วันจันทร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2560

2) ความไม่สมบูรณ์ของทฤษฎีไอน์สไตน์ (Imperfection of Einstein's Theory of Relativity)

ความไม่สมบูรณ์ของทฤษฎีไอน์สไตน์ มีการถกเถียงกันมาอย่างยาวนานกว่าร้อยปีในเรื่องนี้ และมีนักวิชาการที่เกี่ยวข้องหลายคนพยายามทำการพิสูจน์และเขียนเป็นบทความอธิบายไว้เพื่อให้ได้ทำการศึกษาเพิ่มเติม ยกตัวอย่างเช่น

Imperfection of Einstein's Theory of Relativity
There are many scholars who have been trying to explain something wrong in Einstein's theory. Below are some of them Dr. Chung Y. Lo and Stephen Crothers. I also found some sources said that even Nikola Tesla also mentioned that he disagreed with Einstein's theory. Another source is from a German website by Dr. Georg Galeczki and Dr. Peter Marquardt http://www.kritik-relativitaetstheorie.de/ (Critical voices on the theory of relativity). It has a link to a document 'Catalogue of Errors for Both Theories of Relativity'. It claims that there were 130 serious errors in the theory with explanation of 169 pages long.
http://www.kritik-relativitaetstheorie.de/Anhaenge/Kapitel2-englisch.pdf


1) Dr. Chung Y. Lo
เป็นนักคณิตศาสตร์และนักฟิสิกส์เชิงทฤษฎี
Dr. Chung Y. Lo (เป็นชาวอเมริกันเชื้อสายจีน) ที่มีความสนใจเรื่องทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป ได้ตีพิมพ์บทความอธิบายถึงความไม่สมบูรณ์ของทฤษฎีไอน์สไตน์ไว้ตั้งแต่ปี 2005 จนถึงปัจจุบัน

Dr. Chung ได้ตีพิมพ์เอกสารที่ชี้แจงข้อผิดพลาดของทฤษฎีสัมพัทธภาพไว้หลายฉบับ (1,2,3) ต่อเนื่องมาถึงความไม่สมบูรณ์ของทฤษฎีของ Dr. Kip Thorne ที่นำมาใช้กับโครงการ LIGO เพราะมีพื้นฐานมาจากทฤษฎีของไอน์สไตน์ (4) ไปจนถึงข้อถกเถียงในการให้รางวัล Shaw Prize (ของฮ่องกง) กับ D. Christodoulou เนื่องจากมีความผิดพลาดในการคำนวณทางคณิตศาสตร์โดยใช้สมการของไอน์สไตน์ ซึ่งเป็นข้อค้นพบของกรรมการรางวัลโนเบลโดย Allvar Gullstrand, MD  (2,5,6)





ประวัติและเอกสารที่ตีพิมพ์ของ 
Dr. Chung Y. Lo Profile
http://www.naturalphilosophy.org/php/index.php?tab0=Scientists&tab1=Scientists&tab2=Display&id=1298

เอกสารฉบับเต็ม
Some of his articles
1. Misunderstandings Related to Einstein’s Principle of Equivalence and Einstein’s Theoretical Errors on Measurements (2005) http://lss.fnal.gov/archive/other1/apri-th-phy-2005-02.pdf

2. Some Rectifiable Inconsistencies and Related Problems in Einstein’s General Relativity (2009)
http://worldnpa.org/abstracts/abstracts_5528.pdf

3. Some Mathematical and Physical Errors of Wald on General Relativity ตีพิมพ์ใน
Global Journal of Science Frontier Research Physics and Space Sciences
Volume 13  Issue 2 Version 1.0 Year  2013
https://globaljournals.org/GJSFR_Volume13/1-Some-Mathematical-and-Physical-Errors.pdf

4. Einstein’s Equivalence Principle and Invalidity of Thorne’s Theory for LIGO ตีพิมพ์ใน PROGRESS IN PHYSICS Volume 2 April, 2006
http://www.ptep-online.com/2006/PP-05-02.PDF

