากดวงอาทิตย์ แสงจันทร์มีอิทธิพลโดยตรงกับต้นไม้และอาหาร แม้แต่อุณหภูมิก็ยังแตกต่างในช่วงเวลากลางวันอุณหภูมิจะต่ำตอนที่เราอยู่ในร่ม แต่ในตอนกลางคืนถ้าเรายืนอยู่กลางแสงจันทร์อุณหภูมิจะเย็นกว่าเรายืนอยู่ในที่ร่มซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่แสงจันทร์คือแสงสะท้อนจากดวงอาทิตย์เพราะมันมีอุณหภูมิที่แตกต่างกัน แต่เป็นดวงจันทร์ที่มีแสงในตัวเองและดวงจันทร์มีลักษณะที่โปร่งแสง ดวงจันทร์ไม่ได้มีลักษณะเป็นก้อนหินทรงกลมเหมือนลูกบอลที่สะท้อนแสงจากดวงอาทิตย์อย่างที่เราถูกสอนมา หากว่าดวงจันทร์เป็นทรงกลมจริง เราต้องได้เห็นอีกด้านนึงของดวงจันทร์บ้างแต่ที่เราเห็นคือดวงจันทร์มีด้านเดียว นอกจากนั้นยังมีหลายคนที่ถ่ายภาพดวงจันทร์ที่มีแสงดาวทะลุออกมา และถ้าเราเห็นดวงจันทร์ในช่วงกลางวันเราจะเห็นสีฟ้าของท้องฟ้าที่อยู่ด้านหลังของดวงจันทร์ อย่างสัญลักษณ์ของชาวมุสลิมและองค์กรฟรีเมสันที่จะมีดวงดาวอยู่กลางดวงจันทร์ 

การทดสอบอุณหภูมิของแสงจันทร์ด้วยวิธีง่าย ๆ ทำเองได้ที่บ้าน

Moonlight Temperature Test

ลักษณะการสะท้อนแสงของดวงอาทิตย์กับวัตถุทรงกลมเราจะเห็นจุด hot spot เฉพาะบริเวณที่นูนออกมาเป็นจุด highlight ส่วนบริเวณรอบ ๆ จะเป็นเงามืด ซึ่งต่างจากการเกิดแสงบนดวงจันทร์


ในคลิปนี้มีอธิบายว่ามีการบันทึกข้อมูลจากนักดาราศาสตร์หลายครั้งว่าเห็นแสงดวงดาวทะลุดวงจันทร์ และมีรูปถ่ายที่เห็นมาให้ดูด้วย เป็นภาพถ่ายของดวงจันทร์เมื่อวันที่ 27 ก.ย. 2015 แสดงให้เห็นว่ามีแสงของดวงดาวหลายดวงทะลุออกมาจากด้านมืดของดวงจันทร์ (นาทีที่ 1.20) 

Stars and Planets seen through the moon!

1) 7 มีนาคม 1794 นักดาราศาสตร์ 4 คน (3 คนจากเมืองนอร์วิชอีก 1 คนจากลอนดอน) เขียนในเอกสาร The Philosophical Transactions of the Royal Astronomical Society ไว้ว่า "saw a star in the dark part of the moon" เห็นดวงดาวจากด้านมืดของดวงจันทร์


2) เซอร์เจมส์ เซาธ์ จากหอดูดาวในเมืองเคนซิงตันเขียนไว้ในจดหมายถึงหนังสือพิมพ์ไทมส์เมื่อวันที่ 7 เม.ย. 1848 ว่า "The star, Instead of disappearing the moment the moon's edge came in contact with it, apparently glided on the moon's dark face, as if it had been seen through a transparent moon" (ดาวดวงนั้น แทนที่จะหายไปตอนที่ขอบของดวงจ้นทร์เข้ามาบัง แต่ปรากฎว่ามันฉายแสงออกมาจากด้านมืดของดวงจันทร์ ราวกับว่าเรามองเห็นมันผ่านดวงจันทร์ที่โปร่งแสง)


The Polytechnic Review and Magazine of Science, Literature, and the Fine Arts
by George G. Sigmond, M.D.


