วันพุธที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2560

1) โลกหมุนไปรอบดวงอาทิตย์ตามทฤษฎี Heliocentric จริงหรือ??? Heliocentric and Geocentric Models

Heliocentric and Geocentric Models
ก่อนจะทำความรู้จักกับดาวอื่น จักรวาลอื่น หรือสิ่งมีชีวิตจากโลกอื่น เรารู้จักตัวเราเองดีหรือยัง??

Heliocentric และ Geocentric เป็นโมเดลที่ใช้อ้างอิงเรื่องศูนย์กลางของจักรวาล ทฤษฎี Heliocentric จะมองว่าดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของระบบ ส่วน Geocentric มองว่าโลกคือศูนย์กลางใช้หลักการคิดเชิงปรัชญาและเกี่ยวข้องกับความเชื่อทางศาสนาและวัฒนธรรมตั้งแต่ยุคสมัยโบราณ ส่วน Heliocentric ใช้หลักการทางดาราศาสตร์และการคำนวณทางคณิตศาสตร์ แต่ปัจจุบันยังไม่มีข้อสรุปว่าทฤษฎีใดถูกต้อง โดยนักดาราศาสตร์จะอธิบายว่าทั้งสองแนวคิดมีอิทธิพลทั้งคู่ และในต่างประเทศจะสอนให้นักเรียนรู้จักทั้งสองระบบแล้วใช้หลักการดูดาวเพื่อสอนให้ฝึกใช้กล้องดูดาวสังเกตการเคลื่อนที่ของดาวต่าง ๆ เพื่อใช้เปรียบเทียบกัน


Geocentric and Helicentric Models

ความเชื่อด้าน Geocentric เกี่ยวข้องกับความเชื่อทางศาสนา ซึ่งมองว่าโลกเป็นศูนย์กลางแห่งจักรวาลมีมาตั้งแต่ยุคสมัยกรีกโบราณ และมีนักปราชญ์คืออริสโตเติลและโตเลมี (Ptolemy) ที่สนับสนุนแนวคิดนี้ ส่วนในศาสนาคริสต์จะเชื่อว่าพระเจ้าเป็นผู้สร้างโลก โลกมีลักษณะแบน ตั้งอยู่บนหลังเต่า อยู่นิ่ง ๆ ไม่เคลื่อนไหวและมีโดมครอบไว้ ถัดจากโดมจะมีน้ำล้อมรอบอยู่ โดยมีดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และกลุ่มดาวอื่น ๆ เคลื่อนที่ไปรอบ ๆ (มีระบุในคัมภีร์ไบเบิล) ในศาสนาพุทธและอิสลามก็มีการบรรยายลักษณะของโลกที่คล้าย ๆ กัน

ต่อมาคริสตศตวรรษที่ 16 แนวคิดเรื่องดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางหรือ Heliocentric ได้ถูกนำเสนอโดยบาทหลวงชาวโปแลนด์ชื่อ นิโคลัส โคเปอร์นิคัส ซึ่งเป็นนักดาราศาสตร์และนักคณิตศาสตร์ด้วย ยุคต่อมาก็มีโจฮันเนส เคปเลอร์ และกาลิเลโอ กาลิเลอีก็ให้การสนับสนุนแนวคิดนี้ การเสนอความคิดของกาลิเลโอขัดแย้งกับศาสนจักรจึงเป็นเหตุให้เขาถูกจองจำ แต่วิธีคิดของกาลิเลโอได้เริ่มใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นการคิดเชิงเป็นเหตุเป็นผลมากกว่าความเชื่อทางศาสนา มีการบันทึกและเก็บข้อมูล ซึ่งทำให้กาลิเลโอก็มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์อย่างมาก ต่อมาเมื่อวิทยาการด้านกล้องดูดาวได้พัฒนามากขึ้น เซอร์ ไอแซค นิวตัน สนใจในทฤษฎีของกาลิเลโอและเขาเป็นผู้เสนอเรื่องแรงโน้มถ่วงเพื่ออธิบายปรากฏการณ์การเคลื่อนที่ของดวงดาวทั้งหลายได้ แนวคิดเรื่องดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางแห่งจักรวาลก็เริ่มได้รับการยอมรับมากขึ้น และถูกพัฒนาต่อมาเรื่อย ๆ และถูกใช้บรรจุในหลักสูตรการศึกษา ในทางตรงกันข้ามแนวคิด Geocentric ก็ไม่ได้รับการพัฒนาและมักถูกมองว่าล้าสมัยไม่เข้ากับยุคปัจจุบัน แม้ว่า Geocentric จะเป็นแนวคิดที่สอดคล้องกับความเชื่อทางศาสนาแต่โดยหลักการเบื้องต้นก็คือการตั้งสมมติฐานของลักษณะการเคลื่อนที่ของโลกกับกลุ่มดาวอื่นรอบ ๆ เป็นไปตามสั