5. How a Shaw Prize Is Awarded for Mathematical Errors of Christodoulou (2012)
Proceedings of the NPA Albuquerque, NM 2012
http://worldnpa.org/how-a-shaw-prize-is-awarded-for-mathematical-errors-of-christodoulou/
หรือ https://docs.google.com/viewerng/viewer?url=http://worldnpa.org/abstracts/abstracts_6471.pdf&hl=en_US

6. On the Nobel Prize in Physics, Controversies and Influences (2013) ตีพิมพ์ใน
Global Journal of Science Frontier Research Physics and Space Science
Volume 13  Issue 3 Version 1.0 Year  2013
https://globaljournals.org/GJSFR_Volume13/3-On-the-Nobel-Prize-in-Physics-Controversies.pdf


2
) Stephen Crothers เป็น
นักฟิสิกส์เชิงทฤษฎี จาก Alpha Institute of Advanced Study 
Crothers haven't gotten PhD as he told that he was prevented from submitting his dissertation by many professors at the University of New South Wales, Australia. His explanation is in his website here (http://www.sjcrothers.plasmaresources.com/PhD.html). Even though he doesn't get accredited from the institute, it doesn't mean that he doesn't know about that thing right? He's been trying to present his ideas through several media for many years, some may not interested to look at them because of his profile. However, since I've learned a lot from flat earth issue I think this idiom is powerful 'Don't judge a book by its cover'.

1. อธิบายเหตุผลหักล้างทฤษฎี General Relativity: A Case Study in Numerology (2015) 
https://www.youtube.com/watch?v=QBorBKDnE3U

2. บทความที่ Stephen เขียนอธิบายข้อโต้แย้งโครงการ LIGO (2016)
A CRITICAL ANALYSIS OF LIGO'S RECENT DETECTION OF GRAVITATIONAL WAVES  CAUSED BY MERGING BLACK HOLES
http://www.inerton.kiev.ua/nogravwaves_S.Crothers(2016)_vixra.1603.0127v3.pdf

3. บทความ Fundamental Errors in the General Theory of Relativity
http://www.sjcrothers.plasmaresources.com/Chapter-3.pdf

4. สไลด์ของ Stephen อธิบายเรื่องความไม่มีอยู่จริงของ Black Hole และข้อผิดพลาดทั้งหมดของ General Relativity ในการประชุม EU Conference: The Tipping Point - The Thunderbolts Project (2013)
The Non-Existence of the Black Hole and The Total Failure of General Relativity
https://www.thunderbolts.info/wp/wp-content/uploads/2013/03/Crothers-EU-2013.pdf

5. เว็บไซต์ของ Stephen มีบทความและคลิปวิดีโอเพิ่มเติม
You can find more of his works from these websites http://www.sjcrothers.plasmaresources.com/
และ http://www.sjcrothers.plasmaresources.com/papers.html.

6. เนื้อหาเพิ่มเติมที่เขาได้อธิบายไว้ใน ResearchGate
More of his explanation can be found in ResearchGate.
https://www.researchgate.net/profile/Stephen_Crothers2


3) Nikola Tesla
ข้อมูลเกี่ยวกับ Nikola Tesla ที่แสดงความไม่เห็นด้วยกับทฤษฎีของไอน์สไตน์ (หน้า 32-39)
http://www.stefan-university.edu/ALBERT-EINSTEIN.pdf เป็นเอกสารที่ตีพิมพ์ในงานเฉลิมฉลองปีแห่งฟิสิกส์โลก 2005 ของมหาวิทยาลัย Stefan University ในแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา

There are several sources mentioned that Nikola Tesla disagreed with Einstein's theory.
This document, entitled V. Alexander Stefan. Regarding, Inter Alia, Albert Einstein and Mileva Marich Einstein, has the information on page 32-39. It was published in the Celebration of the World Year of Physics 2005 (Stefan University Press, La Jolla, CA, 2005. ISBN: 9781889545769). http://www.stefan-university.edu/ALBERT-EINSTEIN.pdf 










