วันศุกร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2561

4) โครงการ Apollo ได้พามนุษย์ไปเหยียบดวงจันทร์จริงหรือไม่ ตอนที่ 2 What Happened on the Moon? Part 2

What Happened On the Moon? Part 2 - Environmental Dangers & The Trouble with Rockets
โครงการ Apollo ได้พามนุษย์ไปเหยียบดวงจันทร์จริงหรือไม่ ตอนที่ 2


สำหรับตอนที่ 2 นี้ทางรายการได้นำเสนอเกี่ยวกับอันตรายของรังสีในอวกาศ และวิเคราะห์เกี่ยวกับปัญหาของจรวด

1) เปลวสุริยะ (Solar Flare) มีอันตรายต่อร่างกายมนุษย์หากได้รับมาก ๆ อาจทำให้ตาบอด หรือทำให้เสียชีวิตได้ภายใน 60 วัน นอกจากนั้นยังมีแถบรังสีแวนอัลเลน ถูกค้นพบโดย James Van Allen เขาอธิบายว่าโลกของเรามีแถบรังสีนี้รอบล้อมอยู่รูปทรงคล้ายโดนัท แถบรังสีนี้ประกอบไปด้วยอิเล็กตรอนและไอออนหนาแน่นเป็นอันตรายต่อร่างกายมนุษย์มาก ตามข้อมูลแถบรังสีนี้มีระยะทางประมาณ 64,000 ไมล์ แต่ NASA บอกว่ามีระยะทางแค่ 24,000 ไมล์ และอ้างว่าขณะที่ยานอวกาศเคลื่อนที่ผ่านแถบรังสีนี้ใช้เวลาแค่ 2 ชั่วโมงเท่านั้น นักบินได้รับรังสีน้อยมากจึงไม่เป็นอันตรายใด ๆ



Bill Wood บอกว่าการออกแบบตัวยาน LEM ใช้วัสดุบาง ๆ แทบจะป้องกันรังสีอะไรไม่ได้เลย ถ้าตามหลักการป้องกันรังสีขนาดนั้นวัสดุที่ใช้ประกอบยานจะต้องหนักมากและน่าจะเป็นปัญหาใหญ่กับการปล่อยจรวด Saturn 5 นอกจากนั้นจากการดูฟิล์มภาพถ่ายของ NASA ก็ไม่ปรากฏว่ามีความเสียหายจากการโดนรังสีดังกล่าว นอกจากนั้นอุณหภูมิบนดวงจันทร์ก็มีการเปลี่ยนแปลงสูงมาก (ช่วงกลางวันอุณหภูมิสูงถึง 127 องศาเซลเซียส และช่วงกลางคืนอุณหภูมิติดลบถึง -173 องศาเซลเซียส) ก็เป็นเรื่องน่าแปลกใจว่าการทำงานของชุดนักบินอวกาศนั้นสามารถระบายความร้อนและป้องกันความหนาวเย็นให้พวกเขาได้อย่างไร


2) ประเด็นต่อไปคือเรื่องของจรวด Saturn 5 ของโครงการ Apollo โดยมีผู้ดูแลโครงการนี้คือ Wernher von Braun เป็นวิศวกรชาวเยอรมันซึ่งเคยทำงานในโครงการสร้างจรวดให้กับกองทัพนาซีมาก่อน


ตอนหนุ่ม ๆ Braun ทำงานร่วมกับ Hermann Oberth เขาเป็นนักวิทยาศาสตร์ด้านจรวดของกับกองทัพฮิตเลอร์ที่ได้ไปเป็นที่ปรึกษาของภาพยนตร์เงียบเรื่อง Woman in the Moon (ภาษาเยอรมัน Frau im Mond) สร้างในปี 1929 กำกับโดย Fritz Lang ซึ่งมีการออกแบบจรวดได้มีรายละเอียดเหมือนกันกับจรวด Saturn 5 ของ NASA อย่างมาก เช่น

1. ลักษณะคือเป็นจรวดทรงตั้งตรงมีส่วนประกอบ 3 ส่วนเหมือนกัน และในภาพยนตร์จรวดจะถูกปล่อยจากฐานที่มีการออกแบบเหมือนกับอาคารของ NASA (The Vehicle Assembly Building of the John F. Kennedy Space)
2. การเคลื่อนจรวดไปยังฐานปล่อยก็ใช้การเคลื่อนย้ายแบบตั้งตรงไปตามทาง ซึ่งต่างกับโซเวียตที่จะสร้างจรวดแบบแนวนอนแล้วใช้การเคลื่อนย้ายไปแบบแนวนอนซึ่งรัสเซียก็ทำแบบเดียวกัน พวกเขาต่างรู้ดีว่าการเคลื่อนย้ายวัตถุทรงสูงแบบตั้งตรงแบบนั้นมันช่างขัดกับสามัญสำนึกมาก อย่างที่รู้กันดีโซเวียตเป็นที่หนึ่งแห่งการสร้างจรวดมาจนปัจจุบัน
3. ผู้กำกับได้ออกแบบวิธีการปล่อยจรวดโดยมีการนับถอยหลัง 10 วินาทีเพื่อเป็นการสร้างความตื่นเต้นให้กับผู้ชม
4. นอกจากนั้นในหนังยังให้นักแสดงนอนราบและมัดไว้กับเตียงตอนปล่อยจรวด ซึ่ง NASA ก็ทำแบบนั้นเช่นกันกับ Apollo
5. ในหนังจะมีการติดแผ่นยึดเท้าไว้ตามทางเวลาเดินเพื่อสื่อให้เห็นสภาพไร้น้ำหนักซึ่ง NASA ก็ทำแบบนั้นเหมือนกัน
6. ในหนังยังให้นักแสดงใช้น้ำเพื่อแสดงให้เห็นเรื่องสภาพไร้น้ำหนักและมันกลายเป็นสัญลักษณ์ของวงการอวกาศไปแล้ว
7. แม้แต่การใช้มุมมองภาพที่มองเห็นโลกจากดวงจันทร์ก็ทำออกมาเหมือนกัน
8. มีฉากที่นักแสดงไปตั้งกล้องที่พื้นดวงจันทร์โดยที่ด้านหลังมีภูเขาปกคลุมไปด้วยหิมะ ซึ่งฉากนี้ก็คล้ายกันกับพื้นด้านหลังโลโก้ของยาน LM-7