#บทความเพิ่มเติม
22) ว่าด้วยเรื่องดวงจันทร์
https://flatearthmatters.blogspot.com/2018/07/22.html

ข้อ 14) แล้วดวงดาวต่าง ๆ ล่ะ แล้วอวกาศมีอยู่จริงไหม? (นาทีที่ 12:18) 

คำตอบคือมีและไม่มี เห็นได้ชัดว่าแสงดาวจากท้องฟ้ากำลังวนรอบหัวเราอยู่ แต่อวกาศที่เราเชื่อว่ามีจริงนั้นไม่ใช่เรื่องจริง มีเพียงเหตุผลเดียวที่ทำให้เราเชื่อเกี่ยวกับเรื่องอวกาศนั้นคือภาพยนตร์จากฮอลลีวูด หนังสือวิทยาศาสตร์ และองค์กรนาซ่า ไม่มีใครรู้แน่ชัดว่าแสงบนหัวของเรานั้นคืออะไร แต่ที่เรารู้แน่ ๆ คือมันกำลังหมุนรอบเราอยู่ และเราเป็นศูนย์กลางของวงโคจร

ดูการหมุนของทางช้างเผือก Ptolemy ได้อธิบายระบบจักรวาลแบบ Geocentric ไว้ว่าโลกเป็นศูนย์กลาง อยู่นิ่ง ๆ ไม่เคลื่อนที่ แต่มีดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ โคจรไปรอบโลก และการเคลื่อนที่ของดวงดาวมีลักษณะเคลื่อนไปพร้อมกันตามทรงกลมฟ้า (Celestial sphere) ที่มีลักษณะเป็นเส้นโค้ง (arc)


Milkyway Timelapse Compilation - 2016 - in 4K

#ข้อสังเกตนาซ่าไม่เคยมีคลิปวิดีโอที่ถ่ายดวงดาวแบบที่มีการเคลื่อนไหวมาให้ดู ขนาดเรามองด้วยตาเปล่าเรายังเห็นว่าดาวบนท้องฟ้ามีการกระพริบแสง แต่ภาพที่นาซ่าพยายามจะสื่อให้เห็นคือดวงดาวมีลักษณะเป็นวัตถุเหมือนก้อนหินไม่มีการกระพริบแสง


WANDERING STAR recorded WITH X83 NIKON P900 ZOOM Camera

#บทความเพิ่มเติม
39) ถ้าโลกแบนแล้วดาวอื่น ๆ แบนด้วยมั๊ย (Electric Universe / Plasma Universe / Electric Sky Theory)

ข้อ 15) ทำไมดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ถึงมองดูว่ามีขนาดที่เท่ากัน? (นาทีที่ 13:01) 

เรามองเห็นดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ว่ามีขนาดเท่ากันก็เพราะว่ามันมีขนาดที่เท่ากัน แต่วิทยาศาสตร์สมัยใหม่อยากให้เราเชื่อว่าการที่ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์มีขนาดเท่ากันเป็นเพราะดวงอาทิตย์มีขนาดใหญ่กว่าดวงจันทร์ 400 เท่า และอยู่ไกลออกไปถึง 400 เท่า พวกเขาบอกว่าที่เป็นแบบนั้นเพราะเป็นเรื่องบังเอิญ ทั้งที่เราสามารถมองเห็นได้ด้วยตัวเองว่าทั้งดวงจันทร์และดวงอาทิตย์กำลังโคจรอยู่บนหัวของเรา ทั้งยังมีขนาดที่เท่า ๆ กัน

ดวงอาทิตย์ในโมเดลสุริยะมีขนาดใหญ่มากและอยู่ไกลมาก



ระยะทางของดวงอาทิตย์ถูกคำนวณไว้จากนักดาราศาสตร์หลายคน Copernicus ซึ่งเป็นคนเสนอโมเดลจักรวาลแบบ Heliocentric ออกมาเมื่อ 500 ปีก่อน คำนวณไว้ว่าดวงอาทิตย์อยู่ห่างจากโลก 3 ล้านไมล์ แต่ปัจจุบันตัวเลขเปลี่ยนมาเป็น 93 ล้านไมล์ ซึ่งมีความแปรปรวนของตัวเลขที่ได้จากการคำนวณแตกต่างจากเดิมถึง 31 เท่า!!!