จะเห็นได้ว่าความเชื่อเรื่องโลกกับจักรวาลสัมพันธ์กันอย่างลึกซึ้งกับความเชื่อดั้งเดิมทางศาสนา และในยุคสมัยก่อนศาสนาก็ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการปกครองผู้คนในสังคม ซึ่งก็หมายถึงอำนาจในการควบคุมความคิดของคนด้วย ปัจจุบันแม้ว่าความรู้เรื่องโลกและจักรวาลดูเหมือนจะแยกออกจากความเชื่อทางศาสนาได้แล้ว และเราจะให้ความสำคัญกับหลักฐานข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์กันมาก หากใครสามารถหาข้อมูลมาสนับสนุนความเชื่อของตนเองได้ก็จะมีอิทธิพลทำให้คนอื่น ๆ เปลี่ยนความเชื่อได้ แต่สิ่งที่ก็ควรต้องระวังคืออิทธิพลด้านอื่นที่ไม่เกี่ยวกับเนื้อหานั้น ๆ โดยตรง เช่น คนที่พูดมีสิทธิ์มีอำนาจมากกว่า มีอิทธิพลสูงกว่า หรือมีความรู้มากกว่า มีอายุมากกว่า เรื่องพวกนี้ไม่ใช่ปัจจัยในการใช้ตัดสินข้อมูล การตัดสินใจควรต้องขึ้นอยู่กับหลักฐานข้อมูลที่ตรงกับความเป็นจริงและเข้ากับบริบท หากมีหลักฐานใหม่เพิ่มเติมเพราะมีการศึกษาเพิ่มที่สามารถอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นได้ดีกว่า เรื่องนั้น ๆ ก็ควรได้รับการคิดพิจารณาใหม่ อีกอย่างคือการถูกครอบงำทางความคิดจากการใช้คำโฆษณาชวนเชื่อ (propoganda) ต้องระวังให้ดีว่าเรายืนอยู่บนความเชื่อที่เป็นกลางแล้วหรือยังควรระวังด้วยว่าตัวเราติดภาพจำจากอิทธิพลอื่นมาหรือเปล่า เช่น จากภาพยนตร์ จากเรื่องราววิทยาศาสตร์ที่น่าตื่นเต้นเพราะไม่อย่างนั้นเราจะไม่สามารถพิสูจน์ข้อเท็จจริงได้เลยหากยังทำให้ความคิดเป็นกลางไม่ได้ เราจะไม่สามารถเข้าใจหลักการและเหตุผลของอีกฝั่งได้เลย