ไอน์สไตน์และเทสลาเคยเจอกันที่ New Brunswick รัฐ New Jersey ปี 1921



จดหมายจากไอน์สไตน์เขียนถึงเทสลาในปี 1931 ในวาระครบรอบวันคล้ายวันเกิด 75 ปี


ปี 1935 นิโคลา เทสลากล่าวถึงทฤษฎีของไอน์สไตน์ไว้ในหนังสือพิมพ์นิวยอร์คไทมส์ตามนี้


"ทฤษฎีสัมพันธภาพของไอน์สไตน์เป็นอาภรณ์ทางคณิตศาสตร์ที่ดูงดงามดูน่าลุ่มหลงและแพรวพราวซะจนทำให้ผู้คนตาบอดจนมองไม่เห็นความผิดพลาดทั้งหลายในนั้น ทฤษฎีนี้มันเหมือนขอทานที่ห่อหุ้มกายด้วยผ้าคลุมสีม่วง ที่คนเขลาต่างยกย่องให้เป็นพระราชา... เหล่าผู้ที่อธิบายทฤษฎีนี้ได้ต่างเป็นคนฉลาดหลักแหลม แต่พวกเขานั้นเป็นนักฟิสิกส์เชิงปรัชญามากกว่าจะเป็นนักวิทยาศาสตร์" - นิโคลา เทสลา (หนังสือพิมพ์นิวยอร์คไทมส์ 11 ก.ค. 1935)

แหล่งที่มา: หนังสือพิมพ์ New York Times ฉบับวันที่ 11 ก.ค. 1935

4) Dr. Georg Galeczki และ Dr. Peter Marquardt นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน
ประวัติและผลงานของ Dr. Georg Galeczki
http://www.naturalphilosophy.org/php/index.php?tab0=Scientists&tab1=Scientists&tab2=Display&id=112

ประวัติและผลงานของ Dr. Peter Marquardt
http://www.naturalphilosophy.org/php/index.php?tab0=Scientists&tab1=Scientists&tab2=Display&id=54

Dr. Georg Galeczki and Dr. Peter Marquardt founded GFWP (Gesellschaft zur Förderung der wissenschaftlichen Physik e.V) "Society for the promotion of scientific physics" since 1995. In their website http://www.kritik-relativitaetstheorie.de/ (Critical voices on the theory of relativity) has a link to a document 'Catalogue of Errors for Both Theories of Relativity'. It claims that there were 130 serious errors in the theory with explanation of 169 pages long.

ทั้งคู่ได้ก่อตั้ง GFWP (Gesellschaft zur Förderung der wissenschaftlichen Physik e.V) ตั้งแต่ปี 1995 โดยมีเอกสารแปลเป็นภาษาอังกฤษฉบับนึงชื่อว่า Catalogue of Errors for Both Theories of Relativity (เอกสารรวบรวมข้อผิดพลาดของทฤษฎีสัมพัทธภาพทั้งสองทฤษฎี) ความยาว 169 หน้า ดาวน์โหลดได้ที่
http://www.kritik-relativitaetstheorie.de/Anhaenge/Kapitel2-englisch.pdf

เอกสารนี้ได้รวบรวมข้อพิสูจน์เกี่ยวกับทฤษฎีสัมพัทธภาพจากโครงการ G.O. Mueller ภายใต้เอกสารชื่อ "95 Years of Criticism (1908-2003) with Proof of 3789 Critical Works"
(95 ปีแห่งการวิพากษ์วิจารณ์ (1908-2003) ด้วยผลการพิสูจน์ 3,789 ชิ้นงาน)
บทเกริ่นนำได้กล่าวว่าเอกสารชิ้นนี้ได้นำเสนอข้อผิดพลาดอย่างรุนแรงกว่า 130 แห่งในทฤษฎีสัมพัทธภาพ ซึ่งแบ่งออกเป็น 21 กลุ่มสาขา (ตามภาพ)