Braun ประสบความสำเร็จอย่างมากในการสร้างจรวดให้กับกองทัพนาซีจนฮิตเลอร์มอบตำแหน่งโปรเฟสเซอร์ให้ การสร้างจรวดของเยอรมันคือเพื่อเอาไว้ใช้เป็นอาวุธสงคราม เมื่อสงครามจบ Braun เข้ามาทำงานเป็นเบื้องหลังให้กับองค์กรด้านอวกาศของสหรัฐ จากที่คิดกันว่าสหรัฐได้วิศวกรที่เก่งมากด้านจรวดมาจากเยอรมัน ที่จริงอาจจะไม่ใช่เพราะบุคลากรเครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ ถูกแบ่งออกเป็นสองฝั่ง คือไปอยู่กับโซเวียตและอีกส่วนนึงมาอยู่กับอเมริกา เราก็รู้กันดีว่าโซเวียตมีเทคโนโลยีที่ล้ำหน้ากว่าเยอะและเป็นชาติแรกที่ส่งดาวเทียม Sputnik โคจรรอบโลกได้ตั้งแต่ปี 1957 ส่วนอเมริกายังมีปัญหาเรื่องความไม่เสถียรของการปล่อยจรวดอยู่


กลับมาดูที่โซเวียตได้มีการพยายามทดลองส่งสุนัข (ชื่อไลก้า) ไปกับจรวดแต่ปรากฏว่าไม่ประสบความสำเร็จ
(หลักฐานเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลการทดลองการส่งไลก้าไปกับ Sputnik II อยู่ในบทความนี้ http://flatearthmatters.blogspot.com/2018/01/can-we-live-in-space.html)

ต่อมาโซเวียตได้ลองส่งนักบินอวกาศคนแรกคือ Yuri Gagarin จากการค้นคว้าเราพบว่ามีการถ่ายทำฉากเหล่านี้หลายครั้งล่วงหน้าไว้ก่อนแล้ว ในภาพจะเห็นว่านักบินกำลังเข้าไปในตัวเคบินเพื่อเตรียมปล่อยยานแต่พอภาพตัดมาด้านหน้าจะเห็นว่ามีเงาของหมวกที่ยูริใส่อยู่ที่ผนังด้านหลัง เงามีทั้งด้านซ้ายและขวาแปลว่าต้องมีไฟให้แสงสว่าง 2 จุด แต่จากภาพด้านบนก็เห็นชัดว่าไม่ได้มีการใช้ไฟแต่อย่างใด และในเคบินนั่นก็แคบมากแทบไม่มีที่ตั้งกล้องแน่นอน ก็เป็นไปได้ว่าการถ่ายวิดีโอนี้เป็นการจัดฉากในอีกสถานที่หนึ่ง อาจจะเป็นการถ่ายทำกันในสตูดิโอก็ได้


Mary Bennett บอกว่ามีเหตุการณ์ผิดปกติเกิดขึ้น 2 ครั้งตอนที่ปล่อยจรวด คือ Pavlovich Korolev (วิศวกรผู้ออกแบบจรวด Vostok และดาวเทียม Sputnik) สั่งการบอกว่าประตูเคบินปิดไม่ดี ต้องเปิดและปิดใหม่แล้วค่อยเปิดเครื่องอีกทีซึ่งต้องทำให้เสียเวลาไปอีก 30 - 40 นาทีเพื่อทำทุกอย่างใหม่หมด และในจังหวะนั้นเอง Korolev สั่งการให้ Gagarin ออกจากเคบิน และเหตุการณ์ครั้งที่สองคือฐานที่ตั้งตัวจรวดหลุดออกมา ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องเข้าไปจัดการใส่เข้าไปใหม่ Bennett บอกว่าเรื่องนี้เป็นอุบายที่ Korolev ต้องทำเพื่อไม่ให้เกิดเหตุนักบินเสียชีวิตกับการปล่อยยานครั้งแรก เนื่องจากเรื่องอวกาศนี้มีการแข่งขันกันอย่างรุนแรงภายในสหภาพโซเวียต ยังเป็นคำถามกันอยู่ว่าก่อนที่จะปล่อยยานนั้น Gagarin ถูกเอาตัวออกมาแล้วส่งตัวแทนเข้าไปใหม่ใช่ไหม? หรือยาน Vostok ถูกปล่อยไปพร้อมกับเทปที่อัดเสียงไว้กันแน่? ในภาพนี่คือแคปซูลที่ตกลงมาห่างไกลสายตาผู้คน และ Gagarin ก็ดีดตัวออกมาได้ก่อน


หลังจากนั้นประธานาธิบดีเคนเนดี้ก็ประกาศว่าสหรัฐจะต้องส่งมนุษย์ขึ้นไปยังดวงจันทร์ให้ได้ และเรื่องอวกาศจึงกลายเป็นการแข่งขันที่ยอมกันไม่ได้ระหว่างสองประเทศนี้ Ronnie ถามว่าการสร้างข่าวปลอมนี่มันเป็นเรื่องใหม่ในวงการหรือเปล่า เขาตอบว่าไม่ใช่ มันเคยเกิดขึ้นแล้วเมื่อปี 1915 ที่มีข่าวว่าเรือดำน้ำเยอรมันยิงตอปิโดจมเรือ Lusitania (ซึ่งเป็นเรือโดยสารทำให้หลายประเทศเข้าใจเยอรมันผิดและเป็นจุดเริ่มต้นที่อเมริกาเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1) และยังมีเหตุการณ์แผ่นดินไหวในซานฟรานซิสโกที่ตอนปี 1906