จากข้อความด้านบนที่ระบุว่าปัจจุบันนักดาราศาสตร์ก็ยังใช้แนวคิดของทั้ง Geocentric และ Heliocentric ในการศึกษาดวงดาวต่าง ๆ อยู่ หลังจากที่พยายามหางานวิจัยและข้อมูลทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่จะระบุว่าตกลงแล้วโลกของเรามีลักษณะอย่างไรกันแน่ผู้เขียนเองก็ยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้ ซึ่งก็แปลกดีทั้งที่เรามีองค์กร NASA มาตั้งแต่ปี 2501 เราส่งมนุษย์ไปเหยียบดวงจันทร์ ไปถึงดาวอังคารเราก็ไปมาแล้ว เรามีดาวเทียมลอยในอวกาศหลายดวง (บางหลักฐานบอก 3,000 ดวง บางที่บอก 20,000 ดวง) เรามีสถานีวิจัยอวกาศนานาชาติ ISS อยู่ตั้งแต่ปี 2541 หลายประเทศก็มีเทคโนโลยีขั้นสูงและทุ่มเทงบประมาณศึกษาด้านนี้ส่งนักบินอวกาศขึ้นไปเยอะมากแต่เรายังไม่สามารถมีความชัดเจนตรงนี้ได้ ทั้งที่องค์ความรู้ตรงนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาต่อยอดความคิดต่อไป

Heliocentric to Geocentric Plane 3D Models
จักรวาลแบบ Heliocentric และ Geocentric ในแบบ 3D

เท่าที่ค้นงานวิจัยเจอตอนนี้มีเรื่อง The Geocentric Model of the Earth: Physics and Astronomy Arguments โดย Kharroubi Amira น.ศ.ปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัย Sfax University ประเทศตูนีเซีย ซึ่งผู้วิจัยศึกษาเกี่ยวกับลักษณะทางภูมิศาสตร์กายภาพของโลกเพื่อสนับสนุนโมเดล Geocentric และเป็นข้อโต้แย้งทางฟิสิกส์และทางดาราศาสตร์ ในบทความวิจัยได้สรุปลักษณะทางกายภาพของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลกไว้ 4 ข้อ แต่จะขอสรุปคร่าว ๆ เฉพาะข้อสุดท้ายคือเรื่อง Kinematic ที่ใช้หลักจลนศาสตร์ (คือการเคลื่อนที่ของเทหวัตถุที่เป็นของแข็ง) มาวิเคราะห์ลักษณะของโลกไว้อย่างน่าสนใจ


1) ถ้าโลกมีแรงดึงดูด (attraction force) ที่เกิดจากการหมุนรอบตัวเอง รอบดวงอาทิตย์ หรือมีการหมุนในลักษณะอื่น ๆ มันจะไม่สามารถเกิดลมได้ ทั้งนี้ได้ทำการสังเกตตั้งแต่ลมเบาไปจนถึงลมที่พัดแรงในระดับความเร็ว 50 น็อต ซึ่งยืนยันได้ว่าโลกไม่มีแรงดึงดูด (attraction force)

2) ลักษณะของคลื่นทะเลที่ชายฝั่งมีระดับความสูงสัมพันธ์กับระดับลมที่พัด ถ้าหากโลกหมุนรอบตัวเองด้วยความเร็ว 1,670 กม./ชม.จริง เราต้องพบเห็นคลื่นที่พัดไปเฉพาะทางทิศตะวันออกเท่านั้น แต่นักสมุทรศาสตร์วิทยาระบุว่าลักษณะการเกิดคลื่นของโลกเกิดได้ทุกทิศทาง และในขณะที่โลกหมุนด้วยความเร็วขนาดนั้นจะต้องเกิดลมที่พัดแรงมากถึงขั้นทำลายทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกไปหมด ทั้งนี้เราจึงไม่สามารถยอมรับได้ว่าโลกมีการเคลื่อนที่ใด ๆ

3) การพบเห็นก้อนหินที่วางซ้อน ๆ กันที่ทะเลสาป หรือที่แม่น้ำทั่วไปในหลาย ๆ ประเทศเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญที่จะบอกว่าได้ว่าโลกมีลักษณะอยู่นิ่ง เพราะหากโลกหมุนรอบตัวเอง หมุนรอบดวงอาทิตย์ หมุนในกาแลคซีเพื่อการขยายตัวของจักรวาล ก้อนหินก็คงจะไม่สามารถตั้งอยู่แบบนั้นได้ ดังนั้นก้อนหินที่ไม่ได้ถูกเคลื่อนที่เหล่านี้จะเป็นการสนับสนุนที่ดีของทฤษฎี Geocentric