ข้อ 16) แล้วการเกิดสุริยุปราคาและจันทรุปราคาล่ะ? (นาทีที่ 13:48) 

หลายคนโต้แย้งว่าโลกมีลักษณะกลมเพราะดูจากเงาที่เกิดบนดวงจันทร์ในขณะที่เกิดเหตุการณ์จันทรุปราคา พวกเขาบอกว่าดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์โคจรเข้ามาอยู่ในแนวเดียวกันพอดี ทำให้โลกบังแสงจากดวงอาทิตย์จึงทำให้เกิดเงาบนดวงจันทร์แต่ทฤษฎีนี้ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ เนื่องจากมีเหตุการณ์จันทรุปราคาเกิดขึ้นกว่า 50 ครั้งในระยะเวลากว่า 2,000 ปีที่ผ่านมา ที่ปรากฎว่าทั้งดวงจันทร์และดวงอาทิตย์อยู่เหนือเส้นขอบฟ้าทั้งคู่ ซึ่งไม่สามารถเกิดขึ้นได้จริงในโมเดลระบบสุริยะ เพราะว่าดวงอาทิตย์จะต้องอยู่ด้านหลังโลกกลมอย่างพอดีโดยทำมุม 180 องศา เพื่อจะทำให้เกิดเงาบนดวงจันทร์ ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่เงาบนดวงจันทร์จะเป็นเงาของโลก ในยุคโบราณมีคำอธิบายเรื่องนี้ไว้ว่าเกิดจาก "ราหู" หรือดวงอาทิตย์สีดำ ซึ่งเป็นเทห์ฟ้าอีกประเภทหนึ่งที่เราไม่เคยถูกสอน ราหูมีกายเป็นสีดำและเป็นสาเหตุของการเกิดคราส ดังนั้นเงามืดที่เกิดบนดวงจันทร์จึงไม่ใช่เงาของโลก แต่อย่างไรก็ตามการเกิดคราสทั้งสองแบบจะเกิดจากราหูจริงหรือไม่ ผมอยากให้มีหลักฐานมากกว่านี้ แต่นี่คือคำอธิบายจากยุคโบราณเกี่ยวกับการเกิดคราส (อ่านบทความที่แอดค้นคว้ามาให้จะมีรายละเอียดเพิ่มเติม)

#บทความเพิ่มเติม
38) สุริยุปราคาและจันทรุปราคาในโมเดลโลกแบน
https://flatearthmatters.blogspot.com/2019/04/38.html


#ข้อสังเกตในโมเดลสุริยะมีการใช้แสงจากดวงอาทิตย์แตกต่างกัน 3 แบบ 
1) ตาเราเห็นดวงอาทิตย์ส่องแสงแบบเป็นรัศมีออกจากจุดศูนย์กลาง
2) ในการอธิบายเรื่องการวัดขนาดของโลกในการทดลองของ Eratosthenesใช้แสงแบบเป็นเส้นขนาน
3) เวลาอธิบายเรื่องการเกิดสุริยุปราคาและจันทรุปราคาใช้แสงแบบมีการตัดกันเป็นมุมแทยง




ข้อ 17) แล้วอิทธิพลของแรง Coriolis effect ล่ะ? (นาทีที่ 15:23) 

สิ่งหนึ่งที่ชาวโลกกลมมักเอามาอ้างว่าโลกหมุนจริงคือการหมุนวนของน้ำในอ่างล้างหน้าหรือในโถส้วมว่ามีการหมุนวนในทิศทางที่ต่างกันจากทั้งสองซีกโลก ในทางซีกโลกใต้น้ำจะหมุนวนไปทางตรงกันข้ามที่เราเรียกกันว่า Coriolis effect (วิทยาศาสตร์อ้างว่าในซีกโลกเหนือน้ำจะหมุนวนทวนเข็มนาฬิกา และในทางซีกโลกใต้น้ำจะหมุนวนตามเข็มนาฬิกา) อย่างไรก็ตามเราสามารถสังเกตดูได้เองว่าเวลาปล่อยน้ำในบ้านหลังเดียวกันมีความแตกต่างกันอยู่เสมอ (หมายถึงบางครั้งหมุนวนซ้าย บางครั้งหมุนวนขวา)

ตัวอย่างจากในคลิปนี้ มีทั้งแบบหมุนวนทั้งสองด้าน และแบบที่ไม่มีการหมุนก็มี

SchoolFreeware Science Video 11 - Science Down The Drain - Is The Rotation From The Coriolis Force?

