ทวนกันอีกทีตามข้อมูลของระบบสุริยะ (Heliocentric) บอกไว้ว่าดวงอาทิตย์เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 220 กม.ต่อวินาทีไปในจักรวาล เพราะฉะนั้นทั้งโลกและดวงจันทร์ ดวงดาว ดาวเทียม ฯลฯ ก็ต้องเคลื่อนที่ตามด้วยความเร็วที่เท่ากัน แล้วดวงจันทร์ที่ไม่มีชั้นบรรยากาศ และมีสภาพเป็นสุญญากาศ แล้วด้วยความเร็วขนาดนั้น (220 กม./วินาที เท่ากับ 792,000 กม./ชม.) ทำให้เกิดข้อสงสัยหลายอย่างตามมา
cr: https://th.wikipedia.org/wiki/ดวงอาทิตย์
1) ยาน Lunar Module
คิดว่ายาน Lunar Module ที่มีประสิทธิภาพในการบินแบบนี้จะพานักบินอวกาศกลับมายังโลกได้จริงเหรอ?? นาทีที่ 2.40 เป็นการซ้อมบินที่เกิดอุบัติเหตุหลายครั้ง ดีที่นักบินดีดตัวออกมาก่อนที่ยานจะตกลงพื้น
LLRV Testing Contributed to Apollo 11's Success
ภาพนี้จาก Apollo 17 ตอนที่นักบินอวกาศใช้ยาน Lunar Module ออกตัวจากดวงจันทร์เพื่อบินกลับมายังโลกที่มีสปีดการเคลื่อนที่เร็วขนาดกระพริบตาครั้งเดียวห่างออกไปแล้ว 220 กม.
Apollo 17 Liftoff from Moon - December 14, 1972
คลิปนี้อธิบายถึงเทคโนโลยีสมัยนั้นที่ใช้ควบคุมยาน Lunar Module และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในโครงการอพอลโล แต่ Don Pettit ก็อ้างว่า NASA ได้ทำลายเทคโนโลยีเหล่านี้ไปหมดแล้ว
"Landing on the Moon" Thomas Kelly (GRUMMAN Chief Engineer)
explains how the lunar module works.
https://www.youtube.com/watch?v=16MMZJlp_0Y
ในสมัยนั้นนอกจากจะมียานจำลองเท่าขนาดจริงไว้เพื่อทำการศึกษาแล้วก็ยังมีการสร้างดวงดาวขนาดใหญ่มากไว้ด้วยตามภาพ
2) กระจกสะท้อนแสงบนดวงจันทร์
ในโครงการ Apollo 11 และ Apollo 15 ได้มีการวางอุปกรณ์กระจกสะท้อนแสงไว้บนดวงจันทร์เพื่อเอาไว้วัดระยะทางระหว่างโลกกับดวงจันทร์มีชื่อเรียกว่า Lunar Laser Ranging Experiment
Lunar Laser Ranging Experiment ในโครงการ Apollo 11
อันนี้จากโครงการ Apollo 15
ถ้าดวงจันทร์ไม่มีชั้นบรรยากาศและมีแรงโน้มถ่วง 0.166 เท่าของโลก (น้อยกว่าโลก 6 เท่า) แถมดวงจันทร์ต้องเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 220 กม./วินาที ตามดวงอาทิตย์ไปด้วย แล้วกระจกสะท้อนแสงพวกนี้ที่วางไว้บนดวงจันทร์เมื่อ 50 ปีก่อน ยังอยู่ที่จุดเดิมได้จริงหรือ?? ตามข้อมูลของ Heliocentric ที่บอกว่าแสงจากดวงจันทร์คือแสงที่สะท้อนจากดวงอาทิตย์ แต่ทำไมเราไม่เคยเห็นว่ามีแสงจากดวงอาทิตย์สะท้อนกระจกพวกนี้เลยซักครั้ง ตัวอย่างภาพแสงอาทิตย์สะท้อนกับแผ่น reflector ที่ใช้ในวงการถ่ายภาพ
แสงอาทิตย์สะท้อนกับแผ่น reflector
กล้องถ่ายภาพสมัยนี้สามารถซูมภาพระยะไกลได้ดีมากอย่างเช่นกล้อง Nikon Coolpix P900 ราคาแค่สองหมื่นกว่ายังสามารถซูมดวงจันทร์ได้ใกล้ขนาดนี้ แล้วกล้องดูดาวระดับเทพ ๆ หรือกล้องตามหอดูดาวน่าจะจับภาพแสงสะท้อนของดวงอาทิตย์กับกระจกพวกนี้ได้นะว่าไหม??