4) จรวดที่ถูกปล่อยขึ้นไปทำภารกิจบนอวกาศแต่สามารถกลับลงมายังโลก ณ จุดเดิมได้ ทั้งที่โลกมีการเคลื่อนที่ มีการหมุนด้วยความเร็วสูงมาก ซึ่งหากจรวดที่ขึ้นไปบนอวกาศทำภารกิจเสร็จสิ้นแล้ว การเคลื่อนที่ของโลกก็ต้องห่างจากจุดที่ปล่อยตัวไปมาก และด้วยความเร็วของจรวด 28,000 กม./ชม. แต่โลกหมุนอยู่ที่ 108,000 กม./ชม. (รอบดวงอาทิตย์) จะเห็นได้ว่าโลกหมุนเร็วกว่าความเร็วที่จรวดทำได้อย่างมาก จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่จรวดจะกลับมายังโลก ณ จุดเดิมได้ แต่ในความจริงจรวดทุกลำที่ปล่อยขึ้นไปสามารถกลับมายังโลกได้อย่างง่ายดายและรวดเร็วมาก

5) ยิ่งไปกว่านั้นเรื่องของดาวเทียม ตำแหน่งของดาวเทียมจะมีระยะห่างที่คงที่กับโลก หากมีการหันผิดเล็กน้อยแค่เมตรเดียวการรับสัญญาณโทรทัศน์ สัญญาณโทรศัพท์ก็น่าจะมีปัญหา โลกหมุนรอบตัวเอง 1,670 กม./ชม. หมุนรอบดวงอาทิตย์ 108,000 กม./ชม. หมุนไปรอบ ๆ กาแลคซี่อีก 220 กม./วินาที ดังนั้นการเคลื่อนที่ด้วยความเร็วขนาดนี้ดาวเทียมจะต้องเปลี่ยนระดับความเร็วอยู่เสมอเพื่อให้รักษาระยะห่างจากโลกให้ได้ แต่ในความจริงดาวเทียมไม่มีแหล่งพลังงานที่จะทำการเร่งหรือลดระดับความเร็วได้ ดังนั้นจึงหมายความว่าโลกนั้นอยู่นิ่งอยู่กับที่

6) ประเด็นที่ว่าโลกมีระดับความเร็วที่ไม่คงที่ จึงทำการถ่ายภาพโลกจากดาวเทียมหรือถ่ายมาจากดวงจันทร์ไม่น่าจะเป็นไปได้ หากโลกหมุนด้วยความเร็วขนาดนั้นภาพต้องออกมาเบลออย่างมาก แต่ในความจริงภาพของโลกที่ถ่ายมาทุกใบมีความคมชัดดี

7) นอกจากนั้นยังมีเรื่องของดาวตกที่ในบางครั้งเราจะเจอดาวตกช่วงเช้าตรู่ หรือตั้งแต่เที่ยงคืนไปจนดวงอาทิตย์ขึ้น และจะมองเห็นอีกครั้งในช่วงดวงอาทิตย์ตกไปจนถึงเที่ยงคืน หากโลกมีการเคลื่อนที่ มีการหมุนจริง เราจะไม่สามารถเห็นดาวตกพวกนี้ ณ ตำแหน่งเดิมได้ ซึ่งก็อธิบายได้ว่าโลกอยู่ตำแหน่งจุดเดิมในอวกาศ

ต้นฉบับบทความ
The Geocentric Model of the Earth: Physics and Astronomy Arguments
โดย Kharroubi Amira น.ศ.ปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัย Sfax University ประเทศตูนีเซีย
http://www.gianfuffo.org/uploads/4/2/6/9/4269865/2016_the_international_journal_of_science___technoledge_flatearth.pdf
-----------------------------------------------------------------------------------------