ส่วนในคลิปนี้ถ่ายจากแม่น้ำในเมืองนิวเจอร์ซีย์ สหรัฐอเมริกา มีการเกิดน้ำวนสองจุดพร้อมกันและหมุนไปคนละทาง

Coriolis Effect Debunked


ข้อ 18) แล้วดาวดวงอื่นแบนด้วยไหม? (นาทีที่ 16:26) 

หากเราเปรียบเทียบภาพดวงดาวของนักถ่ายภาพสมัครเล่นกับภาพของนาซ่า เราจะเห็นชัดว่าภาพดาวเคราะห์จากนาซ่านั้นเป็นภาพที่ใช้คอมพิวเตอร์กราฟฟิกแต่งภาพขึ้นมา เราไม่รู้ว่าดาวเคราะห์คืออะไรหรือมันมีรูปร่างลักษณะแบบไหนกันแน่นอกเสียจากว่ามันคือแสงที่อยู่บนท้องฟ้า ในยุคโบราณมีคำอธิบายเกี่ยวกับดาวเคราะห์ไว้ดังนี้ คำว่า planets มีความหมายว่า wandering stars หมายถึงเป็นกลุ่มดาวที่มีวงโคจรของตัวเอง ต่างจากดาวดวงอื่น ๆ ส่วนคำว่า planet ก็มาจากคำว่า plane (แปลว่าราบเรียบ) แล้วเพิ่มตัว t เข้าไป ดาวเคราะห์คือดวงดาวที่อยู่บนท้องฟ้าหลายคนมักจะใช้เป็นข้ออ้างว่าดาวดวงอื่นกลมแล้วโลกก็ต้องกลมซิ ซึ่งนั่นไม่ใช่การให้เหตุผลที่ดีนัก

 เปรียบเทียบถ้าเราเห็นว่าลูกสนุ๊กเกอร์มันกลม แสดงว่าโต๊ะต้องกลมด้วย
ในโมเดลโลกแบนโลกคือโลก ดวงดาวคือดวงดาว โลกไม่ใช่ดวงดาว (ไม่ใช่ดาวเคราะห์) และดวงดาวไม่ใช่โลก

ข้อ 19) แล้วแรงโน้มถ่วงล่ะ? (นาทีที่ 17:26) 

ทฤษฎีแรงโน้มถ่วงเป็นแนวคิดที่มาจากสมาชิกฟรีเมสัน เซอร์ ไอแซค นิวตัน ที่อ้างว่าการที่สิ่งของตกจากที่สูงลงมาที่ต่ำเป็นเพราะแรงดึงดูดของโลก และให้เหตุผลว่าของชิ้นเล็กจะถูกของชิ้นใหญ่กว่าดึงดูดเข้ามา และแน่นอนว่าแรงดึงดูด/แรงโน้มถ่วงไม่เคยเกิดขึ้นบนโลก และนักวิทยาศาสตร์อ้างว่าเพิ่งได้มีการค้นพบคลื่นแรงโน้มถ่วง แต่ก็ยังไม่มีการพิสูจน์ที่ได้จากการทดลองใด ๆ แรงโน้มถ่วงดูท่าจะเป็นแรงที่ไม่แน่นอนและมีความช่างเลือก แรงโน้มถ่วงเป็นเหตุผลของการที่ทุกสิ่งทุกอย่างถูกดึงเข้ามาที่จุดศูนย์กลางของโลกและแรงโน้มถ่วงยังเป็นเหตุผลที่ดาวเคราะห์ต่าง ๆ หมุนโคจรรอบดาวที่มีขนาดใหญ่กว่า มันเป็นไปได้อย่างไรที่แรงบางอย่างที่มีอิทธิพลมากขนาดที่สามารถดึงน้ำในมหาสมุทร ดึงตึกรามบ้านช่องต่าง ๆ และผู้คนให้อยู่ติดกับโลกไว้ได้ แต่ก็อ่อนแอมากที่ปล่อยให้นก แมลง และเครื่องบินลอยอยู่ในอากาศได้อย่างอิสระเสรีในทุกทิศทาง มันเป็นไปได้อย่างไรที่แรงโน้มถ่วงจะดึงน้ำในมหาสมุทรไว้ไม่ให้กระเด็นออกไปในอวกาศ แต่ก็ไม่สามารถทำให้เรือลำเล็ก ๆ จมได้ 