ถึงแม้การปล่อยยานของโซเวียตจะมีการโกหกอยู่บ้างแต่จรวดนั่นก็ทำงานได้จริง ซึ่งพอกลับมาดูที่อเมริกาก็ยังคงมีปัญหากับเครื่องยนต์ที่ยังแก้ไม่ได้อยู่ Bill Wood บอกว่าโครงการสร้างยาน LEM ที่ NASA ทำเอกสารของบประมาณมามีความหนา 110 หน้า แต่ของบประมาณสูงเป็นจำนวนเงินกว่า 6.9 พันล้านเหรียญ ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับโครงการอื่น ๆ ที่ใช้งบประมาณใกล้เคียงกันอย่างเรือดำน้ำหรือเรือบรรทุกเครื่องบินรบก็ปรากฏว่าเขาส่งเอกสารกันประมาณ 25,000 - 86,000 หน้า โดยเฉลี่ยก็ประมาณ 38,000 หน้า ซึ่ง Bill บอกว่าเอกสารแค่ 110 หน้า ก็น่าจะของบประมาณได้ซัก 1.4 ล้านเหรียญ หรือถ้าจะสร้างยาน LEM ไว้สำหรับในพิพิธภัณฑ์หรือเอาไว้แสดงโชว์ก็ทำได้ด้วยเงินไม่กี่ล้านเหรียญและนั่นก็ไม่จำเป็นต้องทำโครงการยาว 110 หน้าด้วย David Percy บอกว่าโครงการยาน Lunar นี่ก็เป็นปัญหามากในตอนซ้อมบิน Armstrong ก็เกือบเสียชีวิตมาแล้วเพราะบังคับยานไม่ได้และยานตกแต่ดีที่เขาดีดตัวออกมาได้ทัน


Kaysing บอกว่ายาน Lunar ใช้เครื่องยนต์ที่มีส่วนผสมของ hypergolic propellants โดยมีส่วนผสมของ nitrogen tetroxide ทำให้เกิดการสันดาปและใช้ unsymmetrical dimethylhydrazine (หรือ udmh) เป็นเชื้อเพลิงซึ่งรู้จักกันดีว่า Aerozine 50 เมื่อสองอย่างนี้ผสมกันแล้วจะเกิดการลุกไหม้แล้วทำให้เกิดแก๊สเป็นกลุ่มควันหนาทึบสีแดงแล้วภาพที่เราเห็นเมื่อตอนยาน LEM ขึ้นจากดวงจันทร์ที่มีกล้องถ่ายไว้แต่มันไม่มีแก๊สปล่อยออกมาเลย ที่จริงมันต้องมีกลุ่มควันปล่อยออกมาที่ปลายท่อยานนั่น และด้วยสภาพสุญญากาศบนดวงจันทร์เป็นไปได้ว่ามันต้องปล่อยแก๊สออกเยอะมากและอาจจะมองเห็นได้จากโลกด้วยซ้ำไป นั่นเป็นภาพที่ผู้คนต้องได้เห็นเมื่อมีการปล่อยยาน


David Percy เพิ่มเติมว่าไม่ว่าการปล่อยยานหรือการนำยานลงจอดมันต้องมีแก๊สที่มีความร้อนออกมาเยอะมาก แต่จากภาพถ่ายของฐานยาน LEM แสดงให้เห็นว่าที่ฐานไม่ได้มีร่องรอยของการปล่อยแก๊ส ส่วนที่พื้นก็ดูเรียบราวกับว่ายานถูกหย่อนลงมาเฉย ๆ เขายังเปรียบเทียบกับภาพของก้อนหินที่ปล่องภูเขาไฟที่โดนความร้อนระดับเดียวกันให้ดูด้วย Ronnie เอาภาพการลงจอดของจรวด DCX ที่สร้างขึ้นช่วงปี 1990 มาให้ดูก็จะเห็นว่ามีกลุ่มควันออกมาเยอะมาก


ต่อมา Kaysing เล่าให้ฟังว่า "ผมไปขอให้ Paul Jacobs ซึ่งเป็นผู้ตรวจสอบระดับสูงช่วยสืบสวนเรื่องการไปดวงจันทร์นี้ให้หน่อยได้ไหม Paul ตอบตกลงและบอกว่าจะบินไปวอชิงตันในอาทิตย์หน้าเพื่อไปคุยกับหัวหน้าระดับสูงของกระทรวงธรณีวิทยา Paul ไปจริง ๆ และเขาได้ไปถามนักธรณีวิทยาว่าเป็นคนตรวจสอบก้อนหินจากดวงจันทร์ใช่ไหม มันมาจากดวงจันทร์จริงหรือเปล่า Paul ถาม นักธรณีวิทยาคนนั้นหัวเราะออกมา แล้วเรื่องมันจบอย่างน่าเศร้า Paul บินกลับมาจากวอชิงตัน ผมไปเจอเขาอีกครั้งที่ซานฟรานซิสโก 90 วันถัดมาเขาและภรรยาเสียชีวิตจากโรคมะเร็ง"

James Irwin

Kaysing เล่าต่อว่า Lee Galvani เขารู้จักกับผมมานานหลายปี เขาบอกว่าเขาเกือบจะโน้มน้าว James Irwin ให้ยอมสารภาพได้แล้ว ไม่นานหลังจากนั้น James โทรมาหาผมที่บ้านและต้องการให้ผมโทรกลับไป แต่หลังจากนั้นสามวันเขาเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจ (James เป็นนักบินอวกาศที่ไปเยือนดวงจันทร์ในโครงการ Apollo 15 เมื่อปี 1971 เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจปี 1991 ขณะที่มีอายุ 61 ปี)

โครงการ Space Shuttle

Ronnie ถามต่อว่าในเมื่อ Saturn 5 ประสบความสำเร็จอย่างมากแล้วทำไมถึงได้หยุดโครงการไปแล้วมีโครงการ Space Shuttle มาแทน Bill Wood ตอบว่าตัว Shuttle มีน้ำหนักประมาณ 3 ใน 5 ของ Saturn 5 ซึ่งมันใช้งบประมาณมากกว่าตอนปล่อยยาน Saturn 5 ประมาณ 3 เท่า

