วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

44) ตอบคำถามจาก inbox เรื่อง Copernicus และ Galileo



แอดอยากให้คุณทำความเข้าระบบจักรวาลแบบ Geocentric ของ Ptolemy ดูก่อนแล้วค่อยพิจารณาข้อมูลเปรียบเทียบกัน จากที่แอดค้นคว้ามาไว้ให้คือ Ptolemy เขียนตำราเกี่ยวกับดาราศาสตร์พร้อมการคำนวณการโคจรของดวงดาวไว้ทั้งหมด 13 เล่ม และเล่มสุดท้ายชื่อว่า Tetrabiblos เขียนเกี่ยวกับการพยากรณ์ตามสถิติที่เก็บข้อมูลมาตั้งแต่ยุคกรีกโบราณ ตำราของ Ptolemy ถูกใช้ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องดาราศาสตร์และโหราศาสตร์มากว่า 1,400 ปี ก่อนที่ Copernicus จะนำเสนอทฤษฎี Heliocentric ออกมา (สมัยก่อนความรู้ด้านดาราศาสตร์และโหราศาสตร์ยังรวมกันอยู่ ผู้ที่เรียนด้านดาราศาสตร์ก็จะรู้และเข้าใจเรื่องการพยากรณ์ด้วย เพราะต้องใช้ความรู้ในส่วนนี้ทำนายเรื่องดิน ฟ้า อากาศ น้ำขึ้น-น้ำลง ฤดูกาลต่าง ๆ ด้วย)

ประเด็นที่น่าสนใจคือระบบจักรวาลแบบ Geocentric ที่มีโลกเป็นศูนย์กลาง อยู่นิ่ง ๆ ไม่เคลื่อนที่ แต่มีดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ หมุนรอบโลก และการเคลื่อนที่ของดวงดาวมีลักษณะเคลื่อนไปพร้อมกันตามทรงกลมฟ้า (Celestial sphere) ที่มีลักษณะเป็นเส้นโค้ง (arc) โมเดลของระบบจักรวาลแบบ Geocentric ไม่ได้มีข้อผิดพลาดอะไร แต่เหตุผลของการเปลี่ยนให้เป็นระบบ Heliocentric ด้วยเหตุผลที่ว่าการเคลื่อนที่ของดวงดาวที่ Ptolemy อธิบายไว้มีความซับซ้อนมาก ดาวบางดวงมีการเคลื่อนแบบย้อนหลัง (retrograde) และระบบจักรวาลของ Copernicus นำเสนอโมเดลที่ดูง่ายกว่าเป็นไปตามหลักปรัชญาของ Occam's Razor (Ockham’s Razor) ที่บอกว่า "เราไม่ควรสร้างข้อสมมุติฐานเพิ่มเติมโดยไม่จำเป็น" หรือ "ทฤษฎีไม่ควรซับซ้อนเกินความจำเป็น"


มีนักคณิตศาสตร์หลายคนในปัจจุบันก็ยังศึกษาตำราของ Ptolemy อยู่ มีงานวิชาการอยู่ชิ้นนึงของ Jayant Shah ตีพิมพ์ในวารสาร Annals of Mathematical Sciences and Applications Volume 3, Number 1, 7–29, 2018 ได้ตรวจสอบความถูกต้องของการคำนวณเกี่ยวกับการเกิดสุริยุปราคาจากตำราโบราณ 3 ชิ้น คือตำรา Almagest ของ Ptolemy ตำรา Shoushihli ของจีน และ Tantrasangraha ของอินเดีย จากการทดสอบทางสถิติก็พบว่าการคำนวณของ Ptolemy มีความถูกต้องมากที่สุด พบข้อผิดพลาดเพียงแค่ 3https://www.intlpress.com/site/pub/pages/journals/items/amsa/content/vols/0003/0001/a001/index.php

แม้ว่า Copernicus นำเสนอระบบจักรวาลที่มีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางออกมาตั้งแต่ปี 1543 ชาวยิวซึ่งนิยมศึกษาเรื่องดาราศาสตร์ก็ยังใช้ตำราของ Ptolemy อยู่อีกกว่า 200 ปี และเพิ่งรับเอาระบบจักรวาลแบบ Copernicus มาสอนในโรงเรียนยิวเมื่อต้นศตวรรษที่ 19 นี่เอง


