เนื้อหาในหนังสือ 1984 ที่ George Orwell เขียนไว้มีหลายอย่างที่สะท้อนความจริงในแง่ของการปกครองผู้คนในสังคม และมีประโยคหนึ่งเขาเขียนไว้ว่า "คุณคิดหรือว่าการสร้างระบบดาราศาสตร์แบบทวิภาคนั้นอยู่นอกเหนือความสามารถของเรา ดวงดาวจะอยู่ใกล้หรืออยู่ไกลก็ได้ตามแต่เราจะต้องการ คุณคิดว่านักคณิตศาสตร์ของเราทำแบบนั้นไม่ได้เหมือนกันหรือ?" ซึ่งก็เป็นเรื่องจริงเพราะปัจจุบันนี้เรากำลังพูดถึงการเคลื่อนที่ของดวงดาวบนท้องฟ้าเหมือนกัน แต่กลายเป็นว่าเราอธิบายกันคนละแบบและไม่เหมือนกันเลย ทำให้แต่ละคนได้บทสรุปแตกต่างกันไป (ใครยังไม่ได้อ่านโปรดกดลิงค์ไปอ่านก่อนเลย http://flatearthmatters.blogspot.com/2018/05/18-2-2-5.html)
ระบบดาราศาสตร์ในปัจจุบันมี 2 โมเดลคือแบบ Geocentric คือโลกเป็นศูนย์กลาง โลกไม่เคลื่อนที่ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์โคจรในแนวเดียวกันและหมุนวนขนานกับพื้นโลก ส่วนดวงดาวอื่น ๆ เคลื่อนที่ไปพร้อมกันตามทรงกลมฟ้า (Celestial sphere) ที่มีลักษณะเป็นเส้นโค้ง (arc) ) และแบบ Heliocentric คือดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง (อ่านเพิ่มเติม - ที่มาที่ไปของระบบสุริยะ Heliocentric Model http://flatearthmatters.blogspot.com/2018/04/15-heliocentric.html)
องค์ความรู้ด้านดาราศาสตร์แต่เดิมใช้ข้อมูลจากหนังสือของ Ptolemy ที่อธิบายการเคลื่อนที่ของดวงดาวด้วยระบบ Geocentric มีทั้งหมด 13 เล่ม พร้อมทั้งบอกวิธีการคำนวณเพื่อการคาดการณ์ล่วงหน้าได้ ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่ตกทอดกันมาโดยใช้ข้อมูลทางดาราศาสตร์ในยุคบาบิโลเนียน อียิปต์ และกรีก (อ่านเพิ่มเติม - ประวัติของความรู้ด้านดาราศาสตร์และแผนที่โลกแบน http://flatearthmatters.blogspot.com/2018/07/20.html) เนื้อหาในหนังสือของ Ptolemy บอกข้อมูลไว้ละเอียดมากและได้รับการยึดถือเป็นตำราสำคัญสำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาเรื่องดวงดาวมาเป็นพันปี
จากหนังสือ Great Books of the Western World เล่มที่ 15 โดย Mortimer J. Adler
การศึกษาด้านดาราศาสตร์เป็นที่นิยมกันในหมู่ชาวยิว และถึงแม้ว่า Corpernicus จะนำเสนอระบบการเคลื่อนที่ของดวงดาวในจักรวาลแบบใหม่ตามที่เขาได้ตีพิมพ์เอกสารออกมาในปี 1543 แต่ชาวยิวก็ยังใช้ตำราของ Ptolemy ศึกษาเรื่องดวงดาวมาเรื่อยอีกกว่า 200 ปี
จากหนังสือ The Wiley-Blackwell History of Jews and Judaism โดย Alan T. Levenson
คณะเยซูอิต (Jesuit) เป็นกลุ่มนักบวชคาทอลิกที่มีบทบาทสำคัญมากในการศึกษาเรื่องดาราศาสตร์ พวกเขาเดินทางไปทั่วโลกเพื่อเก็บข้อมูลด้านดาราศาสตร์ช่วงปี 1601 - 1805 (กว่า 200 ปี) ที่พวกเขาเข้าไปเผยแพร่ความรู้ด้านดาราศาสตร์ให้กับชาวจีนและสร้างหอดูดาวไว้ที่นั่น พร้อมกันนั้นพวกเขาก็ยังจดบันทึกข้อมูลทางดาราศาสตร์และส่งกลับไปรายงานให้กับต้นสังกัด
หอดูดาวและอุปกรณ์ที่กรุงปักกิ่ง
ในเอกสารได้บรรยายไว้ว่าในปี 1671 มีการสร้างหอดูดาวขึ้นที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ได้ว่าจ้างให้จีโอวานนี โดเมนิโก แคสสินี (Giovanni Domenico Cassini) นักดาราศาสตร์ชาวอิตาเลียนที่มีชื่อเสียงและเก่งมากมาทำงานให้ ต่อมาพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 มีความพยายามจะทำแผนที่โลก แคสสินีจึงได้เลือกที่จะใช้ที่ว่างชั้นสามของหอแปดเหลี่ยมด้านตะวันตกสรัางแผนที่โลกขึ้นมา แผนที่โลกนี้มีขนาดใหญ่มากมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 24 ฟุต (7.80 เมตร) มีหมุดปักอยู่ตรงกลางให้เป็นขั้วโลกเหนือและแผนที่นี้สามารถใช้เป็นแหล่งข้อมูลเพื่อหาเส้น