**เพิ่มเติม** 14/01/2018

5) Hundert Autoren Gegen Einstein (One Hundred Authors Against Einstein)
มีการลงชื่อไม่เห็นด้วยกับทฤษฎีของไอน์สไตน์จากนักวิทยาศาสตร์ชาวออสเตรียและเยอรมันกว่า 100 คนในหนังสือ Hundert Autoren Gegen Einstein (One Hundred Authors Against Einstein)  https://archive.org/details/HundertAutorenGegenEinstein (ภาษาเยอรมัน)







6) Christopher Jon Bjerknes
เขียนหนังสือเกี่ยวกับไอน์สไตน์หลายเล่มมาก เช่น Albert Einstein: The Incorrigible Plagiarist
อธิบายว่าทฤษฎีสัมพัทธภาพถูกขโมยความคิดมาจาก Henri Poincare



  • Mileva Einstein-Marity Einstein's Partner in Crime
  • ALBERT EINSTEIN The Incorrigible RACIST
  • E = mc2 and the JEWISH AGENDA
  • Space-Time Theories Before Einstein
  • The Manufacture and Sale of Saint Einstein - The Propaganda of Supremacy (การผลิตและเร่ขายนักบุญไอน์สไตน์ - โฆษณาชวนเชื่อทางศาสนา จำนวน 2,825 หน้า) มีให้อ่านออนไลน์ตามลิงค์นี้https://archive.org/details/TheManufactureAndSaleOfSaintEinstein-ThePropagandaOfSupremacy

7) Allvar Gullstrand
รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ที่ไอน์สไตน์ได้รับในปี 1921 คือเรื่องปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก (ไม่เกี่ยวกับทฤษฎีสัมพัทธภาพ) ซึ่งก่อนหน้านี้เขาได้ถูกเสนอชื่อมาตลอดกว่า 11 ปี เพราะเขาเริ่มมีชื่อเสียงจากทฤษฏีสัมพัทธภาพนี้แล้ว แต่ Allvar Gullstrand ผู้ที่ค้นพบข้อผิดพลาดนั้นได้โต้แย้งกรรมการโนเบลจนทำให้ปี 1921 ไม่มีการประกาศชื่อผู้ได้รับรางวัลสาขาฟิสิกส์ และเลื่อนมาประกาศผลในปี 1922 ซึ่ง  Allvar Gullstrand ได้ระบุไว้ว่า "Einstein must never receive a Nobel Prize, even if the entire world demands it." (ไอน์สไตน์ไม่ควรได้รับรางวัลโนเบลแม้ว่าความต้องการของคนทั้งโลกจะเป็นเช่นนั้น) ในวันรับรางวัลกรรมการโนเบลได้บอกกับไอน์สไตน์ว่าไม่ให้กล่าวถึงทฤษฎีสัมพัทธภาพ แต่ไอน์สไตน์ก็ไม่สนใจ ในงานเขาพูดถึงทฤษฎีสัมพัทธภาพของเขาเรื่องเดียวเลย

More information about Einstein's Nobel Prize in 1921








8) Harold Aspden
Dr. Harold Aspden, Cambridge (Ph.D., 1950-1953) เขียนหนังสือชื่อเรื่อง Physics without Einstein (ปี 1969) โต้แย้งทฤษฎีของไอน์สไตน์และให้ความสำคัญกับ Aether ซึ่งไอน์สไตน์บอกว่าไม่มีอยู่จริง Dr. Aspden เขียนหนังสือต่อเนื่องอีกหลายเล่มเป็น series ของชุด Physics without Einstein เมื่อปี 1972 ออกหนังสือมาอีกเล่มชื่อเรื่อง Modern Aether Science เผื่อใครสนใจโหลดอ่านได้ (ภาษาอังกฤษ) และเมื่อปี 2005 เขียนหนังสือรีวิวครบรอบ 100 ปี ของทฤษฎีของไอน์สไตน์ ประวัติและผลงานตีพิมพ์ของ Dr. Aspden โหลดอ่านได้จากลิงค์นี้ https://tesla3.com/harold-aspden/

Dr. Harold Aspden

Physics Without Einstein & Modern Aether Science (1972)