แล้วถ้า Copernicus ศึกษาเอกสารของ Ptolemy และรู้รายละเอียดทั้งหมดเกี่ยวกับการคำนวณและวงโคจรของดาวที่เก็บสถิติมาแล้วเป็นพันปี แล้วนำเสนอโมเดลใหม่ที่ตรงกันข้ามกัน แต่เนื้อในมีรายละเอียดเหมือนกันเพราะในเมื่อสิ่งที่ Ptolemy เขียนไว้มันถูกต้องอยู่แล้ว แบบนี้เรียกว่าเป็นการลอกผลงาน (pagiarism) หรือเปล่า??

แอดรวบรวมบทความที่เขียนเกี่ยวกับระบบจักรวาลแบบ Geocentric และประวัติของ Ptolemy ไว้ให้ตามนี้เลย
15) ที่มาที่ไปของระบบสุริยะ Heliocentric Model
https://flatearthmatters.blogspot.com/2018/04/15-heliocentric.html
21) ต้นกำเนิดแผนที่แบบ Azimuthal Equidistant (AE) ของ Giovanni Domenico Cassini
https://flatearthmatters.blogspot.com/2018/07/blog-post.html
36) ตอบคำถามจากใน inbox 'ทำไมโลกต้องแบนเป็นรูปวงกลม' (20 มี.ค. 2562)
https://flatearthmatters.blogspot.com/2019/04/36-inbox-20-2562.html
20) ความรู้ด้านดาราศาสตร์และแผนที่โลกแบนในยุคเริ่มต้น
https://flatearthmatters.blogspot.com/2018/07/20.html

สำหรับประเทศไทยเราเพิ่งได้รับอิทธิพลความเชื่อเรื่องโลกกลมและระบบจักรวาลของ Copernicus ในปลายรัชกาลที่ 3 และรัชกาลที่ 4 ก็ทรงศึกษาดาราศาสตร์ทั้งสองแบบ และท่านก็มีความรู้ความสามารถในศาสตร์การพยากรณ์ด้วยเช่นกัน ในการคำนวณสุริยุปราคาท่านก็คำนวณได้แม่นยำกว่านักดาราศาสตร์ชาวตะวันตกเนื่องจากใช้ความรู้ทั้งสองศาสตร์บูรณาการกัน
26) ความรู้เรื่องจักรวาลของชาวสยามในอดีต (https://flatearthmatters.blogspot.com/2018/11/26.html)
35) องค์ความรู้ในการสร้างกำแพงเมืองเชียงใหม่บนพื้นฐานความรู้เรื่องโลกแบน โดย รศ. สมัย ยอดอินทร์ (https://flatearthmatters.blogspot.com/2019/01/35.html)

ตอบคำถาม

การเสนอแนวคิดเรื่องโลกกลมไม่ได้เริ่มต้นจาก Copernicus แต่มีมาตั้งแต่สมัยกรีกโบราณตามที่มีการบันทึกไว้สามารถย้อนหลังไปถึงพิธากอรัสที่มีชีวิตอยู่ในช่วง 530 ปีก่อนคริสตกาล พิธากอรัสเชื่อว่าโลกกลมแต่เป็นศูนย์กลางของจักรวาล โดยมีดวงจันทร์ ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดวงอาทิตย์ ดาวพฤหัส ดาวเสาร์ และดวงดาวอื่น ๆ หมุนรอบโลก


พิธากอรัสเป็นปราชญ์ชาวกรีกที่ผู้คนให้ความเคารพนับถือมาก นอกจากจะเก่งด้านคณิตศาสตร์แล้วพิธากอรัสยังสอนเกี่ยวกับความเชื่อทางศาสนา Orphism ซึ่งถือเป็นศาสนาโบราณด้วย แม้ว่าพิธากอรัสจะไม่มีงานเขียนอะไรเป็นชิ้นหลักฐานให้ค้นคว้าแต่เราสามารถศึกษาแนวคิดของเขาตามคำสอนที่ตกทอดมากับสาวก ซึ่งผู้ที่ศึกษาศาสนานี้ก็มีทั้งเพลโตและอริสโตเติล