longitude ได้อย่างดี เนื่องจากมีการเก็บข้อมูลของตำแหน่งดวงดาวเพื่อเทียบเคียงกับภูมิศาสตร์ของแต่ละพื้นที่ในโลกมาแล้วอย่างละเอียดกว่า 30 ปี การเก็บข้อมูลมาทั้งจากการเดินเรือ และจากหอดูดาวที่ส่งมาจากทั่วโลก ซึ่งถือว่าเป็นแผนที่ที่ใช้ข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์สร้างขึ้นมาเป็นชิ้นแรกโดย Académie Royale des Sciences (ราชบัณฑิตยสถานวิทยาศาสตร์) แห่งประเทศฝรั่งเศส แผนที่นี้ใช้เวลาทำนานมากถึง 3 ชั่วอายุคน ตั้งแต่ตัว Cassini จนมาถึงลูกชาย และเสร็จสิ้นในรุ่นของหลานชาย (ภาพขยายใหญ่สามารถดาวน์โหลดได้จากลิงค์นี้ https://www.loc.gov/resource/g3200.ct007051/)
ข้อมูลจากเว็บไซต์หอดูดาวแห่งปารีส http://expositions.obspm.fr/cassini/pages/observatoire5.php
ข้อมูลจากเว็บไซต์ห้องสมุดมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย
http://www.columbia.edu/cu/lweb/eresources/exhibitions/treasures/html/165.html
แผนที่นี้ได้แสดงให้เห็นสถานที่ทั้งหมด 43 แห่ง จากเมืองควิเบกถึงซานติเอโก แหลมกู๊ดโฮป และจากเมืองเกาถึงปักกิ่ง ด้วยวิธีการวัดจากดวงดาว และมีการวัดเส้นละติจูดได้อย่างถูกต้องเนื่องจากใช้วิธีการวัดระยะจากดวงจันทร์ของดาวจูปิเตอร์ บทสรุปจากแผนที่นี้คือ Cassini ได้ใช้ความรู้ดาราศาสตร์ตามโมเดล Geocentric เพื่อสร้างแผนที่โลกชิ้นนี้ขึ้นมาเป็นชิ้นแรกที่ถือได้ว่าถูกต้องมากที่สุดตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ แผนที่รูปแบบนี้เรียกว่า Azimuthal Equidistant (AE) ซึ่งจะถูกใช้หลากหลายรูปแบบ เช่น
ในห้องของประธานาธิบดี John F. Kennedy
บนเครื่องบิน Air Force One มีประธานาธิบดี John F. Kennedy นั่งคุยงานอยู่
อีกภาพชัด ๆ
ในห้องส่งวันที่ Admiral Richard E. Byrd ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับการสำรวจพื้นที่ Antarcticaในปี 1955
ในหนังสือแผนที่ก็มี
แผนที่ทางอากาศปี 1903
อันนี้คงเห็นกันบ่อยละ New Standard Map of the World ของ Alexander Gleason ปี 1893
ในห้อง Space Command Center ของ NASA สมัยแรก
จากงานแผนที่โลกของ Cassini มีส่วนในการวัดเส้นลองจิจูดเพื่อเอามาทำลูกโลก แต่ก็แปลกที่ลูกโลกในสหรัฐอเมริกาจะมีสติ๊กเกอร์ข้อความติดไว้บอกว่า "Globes are not meant for educational purpose but only decorative purpose" (แปลว่า - ลูกโลกไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษา แต่ให้ใช้เพื่อการประดับตกแต่งเท่านั้น) ข้อสังเกต คำว่า Globes บนสติ๊กเกอร์ที่ลูกโลก เติม s หมายถึงลูกโลกที่เป็นสามัญนาม คือลูกโลกทั่วไป ไม่ใช่การเจาะจง โรงงานต้องติดไว้เพื่อป้องกันการฟ้องร้อง แล้วโรงงานแต่ละแห่งจะรับผิดชอบลูกโลกจากแหล่งผลิตอื่นทำไม เค้าต้องติดเพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อลูกโลกที่เค้าผลิตเท่านั้นไม่เกี่ยวกับลูกอื่น ถ้าเป็นแบบนั้นก็ควรต้องเขียนว่า "This globe...." มากกว่าสติ๊กเกอร์นี้น่าจะเหมือนข้อความเตือนบนซองบุหรี่หรือเปล่า ซึ่งก็ไม่เคยมีใครคิดจะสนใจความหมายของมันอยู่แล้ว ถ้าคนอยากจะสูบ จริงไหม??
ในต่างประเทศคนที่กำลังสนใจเรื่องโลกแบนมักจะหาวิธีพิสูจน์ข้อเท็จจริงต่าง ๆ ด้วยตัวเอง ใครทำอะไรได้ก็ทำตามแต่ความสามารถของแต่ละคน ทีนี้คนก็ออกมาพิสูจน์กัน ทั้งถ่ายคลิปวิดีโอ ถ่ายรูปกันใหญ่
อันนี้คือหยิบจากโต๊ะทำงานมาดูเลย
The sticker under every Globe
คนนี้ก็ขับรถพาไปเดินดูในห้างกันเลยทีเดียว
Flat Earth: GLOBES ARE NOT MEANT FOR EDUCATIONAL PURPOSES!!!
แต่ไปสำรวจในเมืองไทยแล้ว ไม่มีติดไว้นะ
----------------------------------------------------------