PHYSICS WITHOUT EINSTEIN
A Centenary Review (2005)


**เผื่อใครอยากรู้เรื่อง Aether เพิ่มเติมมีหนังสือเล่มนี้น่าสนใจ**

The Ether of Space (1909) โดย Sir Oliver Lodge

---------------------------------------------------------------------------------


วันพุธที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2560

1) โลกหมุนไปรอบดวงอาทิตย์ตามทฤษฎี Heliocentric จริงหรือ??? Heliocentric and Geocentric Models

Heliocentric and Geocentric Models
ก่อนจะทำความรู้จักกับดาวอื่น จักรวาลอื่น หรือสิ่งมีชีวิตจากโลกอื่น เรารู้จักตัวเราเองดีหรือยัง??

Heliocentric และ Geocentric เป็นโมเดลที่ใช้อ้างอิงเรื่องศูนย์กลางของจักรวาล ทฤษฎี Heliocentric จะมองว่าดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของระบบ ส่วน Geocentric มองว่าโลกคือศูนย์กลางใช้หลักการคิดเชิงปรัชญาและเกี่ยวข้องกับความเชื่อทางศาสนาและวัฒนธรรมตั้งแต่ยุคสมัยโบราณ ส่วน Heliocentric ใช้หลักการทางดาราศาสตร์และการคำนวณทางคณิตศาสตร์ แต่ปัจจุบันยังไม่มีข้อสรุปว่าทฤษฎีใดถูกต้อง โดยนักดาราศาสตร์จะอธิบายว่าทั้งสองแนวคิดมีอิทธิพลทั้งคู่ และในต่างประเทศจะสอนให้นักเรียนรู้จักทั้งสองระบบแล้วใช้หลักการดูดาวเพื่อสอนให้ฝึกใช้กล้องดูดาวสังเกตการเคลื่อนที่ของดาวต่าง ๆ เพื่อใช้เปรียบเทียบกัน


Geocentric and Helicentric Models

ความเชื่อด้าน Geocentric เกี่ยวข้องกับความเชื่อทางศาสนา ซึ่งมองว่าโลกเป็นศูนย์กลางแห่งจักรวาลมีมาตั้งแต่ยุคสมัยกรีกโบราณ และมีนักปราชญ์คืออริสโตเติลและโตเลมี (Ptolemy) ที่สนับสนุนแนวคิดนี้ ส่วนในศาสนาคริสต์จะเชื่อว่าพระเจ้าเป็นผู้สร้างโลก โลกมีลักษณะแบน ตั้งอยู่บนหลังเต่า อยู่นิ่ง ๆ ไม่เคลื่อนไหวและมีโดมครอบไว้ ถัดจากโดมจะมีน้ำล้อมรอบอยู่ โดยมีดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และกลุ่มดาวอื่น ๆ เคลื่อนที่ไปรอบ ๆ (มีระบุในคัมภีร์ไบเบิล) ในศาสนาพุทธและอิสลามก็มีการบรรยายลักษณะของโลกที่คล้าย ๆ กัน