Ronnie ถามว่าเอาจริง ๆ เรื่องการแข่งขันด้านยานอวกาศนี่มันมีจริงใช่ไหม Bill ตอบว่า "เราแข่งกับรัสเซียเพื่อไปให้ถึงดวงจันทร์ แล้วเราก็ชนะมาได้ แล้วทำไมรัสเซียไม่พยายามเอาคืนในปีถัดมา 5 ปีถัดมา หรืออีก 25 ปีถัดมา ทำไมพวกเขาไม่เคยทำอีกเลย คำตอบที่เรามักได้ยินคือก็พวกเราชนะก่อน รัสเซียเลยยอมแพ้ไป มันก็จริงนะ แต่ว่าแล้วทำไมเราไม่เห็นยอมแพ้ล่ะ ตอนพวกเขาส่งดาวเทียมได้ครั้งแรก ส่งมนุษย์ผู้ชายไปครั้งแรก ส่งผู้หญิงไปสถานีอวกาศครั้งแรก ทำไมมีแต่เราที่พยายามกระเสือกกระสนดิ้นรนตลอดเวลา แล้วพอเราไปดวงจันทร์ได้พวกเขาก็หยุดไปเลย ไม่เคยไปอีกเลย"

Kaysing บอกว่า เราก็รู้กันดีว่าในผู้บริหารระดับสูงทั้งรัสเซียและอเมริกาต่างก็คุยกันตลอดเวลามานานแล้ว การปฏิวัติรัสเซียก็ได้รับเงินช่วยเหลือจากวอลสตรีทไง


ข่าว 1 - นักบินอวกาศของโซเวียตมาเยี่ยม NASA และมีการตกลงร่วมมือกันในโครงการสถานีอวกาศอเมริกันและรัสเซียน
ข่าว 2 - ระหว่างที่ไปเยือนรัสเซียประธานธิบดีนิกสันลงนามในข้อตกลงส่งจรวดในปี 1975
ข่าว 3 - นักบินอวกาศอเมริกันและโซเวียตร่วมฝึกซ้อมในปีนี้เพื่อทำงานร่วมกันในสถานีอวกาศที่โคจรไปรอบโลก


ในปี 1986 เกิดเหตุการณ์ยาน Challenger ของ Space Shuttle ระเบิดกลางอากาศทำให้นักบินอวกาศทุกคนเสียชีวิต จึงมีการตั้งคณะกรรมการให้ตรวจสอบเหตุการณ์นี้โดยมีนักฟิสิกส์รางวัลโนเบล Richard Feynman เข้าไปเป็นกรรมการด้วย จากการตรวจสอบพบว่ามีการใช้วัสดุที่ไม่เหมาะสมเพื่อใช้เป็นวงแหวนเชื่อมระหว่างข้อต่อซึ่งไม่ทนต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิเป็นสาเหตุทำให้เครื่องระเบิด และยังพบว่ามีการใช้วัสดุนี้มาแล้วเกิดปัญหาตั้งแต่ปี 1977 แต่ก็ไม่ได้รับการแก้ไข จากเหตุการณ์นี้ Richard แสดงความเห็นเกี่ยวกับ NASA ไว้ว่า "NASA เป็นหนี้ประชาชนผู้ที่เขาร้องขอแรงสนับสนุน ขอให้เป็นองค์กรที่มีความตรงไปตรงมา ซึ่อสัตย์ และให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ดังนั้นประชาชนเหล่านี้จึงจะสามารถตัดสินใจได้อย่างชาญฉลาดที่จะให้ใช้ผลประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอย่างจำกัดเพื่อความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ความจริง (ข้อเท็จจริง) ต้องมีความสำคัญมากกว่าการประชาสัมพันธ์เนื่องจากธรรมชาติไม่สามารถหลอกกันได้"

ข้อมูลเพิ่มเติมจากการสัมภาษณ์ของดร. ริชาร์ดในการตรวจสอบข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นกับ Challenger อยู่ในลิงค์นี้ http://flatearthmatters.blogspot.com/2018/01/8-1986-2.html

--------------------------------------------------------------------------------------





วันอังคารที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2561

3) โครงการ Apollo ได้พามนุษย์ไปเหยียบดวงจันทร์จริงหรือไม่ What Happened on the Moon? - An Investigation Into Apollo (2000)

โครงการ Apollo ได้พามนุษย์ไปเหยียบดวงจันทร์จริงหรือไม่

สารคดีเรื่อง What Happened on the Moon? - An Investigation Into Apollo (2000) เป็นสารคดีของประเทศอังกฤษที่ค้นหาความจริงเกี่ยวกับภารกิจบนดวงจันทร์ของโครงการ Apollo กำกับโดย David S. Percy (ดำเนินรายการโดย Ronnie Stronge ความยาว 2.13 ชม.) บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษาข้อมูลจึงได้สรุปประเด็นสำคัญ ๆ ไว้เพื่อจะสามารถนำไปค้นคว้าเพิ่มเติมเองได้



What Happened on the Moon? - An Investigation Into Apollo (2000)




Ronnie เปิดรายการมาด้วยการกล่าวถึงจุดมุ่งหมายของรายการนี้เพื่อตั้งคำถามถึงความสมบูรณ์ของโครงการ Apollo โดยหลักฐานและข้อมูลต่าง ๆ จากรายการนี้จะชี้ให้เห็นถึงความไม่สอดคล้องกันของข้อมูลที่เป็นทางการจากโครงการ Apollo ของ NASA ที่ส่งมนุษย์อวกาศ 12 คน ไปเยือนดวงจันทร์ในระยะเวลา 3 ปี ตั้งแต่ปี 1969 ว่าจริง ๆ แล้วมนุษย์อวกาศเหล่านี้ได้เดินทางไปในอวกาศจริงหรือไม่ และได้ไปเหยียบดวงจันทร์จริงหรือไม่

รายการนี้แบ่งออกเป็น 3 ช่วง คือ
1. หลักฐานที่จะอธิบายว่า NASA ใช้ภาพถ่ายปลอม
2. อันตรายของรังสีในอวกาศที่จะเป็นอันตรายต่อการเดินทางไปและกลับจากดวงจันทร์
3. บทวิเคราะห์ถึงวิวัฒนาการของจรวดและปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งนักบินอวกาศเพื่อเดินทางไปและกลับจากดวงจันทร์