Nikon Coolpix P900 ( Test zoom moon)
ใน youtube มีรายการวิทยาศาสตร์หลายรายการที่ถ่ายทำเรื่องการยิงแสงเลเซอร์ไปยังกระจกพวกนี้เพื่อการวัดระยะทางระหว่างโลกและดวงจันทร์ แต่จะไม่มีภาพให้เห็นว่ามีแสงสะท้อนออกมาจริง ๆ มีแต่การรายงานผลแบบตัวเลขหรือเป็นกราฟออกมาเท่านั้น ทั้งที่มีทีมงานดั้นด้นไปถึงหอดูดาวที่มีกล้องดูดาวระดับเทพ ๆ แต่ก็ไม่มีการจับภาพมาให้เห็นกันชัด ๆ ก็แปลกดีเนาะ
Mythbusters Moon Hoax Retroreflectors
Sending a Laser to the Moon - Horizon - Explore BBC
Shoot the Moon, the Apache Point Observatory Lunar Laser-Ranging Operation
3) กรณีจันทรุปราคา
ระบบสุริยะ (Heliocentric) อธิบายการเกิดจันทรุปราคาไว้ว่า "เป็นปรากฏการณ์ที่ดวงจันทร์ผ่านหลังโลก ซึ่งเกิดขึ้นได้เฉพาะเมื่อดวงอาทิตย์ โลกและดวงจันทร์เรียงตรงกันพอดีหรือใกล้เคียงมาก โดยมีโลกอยู่กลาง"
ตามหลักการแปลว่า ดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์ต้องโคจรมาอยู่ในระนาบเดียวกัน และเงาของโลกบังแสงจากดวงอาทิตย์ คนที่อยู่ในฝั่งกลางคืนจึงมองเห็นปรากฏการณ์จันทรุปราคาได้ตามภาพ
แต่ข้อมูลจาก YouTube ช่อง World History Official อธิบายไว้ว่ามีปรากฏการณ์จันทรุปราคาเกิดขึ้น โดยที่คนบนโลกมองเห็นดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์อยู่เหนือเส้นขอบฟ้าพร้อมกัน ดังที่มีการจดสถิติไว้หลายร้อยปีก่อนโดยหอดูดาวกรีนิช วันที่ 17 กรกฎาคม 1590 / วันที่ 3 พฤศจิกายน 1648 / วันที่ 16 มิถุนายน 1666 / วันที่ 26 พฤษภาคม 1668
นอกจากนั้นยังมีการบันทึกจาก McCulluch's Geography ระบุว่า วันที่ 20 กันยายน 1717 และวันที่ 20 เมษายน 1837 เกิดจันทรุปราคาก่อนที่ดวงอาทิตย์จะลับขอบฟ้า หนังสือพิมพ์ The Daily Telegraph ยังเคยลงข่าวว่าเหตุการณ์ในลักษณะเดียวกันเกิดขึ้นในวันที่ 17 มกราคม 1870 และอีกครั้งในเดือนกรกฎาคมในปีเดียวกันและก็ยังเกิดอย่างต่อเนื่องมาเรื่อยจนถึงยุคปัจจุบัน
นอกจากนั้นยังมีการบันทึกจาก McCulluch's Geography ระบุว่า วันที่ 20 กันยายน 1717 และวันที่ 20 เมษายน 1837 เกิดจันทรุปราคาก่อนที่ดวงอาทิตย์จะลับขอบฟ้า หนังสือพิมพ์ The Daily Telegraph ยังเคยลงข่าวว่าเหตุการณ์ในลักษณะเดียวกันเกิดขึ้นในวันที่ 17 มกราคม 1870 และอีกครั้งในเดือนกรกฎาคมในปีเดียวกันและก็ยังเกิดอย่างต่อเนื่องมาเรื่อยจนถึงยุคปัจจุบัน
ตัวอย่างเหตุการณ์จันทรุปราคาที่เกิดขึ้นพร้อมกันกับดวงอาทิตย์อยู่เหนือเส้นขอบฟ้า คลิปที่ 1 เกิดขึ้นวันที่ 27 กันยายน 2015 จันทรุปราคาเกิดก่อนที่ดวอาทิตย์จะตกในรัฐ Arizona ประเทศสหรัฐอเมริกา
FLAT EARTH Day time Lunar eclipse debunks cartoon theory
คลิปที่ 2 เกิดขึ้นวันที่ 10 ธันวาคม 2011 ที่นิวเม็กซิโก ประเทศสหรัฐอเมริกา จันทรุปราคาเกิดขึ้นช่วงเช้าตรู่ขณะที่ดวงอาทิตย์กำลังขึ้น
Lunar Eclipse December 10 2011.mov
-----------------------------------------------------------------------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น