ต่อมาคริสตศตวรรษที่ 16 แนวคิดเรื่องดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางหรือ Heliocentric ได้ถูกนำเสนอโดยบาทหลวงชาวโปแลนด์ชื่อ นิโคลัส โคเปอร์นิคัส ซึ่งเป็นนักดาราศาสตร์และนักคณิตศาสตร์ด้วย ยุคต่อมาก็มีโจฮันเนส เคปเลอร์ และกาลิเลโอ กาลิเลอีก็ให้การสนับสนุนแนวคิดนี้ การเสนอความคิดของกาลิเลโอขัดแย้งกับศาสนจักรจึงเป็นเหตุให้เขาถูกจองจำ แต่วิธีคิดของกาลิเลโอได้เริ่มใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นการคิดเชิงเป็นเหตุเป็นผลมากกว่าความเชื่อทางศาสนา มีการบันทึกและเก็บข้อมูล ซึ่งทำให้กาลิเลโอก็มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์อย่างมาก ต่อมาเมื่อวิทยาการด้านกล้องดูดาวได้พัฒนามากขึ้น เซอร์ ไอแซค นิวตัน สนใจในทฤษฎีของกาลิเลโอและเขาเป็นผู้เสนอเรื่องแรงโน้มถ่วงเพื่ออธิบายปรากฏการณ์การเคลื่อนที่ของดวงดาวทั้งหลายได้ แนวคิดเรื่องดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางแห่งจักรวาลก็เริ่มได้รับการยอมรับมากขึ้น และถูกพัฒนาต่อมาเรื่อย ๆ และถูกใช้บรรจุในหลักสูตรการศึกษา ในทางตรงกันข้ามแนวคิด Geocentric ก็ไม่ได้รับการพัฒนาและมักถูกมองว่าล้าสมัยไม่เข้ากับยุคปัจจุบัน แม้ว่า Geocentric จะเป็นแนวคิดที่สอดคล้องกับความเชื่อทางศาสนาแต่โดยหลักการเบื้องต้นก็คือการตั้งสมมติฐานของลักษณะการเคลื่อนที่ของโลกกับกลุ่มดาวอื่นรอบ ๆ เป็นไปตามสั

จะเห็นได้ว่าความเชื่อเรื่องโลกกับจักรวาลสัมพันธ์กันอย่างลึกซึ้งกับความเชื่อดั้งเดิมทางศาสนา และในยุคสมัยก่อนศาสนาก็ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการปกครองผู้คนในสังคม ซึ่งก็หมายถึงอำนาจในการควบคุมความคิดของคนด้วย ปัจจุบันแม้ว่าความรู้เรื่องโลกและจักรวาลดูเหมือนจะแยกออกจากความเชื่อทางศาสนาได้แล้ว และเราจะให้ความสำคัญกับหลักฐานข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์กันมาก หากใครสามารถหาข้อมูลมาสนับสนุนความเชื่อของตนเองได้ก็จะมีอิทธิพลทำให้คนอื่น ๆ เปลี่ยนความเชื่อได้ แต่สิ่งที่ก็ควรต้องระวังคืออิทธิพลด้านอื่นที่ไม่เกี่ยวกับเนื้อหานั้น ๆ โดยตรง เช่น คนที่พูดมีสิทธิ์มีอำนาจมากกว่า มีอิทธิพลสูงกว่า หรือมีความรู้มากกว่า มีอายุมากกว่า เรื่องพวกนี้ไม่ใช่ปัจจัยในการใช้ตัดสินข้อมูล การตัดสินใจควรต้องขึ้นอยู่กับหลักฐานข้อมูลที่ตรงกับความเป็นจริงและเข้ากับบริบท หากมีหลักฐานใหม่เพิ่มเติมเพราะมีการศึกษาเพิ่มที่สามารถอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นได้ดีกว่า เรื่องนั้น ๆ ก็ควรได้รับการคิดพิจารณาใหม่ อีกอย่างคือการถูกครอบงำทางความคิดจากการใช้คำโฆษณาชวนเชื่อ (propoganda) ต้องระวังให้ดีว่าเรายืนอยู่บนความเชื่อที่เป็นกลางแล้วหรือยังควรระวังด้วยว่าตัวเราติดภาพจำจากอิทธิพลอื่นมาหรือเปล่า เช่น จากภาพยนตร์ จากเรื่องราววิทยาศาสตร์ที่น่าตื่นเต้นเพราะไม่อย่างนั้นเราจะไม่สามารถพิสูจน์ข้อเท็จจริงได้เลยหากยังทำให้ความคิดเป็นกลางไม่ได้ เราจะไม่สามารถเข้าใจหลักการและเหตุผลของอีกฝั่งได้เลย