Ronnie กล่าวว่ารายการนี้ได้ใช้ความพยายามและการค้นคว้าอย่างลึกซึ้ง ซึ่งผู้ชมรายการจะได้เห็นหลักฐานโดยจะมีคนจากหลายองค์ความรู้มาอธิบายเรื่องราวเหล่านี้ เริ่มต้นด้วย

Bill Kaysing ทำงานเป็นหัวหน้าแผนกสิ่งพิมพ์ให้กับบริษัท Rocketdyne (เป็นบริษัทออกแบบและผลิตเครื่องยนต์จรวด) ปี 1956-63 เขาบอกว่าตอนนั้นเขาทำงานวิจัยเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการส่งมนุษย์ไปเหยียบดวงจันทร์และได้ตัวเลขความเป็นไปได้ออกมาประมาณ 0.0014% เนื่องจากสาเหตุหลายประการ เช่น
1. Van Allen Radiation Belt (แถบรังสีแวนอัลเลน)
2. Solar flares (เปลวสุริยะ)
3. Micro meteorites (อุกกาบาตขนาดเล็ก)



บิลกล่าวว่า "สิ่งพวกนี้เป็นอันตรายมากที่นักบินอวกาศต้องเจอและเป็นไปได้อย่างมากที่จะไม่ประสบความสำเร็จ เมื่อผมได้ยินอย่างนั้นในปี 1959 ผมก็คิดว่าการไปเยือนดวงจันทร์เป็นเรื่องที่เสี่ยงมาก"

แม้จะมีความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญแบบนั้น สองปีต่อมาประธานาธิบดีเคนเนดี้ก็ประกาศว่าอเมริกาจะต้องส่งคนไปดวงจันทร์ให้ได้



ส่วนที่ 1 การวิเคราะห์ภาพถ่ายบนดวงจันทร์


นักบินอวกาศกำลังปักธงชาติอเมริกาบนดวงจันทร์ในสภาพแวดล้อมที่เป็นสุญญากาศ
แต่ในภาพธงปลิวไปมาเพราะมีลมพัด


David S. Percy ผู้ร่วมเขียนหนังสือ Dark Moon: Apollo and the Whistle-Blowers เป็นผู้ผลิตภาพยนตร์และรายการโทรทัศน์ที่ได้รับรางวัล และเป็นช่างถ่ายภาพอาชีพของสมาคมถ่ายภาพในพระบรมราชูปถัมภ์ (Royal Photographic Society)


เขาระบุว่า "จากที่ได้ทำการค้นคว้าเกี่ยวกับภาพถ่ายของยาน Apollo บนดวงจันทร์ การบันทึกภาพเหล่านั้นน่าจะไม่ได้เกิดขึ้นจริง และคิดว่าเป็นภาพปลอมเพราะมีข้อผิดพลาดหลายอย่างมาก และเมื่อมีโครงการ Apollo อื่น ๆ ตามออกมา เราก็ยิ่งเห็นชัดมากขึ้นเพราะมีข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องระหว่างรายการถ่ายทอดสดและภาพนิ่ง ภาพถ่ายเหล่านั้นเต็มไปด้วยความไม่สอดคล้องกัน มีความผิดปกติหลายเรื่อง และก็เป็นข้อผิดพลาดที่หลาย ๆ คนเห็นและถูกเปิดเผยมาแล้ว..."

ตัวอย่างที่ 1 ภาพนิ่งกับภาพจากการถ่ายทอดสดไม่เหมือนกัน แสดงให้เห็นว่าการถ่ายภาพนิ่งและการถ่ายทอดสดไม่ได้เกิดขึ้นพร้อมกัน และเชื่อว่าภาพวิดีโอได้ถูกถ่ายทำมาก่อนแล้ว จากในภาพนิ่งรูปที่นักบินอวกาศกำลังกระโดดแล้วมีปลายผ้าเป็นลักษณะสามเหลี่ยมที่อยู่ด้านบนของอุปกรณ์ที่สะพายอยู่ด้านหลังพับขึ้นมา แต่ในภาพวิดีโอที่นักบินอวกาศกระโดด 2 ครั้ง ก็ไม่เห็นปลายผ้าพับขึ้นมาแบบในภาพนิ่ง


ตัวอย่างที่ 2 เป็นการถ่ายภาพโลกจากยาน Apollo 11 ขณะที่ยานกำลังเดินทางไปดวงจันทร์และอยู่ห่างจากโลก 130,000 ไมล์ หลักฐานชิ้นนี้ถูกค้นพบจาก Bart Sibrel ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์และนักวิจัยยาน Apollo ซึ่งระบุว่าเป็นการใช้ภาพถ่ายของโลกซ้อนกับแผ่นฟิล์มขนาดใหญ่เพื่อทำให้ภาพด้านหลังทึบแสง และเดวิดก็ตั้งข้อสงสัยว่า "ทำไมนักบินอวกาศถึงเลือกถ่ายภาพโลกในมุมนี้ที่ยืนอยู่ห่างจากหน้าต่างในระยะไกล ทั้งที่การถ่ายภาพโลกครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นภาพที่สำคัญที่สุดที่เราจะได้ภาพโลกที่อยู่ห่างออกไปเป็นแสนไมล์เป็นครั้งแรก และเมื่อซูมภาพเข้าไปก็น่าแปลกใจที่จู่ ๆ ก็มีเงาขนาดใหญ่บังภาพเข้ามา ซึ่งในความจริงมันไม่น่าเป็นไปได้เพราะภาพที่เรากำลังเห็นคือภาพจากการถ่ายทอดสดที่นักบินอวกาศกำลังถ่ายวิดีโอจากยานอวกาศ ซึ่งมันไม่ควรมีอะไรมาบังระหว่างกล้องและโลกได้ แล้วพอภาพซูมอออกมา เราจะเห็นไฟที่ใช้จัดแสงอยู่ในภาพ มันเป็นไปได้อย่างไร พวกเขาได้ถ่ายภาพโลกนั้นจากหน้าต่างจริงหรือไม่" เดวิดอธิบายว่าภาพที่ถ่ายออกมาก็ไม่ควรเห็นขอบชัดเจนแบบนั้นเพราะการตั้งโฟกัสของกล้องต้องเป็นแบบ infinity (ไม่มีระยะสิ้นสุดเพราะสิ่งที่ถ่ายมีขนาดใหญ่มาก) และเมื่อกล้องซูมเข้าไปขอบต้องออกมาเบลอไม่ใช่คมชัดแบบที่เห็น