พิธากอรัสให้ความสำคัญกับตัวเลขมาก และคิดว่าทุกสิ่งในธรรมชาติสามารถแทนค่าได้ด้วยตัวเลข ซึ่งเป็นแนวคิดที่ได้รับการยอมรับและแพร่หลายมากในทางตะวันตก แต่ รศ.สมัย  ยอดอินทร์ อาจารย์สอนคณิตศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เคยแสดงความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ในบทความชื่อ "เสาหลักเมืองเชียงใหม่ แทนทฤษฎีพิธากอรัสได้อย่างไร" ซึ่งเป็นบทความที่อธิบายการสร้างกำแพงเมืองเชียงใหม่โดยใช้องค์ความรู้ของโลกแบนไว้ดังนี้



อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ลิงค์นี้ 35) องค์ความรู้ในการสร้างกำแพงเมืองเชียงใหม่บนพื้นฐานความรู้เรื่องโลกแบน โดย รศ. สมัย ยอดอินทร์ (https://flatearthmatters.blogspot.com/2019/01/35.html)

พิธากอรัสมีประวัติที่น่าสนใจมาก อริสโตเติลเขียนบันทึกไว้ว่าพิธากอรัสมีต้นขาเป็นสีทองซึ่งเผยให้เห็นในที่สาธารณะเมื่อตอนการแข่งกีฬาโอลิมปิค และในตำนานของชาวโรมันบอกไว้ว่าพิธากอรัสคือลูกของพระอาทิตย์ มีบทกลอนที่กล่าวถึงตำนานของพิธากอรัสไว้ว่า

"พิธากอรัส, บุตรผู้ที่ซึ่ง Pythias (แม่ของพิธากอรัส) ให้กำเนิดแก่อพอลโล, ผู้เป็นที่รักแห่งซุส 
เธอ (หมายถึง Pythias) ผู้ที่เป็นที่รักที่สุดแห่งพวกเราชาวเซเมียนส์"



Man, Myth, Mathematician - Pythagoras of Samos - Genius


และที่จริงแล้วผู้ที่เสนอว่าโลกไม่ได้เป็นศูนย์กลางของระบบจักรวาลคือ Philolaus ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของพิธากอรัส




ต่อมาอริสโตเติล นักปราชญ์ชาวกรีกที่มีชีวิตในยุค 384 ปีก่อนคริสตกาล ก็มีความเห็นว่าโลกกลมด้วยการสังเกตและใช้ตรรกะในการอธิบาย


Aristotle's Conclusion
https://www.youtube.com/watch?v=2Nns_f_KqAA 


จากในคลิปด้านบนอธิบายเหตุผลที่อริสโตเติลคิดว่าโลกกลมเพราะ
1) อริสโตเติลคิดว่าเงาของโลกไปบังแสงจากดวงอาทิตย์ทำให้เกิดจันทรุปราคา แต่ในตำราของ Ptolemy ได้อ้างถึงโมเดลการเคลื่อนที่ของดวงจันทร์จากทฤษฎีของ Hipparachus นักดาราศาสตร์ นักภูมิศาสตร์ และนักคณิตศาสตร์ชาวกรีกที่มีชีวิตอยู่ในช่วง 190 - 120 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งค้นพบ Lunar Nodes และแอดเคยเขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้แล้วตามบทความนี้เลย (38) สุริยุปราคาและจันทรุปราคาในโมเดลโลกแบน https://flatearthmatters.blogspot.com/2019/04/38.html)


2) อริสโตเติลสังเกตเห็นว่าถ้ายิ่งเดินทางไปทางทิศใต้เรื่อย ๆ เราจะไม่เห็นดาวเหนือ ข้อนี้เป็นเรื่องของข้อจำกัดของสายตามนุษย์ เราจะมีจุด vanishing point เป็น blind spot ที่เราจะมองไม่เห็นและเป็นไปตามกฎ perspective



สองคลิปนี้อธิบายละเอียดดีมาก ลองฟังดู

FLAT EARTH - SOUTHERN STARS ROTATION EXPLAINED, Why Sun sets at South West?