จากข้อความด้านบนที่ระบุว่าปัจจุบันนักดาราศาสตร์ก็ยังใช้แนวคิดของทั้ง Geocentric และ Heliocentric ในการศึกษาดวงดาวต่าง ๆ อยู่ หลังจากที่พยายามหางานวิจัยและข้อมูลทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่จะระบุว่าตกลงแล้วโลกของเรามีลักษณะอย่างไรกันแน่ผู้เขียนเองก็ยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้ ซึ่งก็แปลกดีทั้งที่เรามีองค์กร NASA มาตั้งแต่ปี 2501 เราส่งมนุษย์ไปเหยียบดวงจันทร์ ไปถึงดาวอังคารเราก็ไปมาแล้ว เรามีดาวเทียมลอยในอวกาศหลายดวง (บางหลักฐานบอก 3,000 ดวง บางที่บอก 20,000 ดวง) เรามีสถานีวิจัยอวกาศนานาชาติ ISS อยู่ตั้งแต่ปี 2541 หลายประเทศก็มีเทคโนโลยีขั้นสูงและทุ่มเทงบประมาณศึกษาด้านนี้ส่งนักบินอวกาศขึ้นไปเยอะมากแต่เรายังไม่สามารถมีความชัดเจนตรงนี้ได้ ทั้งที่องค์ความรู้ตรงนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาต่อยอดความคิดต่อไป

Heliocentric to Geocentric Plane 3D Models
จักรวาลแบบ Heliocentric และ Geocentric ในแบบ 3D

เท่าที่ค้นงานวิจัยเจอตอนนี้มีเรื่อง The Geocentric Model of the Earth: Physics and Astronomy Arguments โดย Kharroubi Amira น.ศ.ปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัย Sfax University ประเทศตูนีเซีย ซึ่งผู้วิจัยศึกษาเกี่ยวกับลักษณะทางภูมิศาสตร์กายภาพของโลกเพื่อสนับสนุนโมเดล Geocentric และเป็นข้อโต้แย้งทางฟิสิกส์และทางดาราศาสตร์ ในบทความวิจัยได้สรุปลักษณะทางกายภาพของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลกไว้ 4 ข้อ แต่จะขอสรุปคร่าว ๆ เฉพาะข้อสุดท้ายคือเรื่อง Kinematic ที่ใช้หลักจลนศาสตร์ (คือการเคลื่อนที่ของเทหวัตถุที่เป็นของแข็ง) มาวิเคราะห์ลักษณะของโลกไว้อย่างน่าสนใจ


1) ถ้าโลกมีแรงดึงดูด (attraction force) ที่เกิดจากการหมุนรอบตัวเอง รอบดวงอาทิตย์ หรือมีการหมุนในลักษณะอื่น ๆ มันจะไม่สามารถเกิดลมได้ ทั้งนี้ได้ทำการสังเกตตั้งแต่ลมเบาไปจนถึงลมที่พัดแรงในระดับความเร็ว 50 น็อต ซึ่งยืนยันได้ว่าโลกไม่มีแรงดึงดูด (attraction force)

2) ลักษณะของคลื่นทะเลที่ชายฝั่งมีระดับความสูงสัมพันธ์กับระดับลมที่พัด ถ้าหากโลกหมุนรอบตัวเองด้วยความเร็ว 1,670 กม./ชม.จริง เราต้องพบเห็นคลื่นที่พัดไปเฉพาะทางทิศตะวันออกเท่านั้น แต่นักสมุทรศาสตร์วิทยาระบุว่าลักษณะการเกิดคลื่นของโลกเกิดได้ทุกทิศทาง และในขณะที่โลกหมุนด้วยความเร็วขนาดนั้นจะต้องเกิดลมที่พัดแรงมากถึงขั้นทำลายทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกไปหมด ทั้งนี้เราจึงไม่สามารถยอมรับได้ว่าโลกมีการเคลื่อนที่ใด ๆ

3) การพบเห็นก้อนหินที่วางซ้อน ๆ กันที่ทะเลสาป หรือที่แม่น้ำทั่วไปในหลาย ๆ ประเทศเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญที่จะบอกว่าได้ว่าโลกมีลักษณะอยู่นิ่ง เพราะหากโลกหมุนรอบตัวเอง หมุนรอบดวงอาทิตย์ หมุนในกาแลคซีเพื่อการขยายตัวของจักรวาล ก้อนหินก็คงจะไม่สามารถตั้งอยู่แบบนั้นได้ ดังนั้นก้อนหินที่ไม่ได้ถูกเคลื่อนที่เหล่านี้จะเป็นการสนับสนุนที่ดีของทฤษฎี Geocentric