เหตุการณ์ต่อมาเมื่อมีการเปิดไฟและภาพเริ่มชัดขึ้นที่หน้าต่างด้านซ้ายมือของนักบินเราจะเห็นว่ามีแผ่นฟิล์มติดอยู่ที่ด้านหน้าหน้าต่างแล้วมีแสงแดดลอดเข้ามา แล้วเมื่อกล้องแพนมาที่นักบินคนที่สอง (Neil Armstrong) จะเห็นว่ามีหน้าต่างอยู่ด้านขวามือของเขา และเมื่อมองออกไปเราก็จะมองเห็นโลกอีกครั้งหนึ่ง จากภาพแรกบอกว่ายานกำลังเดินทางไปดวงจันทร์ได้ครึ่งทางแล้ว แต่จากที่เห็นคือไม่ใช่ และไม่ตรงกับที่กองบัญชาการการบิน (Command Service Module - CSM) บอก อย่างไรก็ตามเมื่อตัวบอกเวลาได้แจ้งว่าระยะเวลาผ่านไปได้ 34 ชม. 16 น. แล้ว แต่จากภาพโลกที่มองเห็นได้จากหน้าต่างน่าจะเป็นไปได้ว่าน่าจะยังอยู่ในวงโคจรโลกระดับต่ำ (low earth orbit) และไม่ได้อยู่กลางทางที่กำลังเดินทางไปถึงดวงจันทร์อย่างแน่นอน และนี่ก็น่าจะเป็นเหตุผลว่าทำไมพวกเขาต้องถ่ายภาพโลกจากระยะไกลมาให้ดู และเราจะเห็นว่าจะมีแผ่นฟิล์มที่เป็นภาพชาร์ตของดวงดาวติดอยู่ที่หน้าต่าง ซึ่งก็เป็นวิธีเดียวกับการถ่ายวิดีโอภาพโลกที่เราเห็นกันเมื่อสักครู่นี้ จากหลักฐานสองชิ้นนี้ก็พอจะชี้ให้เห็นว่ามีอะไรผิดปกติอย่างมากในการบันทึกเหตุการณ์ยาน Apollo ครั้งนี้


Dr. David Groves จากประเทศอังกฤษ ผู้เชี่ยวชาญด้านการประมวลผลภาพ (image processing) เป็นนักวิเคราะห์ภาพคอมพิวเตอร์ด้านฟิสิกส์และโฮโลแกรม เขาทำงานวิจัยระดับปริญญาเอกในการพัฒนาเทคนิคการสร้างภาพโฮโลแกรมโดยใช้คอมพิวเตอร์เพื่อใช้วิเคราะห์ภาพต่าง ๆ และบริษัทของเขา Quantech Image Processing ใช้เทคนิคการประมวลผลภาพเหล่านี้ในการดึงข้อมูลของภาพสามมิติออกมาจากภาพสองมิติที่ใช้กันในวงการรวมไปถึงในทางการแพทย์ เขายืนยันว่าภาพถ่ายจาก NASA ที่เราได้วิเคราะห์มาเต็มไปด้วยความไม่สอดคล้องกัน โดยที่ไม่สามารถมีเหตุผลอธิบายได้หรือแม้แต่จะมีข้อแก้ตัวได้

Ronnie กล่าวว่าไม่น่าแปลกใจเลยที่จะมีคนจำนวนมากทั้งที่เป็นคนที่มีความสามารถและเป็นนักคิดต่างเริ่มตระหนักว่ามีอะไรไม่ชอบมาพากลในโครงการ Apollo แล้วทำไมคนที่อยู่ในอาชีพนี้ที่ทำงานในวงการอวกาศไม่ออกมาพูดอะไรบ้าง พวกเขามีเหตุผลอะไรกัน ที่จริงก็มีบางคนพูดอย่างเช่น Bill Wood ซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์จากรัฐแคลิฟอร์เนีย จบการศึกษาด้านคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ และเคมี เขามีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการที่เป็นความลับระดับชาติของอเมริกา


Bill Wood ทำงานกับผู้รับเหมาที่ทำโครงการต่าง ๆ ให้กับรัฐบาลรวมไปถึง McDonnell Douglas (บริษัทผลิตเครื่องบินของอเมริกา) และรวมไปถึงเหล่าวิศวกรที่ทำงานกับจรวด Saturn 5 ที่โครงการ Apollo ใช้ไปดวงจันทร์ด้วย เขากล่าวว่า "ผมคิดว่าหลาย ๆ คนในวงการการบินที่ผมได้ติดต่องานด้วยไม่อยากจะเชื่อว่าเรื่องนี้มันเกิดขึ้นจริง เพราะว่ามัน (โครงการ Apollo) เป็นความภาคภูมิใจของพวกเขาที่ทำให้พวกเขาอยากทำงานในอาชีพนี้ และโดยเฉพาะในอเมริกามันทำให้เรารู้สึกภาคภูมิใจกับประเทศของเราที่เราทำมันได้สำเร็จ พวกเขาก็เลยมีความลังเลใจที่จะตั้งคำถามอะไรก็ตามที่จะมาทำลายภาพลักษณ์อันสูงส่งนี้ และโดยเฉพาะกับคนที่ทำงานในโครงการ Apollo สำหรับพวกเขานั้นโครงการนี้เป็นเหมือนการประสบความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่ที่พวกเขาสามารถทำได้ในชีวิตของพวกเขา แน่นอนว่าพวกเขาต้องคิดไปแบบนั้นแทนที่จะคิดว่าพวกเขาก็เหมือนกับคนอื่นอีกเป็นล้านที่กำลังถูกหลอกให้ทำงานในเรื่องที่ไม่ใช่เรื่องจริง"


ส่วน Dr. Ian Crawford อาจารย์จากภาควิชาฟิสิกส์และดาราศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอนมีความเห็นตรงกันข้าม เขากล่าวว่า "สำหรับผมความคิดที่ว่าโครงการ Apollo เป็นเรื่องหลอกลวงนั้นเป็นเรื่องเหลวไหลโดยสิ้นเชิง ผมว่านี่มันเป็นหลักฐานชิ้นใหญ่และสำคัญมากทางด้านวิทยาศาสตร์และเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ตามสามัญสำนึก"


HJP Arnold เป็นนักดาราศาสตร์และเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านภาพถ่าย และเขายังเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านอวกาศและการถ่ายภาพดวงดาว เขาเป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการที่บริษัทโกดักตอนโครงการ Apollo เขายังเขียนหนังสืออีกหลายเล่มเกี่ยวกับการถ่ายภาพอวกาศและการสำรวจอวกาศ เขาอธิบายว่าประเภทของฟิล์มที่นีล อาร์มสตรองใช้ถ่ายภาพบนดวงจันทร์เป็นฟิล์ม 17 มม.