เราถูกสอนมาว่าแรงโน้มถ่วงคือเหตุผลที่ดวงจันทร์โคจรรอบดาวเคราะห์ และดาวเคราะห์โคจรรอบดวงดาวอีกที แต่ด้วยแรงเดียวกันนี่เองที่ทำให้คนอยู่ติดกับพื้นโลกได้ หรือมันควรจะทำให้คนโคจรรอบโลกกันแน่ และมันควรจะเป็นแรงที่ดึงดูดดวงจันทร์และดาวอื่น ๆ ให้เข้าไปสู่ดวงอาทิตย์ หรือเป็นแรงที่ทำให้ดวงจันทร์และดาวอื่นๆ โคจรรอบดวงอาทิตย์กันแน่ ซึ่งอิทธิพลของแรงทั้งสองมันแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง โลกตามธรรมชาติรอบตัวเราสามารถอธิบายได้ด้วยกฎแห่ง "ความหนาแน่น" และ "การลอยตัว" ก็คือสิ่งของตกลงมาเพราะมีความหนาแน่นมากกว่าอากาศที่อยู่รอบ ๆ หรือถ้าหากสิ่งของนั้นมีความหนาแน่นน้อยกว่าอากาศรอบ ๆ ของสิ่งนั้นก็จะลอยขึ้นไปเหมือนลูกบอลที่อัดด้วยก๊าซฮีเลียม ความหนาแน่นและการลอยตัวเป็นเหตุผลว่าทำไมสิ่งของถึงลอยหรือจม เราไม่สามารถหาแรงโน้มถ่วงเจอได้บนโลกแห่งความจริง มันเป็นเพียงสิ่งโกหกหลอกลวง

#บทความเพิ่มเติม
2) ความไม่สมบูรณ์ของทฤษฎีไอน์สไตน์ (Imperfection of Einstein's Theory of Relativity)
https://flatearthmatters.blogspot.com/2017/12/blog-post.html

15) ที่มาที่ไปของระบบสุริยะ Heliocentric Model
https://flatearthmatters.blogspot.com/2018/04/15-heliocentric.html

19) แผนการยึดครองโลกของยิว
https://flatearthmatters.blogspot.com/2018/06/19_27.html

62) งานเฉลิมฉลองครบรอบ 300 ปี ของสมาคมฟรีเมสัน (31 ต.ค. 2017)
https://flatearthmatters.blogspot.com/2019/10/300.html

ข้อ 20) แล้วการเกิดฤดูกาลล่ะ? (นาทีที่ 19:29) 

ดวงอาทิตย์โคจรรอบโลกขยับไปเรื่อย ๆ เมื่อดวงอาทิตย์อยู่ตรงบริเวณเส้น Tropic of Cancer (เส้นรุ้งเขตร้อนเหนือ) คือบริเวณที่ดวงอาทิตย์ลอยอยู่ใกล้ขั้วโลกเหนือมากที่สุด เป็นจุดศูนย์กลางของโมเดลโลกแบนก็จะเกิดฤดูร้อนในประเทศแถบนั้นและเป็นหน้าหนาวของประเทศที่อยู่ทางซีกโลกใต้ เมื่อดวงอาทิตย์ขยับมาลอยตรงบริเวณ Tropic of Capricorn ก็จะเป็นฤดูร้อนของประเทศทางซีกโลกใต้ และเป็นฤดูหนาวของทางซีกโลกเหนือ ดวงอาทิตย์มีขนาดเล็กและอยู่ใกล้โลกมากซึ่งไม่ใช่อย่างที่เราถูกสอนมา นั่นจึงเป็นเหตุผลของการเกิดฤดูกาล ถ้าหากว่าดวงอาทิตย์อยู่ห่างไกลมากถึง 93 ล้านไมล์ เราก็ไม่ควรรู้สึกถึงความแตกต่างของอุณหภูมิในระหว่างวัน (ระหว่างที่ดวงอาทิตย์ขึ้นจนดวงอาทิตย์ตกอุณหภูมิมีความแตกต่างกันมากถึง 10-20 องศา) และก็ไม่ควรมีฤดูกาลที่แตกต่างกันมากถึง 4 ฤดู


ลองศึกษาเพิ่มเรื่อง Solar Analemma และ Lunar Analemma จะสอดคล้องกับโลกที่มีลักษณะแบนมากกว่าโลกกลม เขียนรายละเอียดไว้ให้ในบทความด้านล่างนี้แล้ว



#บทความเพิ่มเติม
52) การโคจรของดวงอาทิตย์และการเกิดฤดูกาลในโมเดลโลกแบน
https://flatearthmatters.blogspot.com/2019/08/52_28.html

-------------------------------------------------------------------------------

ตอนที่ 1) ข้อที่ 1 - 10
https://flatearthmatters.blogspot.com/2019/12/63-35-35-1-10.html

ตอนที่ 2) ข้อที่ 11 - 20 
 https://flatearthmatters.blogspot.com/2019/12/64-35-35-11-20.html

ตอนที่ 3) ข้อที่ 21 - 30 
https://flatearthmatters.blogspot.com/2020/01/65-35-35-21-30.html

ตอนที่ 4) ข้อที่ 31 - 35 
https://flatearthmatters.blogspot.com/2020/01/67-35-35-31-35.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น