4) จรวดที่ถูกปล่อยขึ้นไปทำภารกิจบนอวกาศแต่สามารถกลับลงมายังโลก ณ จุดเดิมได้ ทั้งที่โลกมีการเคลื่อนที่ มีการหมุนด้วยความเร็วสูงมาก ซึ่งหากจรวดที่ขึ้นไปบนอวกาศทำภารกิจเสร็จสิ้นแล้ว การเคลื่อนที่ของโลกก็ต้องห่างจากจุดที่ปล่อยตัวไปมาก และด้วยความเร็วของจรวด 28,000 กม./ชม. แต่โลกหมุนอยู่ที่ 108,000 กม./ชม. (รอบดวงอาทิตย์) จะเห็นได้ว่าโลกหมุนเร็วกว่าความเร็วที่จรวดทำได้อย่างมาก จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่จรวดจะกลับมายังโลก ณ จุดเดิมได้ แต่ในความจริงจรวดทุกลำที่ปล่อยขึ้นไปสามารถกลับมายังโลกได้อย่างง่ายดายและรวดเร็วมาก

5) ยิ่งไปกว่านั้นเรื่องของดาวเทียม ตำแหน่งของดาวเทียมจะมีระยะห่างที่คงที่กับโลก หากมีการหันผิดเล็กน้อยแค่เมตรเดียวการรับสัญญาณโทรทัศน์ สัญญาณโทรศัพท์ก็น่าจะมีปัญหา โลกหมุนรอบตัวเอง 1,670 กม./ชม. หมุนรอบดวงอาทิตย์ 108,000 กม./ชม. หมุนไปรอบ ๆ กาแลคซี่อีก 220 กม./วินาที ดังนั้นการเคลื่อนที่ด้วยความเร็วขนาดนี้ดาวเทียมจะต้องเปลี่ยนระดับความเร็วอยู่เสมอเพื่อให้รักษาระยะห่างจากโลกให้ได้ แต่ในความจริงดาวเทียมไม่มีแหล่งพลังงานที่จะทำการเร่งหรือลดระดับความเร็วได้ ดังนั้นจึงหมายความว่าโลกนั้นอยู่นิ่งอยู่กับที่

6) ประเด็นที่ว่าโลกมีระดับความเร็วที่ไม่คงที่ จึงทำการถ่ายภาพโลกจากดาวเทียมหรือถ่ายมาจากดวงจันทร์ไม่น่าจะเป็นไปได้ หากโลกหมุนด้วยความเร็วขนาดนั้นภาพต้องออกมาเบลออย่างมาก แต่ในความจริงภาพของโลกที่ถ่ายมาทุกใบมีความคมชัดดี

7) นอกจากนั้นยังมีเรื่องของดาวตกที่ในบางครั้งเราจะเจอดาวตกช่วงเช้าตรู่ หรือตั้งแต่เที่ยงคืนไปจนดวงอาทิตย์ขึ้น และจะมองเห็นอีกครั้งในช่วงดวงอาทิตย์ตกไปจนถึงเที่ยงคืน หากโลกมีการเคลื่อนที่ มีการหมุนจริง เราจะไม่สามารถเห็นดาวตกพวกนี้ ณ ตำแหน่งเดิมได้ ซึ่งก็อธิบายได้ว่าโลกอยู่ตำแหน่งจุดเดิมในอวกาศ

ต้นฉบับบทความ
The Geocentric Model of the Earth: Physics and Astronomy Arguments
โดย Kharroubi Amira น.ศ.ปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัย Sfax University ประเทศตูนีเซีย
http://www.gianfuffo.org/uploads/4/2/6/9/4269865/2016_the_international_journal_of_science___technoledge_flatearth.pdf
-----------------------------------------------------------------------------------------