โดยที่ Brian Welch ผู้อำนวยการด้านการให้บริการด้านสื่อของ NASA ระบุว่าฟิล์มที่ใช้เป็น "ฟิล์มของโกดักที่บริษัทผลิตมาให้โดยใช้เจลบาง ๆ และใช้น้ำยาพิเศษเฉพาะฟิล์มนี้ เพื่อให้ฟิล์มสามารถอยู่ในสภาพสุญญากาศได้ และอยู่ได้ในสภาพที่มีอุณหภูมิร้อนและเย็นสูงมากแบบสภาพแวดล้อมของดวงจันทร์"

ซึ่งแตกต่างจากสิ่งที่ HJP Arnold บอกคือเขากล่าวว่า "มันเป็นฟิล์มของโกดักซึ่งมีความไวตามปกติเหมือนกับฟิล์มถ่ายภาพทั่ว ๆ ไปในตอนนั้น... มันเป็นฟิล์ม Ektachrome X หรือที่เรียกว่า 64 ASI หรือปัจจุบันนี้เรียกว่า  ISO แน่นอนมันเป็นฟิล์ม 160 ที่ไวมาก"


Ronnie สรุปว่าฟิล์มที่ใช้ถ่ายภาพเป็นฟิล์มที่เคลือบน้ำยาตามปกติทั่วไป ถ้าอย่างนั้นหรืออาจจะเป็นที่กล้องที่มีความพิเศษมาก บริษัท Hasselblad ในประเทศสวีเดนเป็นโรงงานผลิตกล้องที่ NASA สั่งผลิตเพื่อให้สามารถเอาไปใช้บนดวงจันทร์ได้


Jan Lundberg เป็นวิศวกรผู้รับผิดชอบในการผลิตกล้องเพื่อเอาไปใช้ในงานนี้ เขากล่าวว่า "ที่จริงแล้ว NASA จะทำการปรับปรุงอุปกรณ์เองเพื่อเอาไปใช้งาน พวกเขาได้เอากล้องที่ปรับปรุงแล้วมาให้ดูแล้วถามเราว่าเราทำแบบนี้ได้ไหม เราก็ตอบไปว่าทำได้สิ เราทำได้ดีกว่าด้วย จากนั้นเราก็ชี้แจงข้อกำหนดทางเทคนิคต่าง ๆ เพื่อให้ได้รับการอนุมัติจาก NASAหลังจากนั้นกระบวนการปรับปรุงต่าง ๆ เราก็ทำที่โรงงานเรานี่เอง" "เราทำการปรับให้กล้องสามารถโหลดฟิล์ม 17 มม. แบบมาตรฐานได้จากด้านหลัง โดยให้มีการป้องกันทั้งจากด้านในและตรงช่องใส่ฟิล์ม"


David S. Percy กล่าวว่า "ภาพนิ่งที่ถ่ายจากดวงจันทร์ทั้งหมดมาจากกล้องของ Hasselblad ซึ่งจะมีเส้นกากบาทเพื่อวัดระยะห่างระหว่างพื้นที่กับภาพ และตรงกลางจะมีขีดกากบาทอีกเพื่อใช้เป็นเส้นเล็งภาพ เส้นเล็งพวกนี้จะถูกถ่ายติดไปด้วยในฟิล์ม และมันถูกตั้งให้เป็นจุดโฟกัสของกล้องมืออาชีพจากการ
ผลิตของโรงงานผลิตเลนส์ Zeiss และแปลว่ามันเอาออกไม่ได้ ดังนั้นการถ่ายภาพทั้งหมดที่ถ่ายบนดวงจันทร์จะต้องเห็นเส้นเล็งนี้ตรงกลางภาพ นอกจากนั้นมันเป็นไปไม่ได้ที่สิ่งของที่ถูกถ่ายจะมาอยู่ด้านหน้าเส้นเล็งดังกล่าวในภาพที่อัดออกมาเป็นรูปแล้ว"


 ประเด็นถัดมาคือทิศทางของแสงและเงาในภาพ เนื่องจากบนดวงจันทร์มีดวงอาทิตย์เป็นแหล่งให้แสงสว่างเพียงอย่างเดียวเท่านั้น และจากบันทึกข้อมูลของ NASA ก็ระบุว่าไม่ได้มีการใช้อุปกรณ์ใด ๆ ให้แสงสว่างในการถ่ายภาพ แต่จากลักษณะของเงามีความผิดปกติ โดย David Percy อธิบายว่าปกติแล้วเงาที่เกิดจากแสงอาทิตย์ซึ่งเป็นแสงธรรมชาติจะต้องมีการทอดยาวไปในทิศทางเดียวกัน และสิ่งที่อยู่ภายใต้เงานั้นก็จะดำมืดไปด้วย เราจะไม่สามารถมองเห็นสิ่งที่ถูกเงาพาดทับได้ แต่ภาพถ่ายทางการที่ NASA ระบุว่าถ่ายมาจากดวงจันทร์ไม่เป็นเช่นนั้น ลักษณะของเงามีการทอดยาวไปในทิศทางที่ไม่ขนานกัน ซึ่งก็บ่งชี้ว่ามีการใช้อุปกรณ์ให้แสงสว่างอื่น ๆ ช่วยในการถ่ายภาพ อย่างในภาพที่ยกตัวอย่างมาให้ดูนี้มาจาก Apollo 14 เป็นภาพที่ถ่ายบนพื้นดวงจันทร์ที่มีลักษณะแบนราบ แต่จะเห็นได้ว่าการทอดเงาของก้อนหินด้านหน้ากับเงาของนักบินอวกาศเป็นเส้นตัดกัน