Flat Earth Star Trails Explained

3) อริสโตเติลสังเกตเห็นว่าด้านล่างของเรือที่ลอยออกไปในทะเลจะค่อย ๆ หายไป เลยเข้าใจว่าเป็นเพราะโลกโค้งลง ซึ่งปัจจุบันเราก็พิสูจน์ได้แล้วว่าการที่ด้านล่างของเรือหายไปไม่ใช่เพราะความโค้งของโลกแต่เป็นไปตามกฏ perspective ลองดูคลิปการใช้กล้องซูมภาพเข้าไปเราก็ยังเห็นเรือวิ่งตรงไปเรื่อย ๆ และด้านหน้าเรือเราก็ยังเห็นว่ามีผืนน้ำอยู่อีกระยะหนึ่ง

zooming in on boats behind the 'curve' ;)


A simple demonstration of perspective not curvature.


ส่วนประเด็นที่บอกว่าโลกหมุนรอบตัวเองเพราะสังเกตเห็นแสงที่จะปรากฎ ณ จุดเดิมทุก 24 ชม. 
ถ้าคำว่า "แสง" ในที่นี้หมายถึงดวงอาทิตย์ก็สามารถอธิบายได้ในโมเดลโลกแบนตามนี้ คือเป็นเรื่องของ convergent line ตามกฎ perspective ที่เราจะเห็นดวงอาทิตย์ลอยสูงขึ้นจากทิศตะวันออก และอยู่ตรงกับศรีษะในตอนกลางวัน พอตอนเย็นเมื่อดวงอาทิตย์กำลังจะตกเราก็จะเห็นว่ามันลอยต่ำลง เหมือนกับเวลาเราเห็นเสาไฟ รางรถไฟ หรือเครื่องบินบินไกลออกไปและดูเหมือนว่ามันจะค่อย ๆ ต่ำลง



คำอธิบายพร้อมภาพประกอบจาก Eric Dubay


How Sunsets Work on Flat Earth

แต่ดวงอาทิตย์ไม่ได้ลอยต่ำลงจนจมหายลับไปที่เส้นขอบฟ้า แต่ที่จริงมันโคจรเป็นวงกลมขนานไปกับพื้นโลกลองดูคลิปนี้


Flat Earth Proof: Sunset off Phuket


ซึ่งก็สอดคล้องกับลักษณะการใช้เข็มทิศตามที่คลิปนี้อธิบาย


Circumnavigation for Dummies
https://www.youtube.com/watch?v=vuOXLwvTlqc


ลองดูภาพดวงอาทิตย์ตกของนาซ่าบ้าง จะเห็นว่าแสงจากดวงอาทิตย์กินบริเวณกว้างมากซึ่งก็เป็นไปได้ถ้าดวงอาทิตย์ใหญ่มากและอยู่ไกลถึง 93 ล้านไมล์อย่างที่ระบบ Heliocentric บอกไว้



แต่ในความเป็นจริงเป็นอย่างนั้นหรือเปล่า ลองดูภาพจากบอลลูนตรวจสภาพอากาศ จะเห็นว่าแสงจากดวงอาทิตย์ไม่ได้กินบริเวณกว้างมากนัก

Flat Earth ... Sunset at 22 miles Up - High Altitude Balloon
https://www.youtube.com/watch?v=ihc-xW1uotw


คลิปนี้โพสบ่อยแล้วเราจะเห็นว่าแสงของดวงอาทิตย์ไม่ได้สว่างมาก ส่วนที่เป็นตอนกลางคืนมีดวงจันทร์เต็มดวงแต่ก็ยังมืดสนิท จากทั้งสองคลิปนี้ก็สามารถบอกได้ว่าดวงอาทิตย์ไม่ได้ดวงใหญ่มาก และไม่ได้อยู่ห่างไกลจากโลกมากขนาด 93 ล้านไมล์แบบที่ระบบสุริยะให้ข้อมูลไว้



และที่จริงแล้วดวงอาทิตย์ไม่ได้ขึ้น-ลง ณ จุดเดิมทุกครั้ง อย่างในภาพนี้ช่างภาพตั้งกล้องถ่ายดวงอาทิตย์ตก ณ จุดเดิมเป็นเวลา 6 เดือน จะเห็นว่ามันขยับไปเรื่อย ๆ (สำหรับเรื่องนี้ไว้จะเขียนเพิ่มเติมให้อีกทีเพราะสามารถใช้อธิบายเรื่องฤดูกาลได้ด้วย)


--------------------------------------------------------------------------