อย่างในภาพของ Apollo 17 ก็เช่นเดียวกัน เราจะเห็นว่ามีแหล่งที่ให้แสงสว่างมาจาก 2 แหล่ง คือเส้นสีเหลืองและสีเขียวตามเงาของตัวนักบินอวกาศและก้อนหินด้านหลัง เมื่อแพนมาที่ก้อนหินด้านหน้าปรากฏว่ามีตัวอักษร "C" อยู่บนก้อนหินและที่พื้นสองตำแหน่งซึ่งก็แปลกดีและเป็นหลักฐานบ่งบอกว่าภาพเหล่านี้ผ่านกระบวนการตัดต่อและดัดแปลงมาแน่นอน



ประเด็นต่อไปเป็นเรื่องแสงเงาอีกเรื่องหนึ่ง จากในภาพเราจะเห็นว่าดวงอาทิตย์อยู่ด้านหลังของนักบินและอยู่ด้านหลังรถโรเวอร์ ทำให้เงาของนักบินพาดมาด้านหน้าซึ่งเราไม่ควรมองเห็นรายละเอียดที่อยู่ด้านหน้าของชุดนักบินเพราะมันต้องอยู่ในเงามืด แต่ในภาพที่ NASA เอามาให้ดูกลายเป็นว่ามีแสงส่องไปที่ด้านหน้านักบินทำให้เราเห็นรายละเอียดของชุดชัดเจน


จากหลักฐานเหล่านี้จึงทำให้เชื่อว่าการถ่ายภาพในบนดวงจันทร์จากโครงการ Apollo นั้น มีแหล่งที่ให้แสงสว่างนอกเหนือจากดวงอาทิตย์ ซึ่งหมายถึงมีการจัดแสงเพื่อช่วยในการถ่ายภาพ ซึ่งในหลักฐานชิ้นต่อมาเป็นภาพนิ่งที่ Aldrin กำลังก้าวลงมาจากยานและมีแสงสะท้อนเป็นเงาที่ด้านหลังรองเท้าบูท และ Dr. David Grovesได้ใช้เทคโนโลยีจากบริษัทของเขาระบุได้ว่าแสงที่สะท้อนมานั้นอยู่ในระยะห่างเท่าไหร่ จากการคำนวณเขาบอกว่า "จุดที่แสงส่องมาอยู่ห่างจากแสงสะท้อนที่รองเท้าบูทด้านขวาประมาณ 24 - 36 ซม. ส่องมาจากด้านขวาของกล้อง แปลว่ามีการจัดแสงในการถ่ายภาพนี้"





ถัดมาเป็นรูปที่ถือได้ว่าดังที่สุดจากภาพถ่ายทั้งหมด และมีหลายประเด็นที่ให้ได้ศึกษากันนอกจากประเด็นเรื่องแสงเงา ในรูปนี้คือภาพของ Buzz Aldrin ที่ถูกถ่ายโดย Neil Armstrong ซึ่งภาพสะท้อนที่กระจกที่หมวกจะมองเห็น Armstrong กำลังยืนถือกล้องถ่ายรูปอยู่ จะมองเห็นตัวยาน LEM และธงชาติอยู่ด้วย ข้อสังเกตคือเส้นเล็งที่เป็นรูปกากบาทที่ปกติต้องอยู่ตรงกลางภาพมันขยับมาอยู่ที่ด้านล่างของขาขวาของ Aldrin ซึ่งเป็นภาพที่ไม่น่าจะเป็นไปได้เพราะกล้องถูกสะพายอยู่ที่ระดับหน้าอกของนีลตลอดเวลา จากในภาพ Dr. David Groves สามารถคำนวณได้ว่าผู้ถ่ายภาพนี้ต้องอยู่ในระดับสูงกว่า Aldrin ประมาณ 2 ฟุต และแน่นอนว่าภาพนี้ไม่ได้ถูกถ่ายโดย Armstrong เพราะจากภาพที่สะท้อนมาเขาอยู่ในระดับที่สูงกว่า Aldrin เพียงไม่กี่นิ้ว


เรื่องของภาพถ่ายยังมีอีกหลายประเด็นที่สารคดีชิ้นนี้นำเสนอไว้ แต่สำหรับช่วงสุดท้ายของบทความนี้ขอจบตรงเรื่องของทักษะการถ่ายภาพนิ่งของนักบินอวกาศที่สามารถเก็บรายละเอียดภาพ จัดองค์ประกอบภาพได้ดีมากราวกับเป็นภาพถ่ายของช่างภาพมืออาชีพ ที่ถ่ายในสตูดิโอที่มีการจัดแสงอย่างดี และภาพถ่ายเหล่านั้นก็สามารถเอามาใช้เพื่อการประชาสัมพันธ์โครงการ Apollo ซึ่งเป็นผลดีต่อองค์กร NASA ด้วย ทั้ง ๆ ที่นักบินที่อยู่ในชุดอวกาศแบบนั้นทำให้ยากมากกับการใช้งานกล้องถ่ายรูป กล้อง Hasselblad ไม่มีช่องมองภาพ นักบินทำได้แค่หันกล้องไปทิศทางที่ต้องการถ่าย สามารถปรับเลนส์ ปรับอุปกรณ์ได้นิดหน่อย แต่ก็ได้ภาพออกมาดีมาก ซึ่งสวนทางกับการถ่ายภาพวิดีโอที่ต้องให้กองบัญชาการจาก Houston คอยบอกการตั้งกล้องและปรับขยับกล้องอยู่นานมากกว่าจะได้ภาพที่ดีออกมาได้

ตอนที่ 2
http://flatearthmatters.blogspot.com/2018/01/4-apollo-2.html

สารคดีเรื่อง Conspiracy Theory: Did We Land on the M? (พากย์ภาษาไทย)
โดยสำนักข่าว Fox TV Network (ออกอากาศปี 2001)


-------------------------------------------------------------------------