วันจันทร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2562

38) สุริยุปราคาและจันทรุปราคาในโมเดลโลกแบน

การเกิดสุริยุปราคา

คำอธิบายจากเพจโลกแบนฯ เรื่องสุริยุปราคาที่เกิดในสหรัฐอเมริกาวันที่ 21 ส.ค. 2017



ลิงค์เพิ่มเติม

ภาพ simulation ของสุริยุปราคาที่เกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกาในวันที่ 21 ส.ค. 2017 จะเห็นว่าเงาที่เกิดขึ้นบนดวงอาทิตย์มันเคลื่อนจากทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันออก (ขวาไปซ้าย) ซึ่งเหตุผลที่ทางระบบสุริยะอธิบายการเกิดสุริยุปราคาเพราะว่าเกิดจากดวงจันทร์โคจรมาอยู่ระหว่างโลกและดวงอาทิตย์จึงเกิดการบังแสงและเห็นเป็นเงาบนพื้นโลก แต่ในเมื่อดวงจันทร์โคจรจากทิศตะวันออกมาทิศตะวันตกแนวเดียวกันกับดวงอาทิตย์แล้วทำไมเงาที่เกิดจึงสวนทางกัน??

Total Solar Eclipse U.S.A. Aug 21st, 2017 (Simulation) ★★★★★



Total Solar Eclipse 2017 from Carbondale, Illinois, 21 August 2017





THE SCIENTISTS WAS WRONG! SOLAR ECLIPSE THEORY DEBUNKED 100%

อีกเรื่องนึงที่น่าสงสัยการเกิดสุริยุปราคาในโมเดล Heliocentric บอกว่าเกิดจากเงาที่ดวงจันทร์โคจรเข้ามาบังแสงจากดวงอาทิตย์ที่ส่องมายังโลก แต่ทำไมเราไม่เคยเห็นดวงจันทร์ลอยเข้ามาในระหว่างที่เราเฝ้าดูสุริยุปราคาเลยซักครั้ง อย่างอันนี้ถ่ายตอนเกิดสุริยคราสบนเครื่องบินก็ไม่เห็นดวงจันทร์ลอยเข้ามานะ

Total Solar Eclipse 20.03.2015 from plane (timelapse)
https://youtu.be/dxBoVH0GQWw

การเกิดจันทรุปราคา

มีเหตุการณ์จันทรุปราคาที่เกิดในช่วงเวลาเดียวกันกับที่ดวงอาทิตย์อยู่พ้นขอบฟ้า ซึ่งมันมีสิ่งผิดปกติที่ไม่เป็นไปตามหลักการในโมเดลโลกกลม บางครั้งจันทรุปราคาในบางพื้นที่เกิดตอนช่วงที่ดวงอาทิตย์ลอยพ้นเส้นขอบฟ้ามาแล้ว แต่เงาคราสที่เราเห็นมันเกิดขึ้นจากทางด้านบน ซึ่งที่จริงตามโมเดลในภาพด้านล่างนี้เราต้องเห็นคราสที่เกิดจากเงาของโลกที่เข้ามาบังแสงอาทิตย์และเงาต้องมาจากด้านล่าง ตามหลักการคือเราต้องเห็นดวงจันทร์มีเงามืดที่ด้านล่างและด้านบนสว่าง




แต่จันทรุปราคาในคลิปนี้เงาคราสมาจากด้านบน และเกิดตอนที่ดวงอาทิตย์ยังอยู่เหนือเส้นขอบฟ้า เกิดขึ้นวันที่ 10 ธันวาคม 2011 ที่รัฐนิวเม็กซิโก ประเทศสหรัฐอเมริกา

Lunar Eclipse December 10 2011.mov

ซึ่งเป็นเหตุการณ์จันทรุปราคาเกิดตอนการเช้าตรู่ ดวงจันทร์กำลังลอยไปลับขอบฟ้าส่วนดวงอาทิตย์ขึ้นพ้นขอบฟ้ามาแล้วเพราะฟ้าเริ่มสว่างขึ้นเรื่อย ๆ แปลว่าทั้งดวงจันทร์และดวงอาทิตย์อยู่พ้นขอบฟ้าทั้งคู่ ถ้างั้นเงาคราสที่พาดทับบนดวงจันทร์คือเงาของโลกในจังหวะไหน??



มีอีกคลิปนึง การเกิดจันทรุปราคาแบบนี้ภาษาอังกฤษเรียกว่า selenelion (A lunar eclipse occurring as the moon sets, simultaneously with sunrise.) แปลว่า การเกิดจันทรุปราคาในขณะที่ดวงจันทร์กำลังจะตกและดวงอาทิตย์กำลังขึ้น 


Impossible "selenelion" eclipse, Dec 2011


ส่วนคลิปนี้เป็นเหตุการณ์จันทรุปราคาที่เกิดขึ้นพร้อมกันกับดวงอาทิตย์อยู่เหนือเส้นขอบฟ้าเกิดขึ้นวันที่ 27 กันยายน 2015 จันทรุปราคาเกิดช่วงเย็นก่อนที่ดวงอาทิตย์จะตกในรัฐ Arizona ประเทศสหรัฐอเมริกา

FLAT EARTH Day time Lunar eclipse debunks cartoon theory

เงาคราสที่เกิดขึ้นเข้ามาทางด้านข้างของดวงจันทร์


ข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อการพิจารณา

เรายังไม่ได้รับรู้ข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับวัตถุที่โคจรอยู่บนท้องฟ้าหรือที่นักดาราศาสตร์เรียกว่าเทห์ฟ้า (Astronomical object) อย่างเช่นวัตถุ 2 อย่างนี้ที่เรียกว่า ascending node (โหนดขึ้น) โคจรจากทิศใต้ขึ้นไปทางเหนือ และ descending node (โหนดลง) โคจรจากทิศเหนือลงไปใต้ ทั้งสอง node นี้มีอิทธิพลกับความชื้นและอุณหภูมิของโลกแตกต่างกัน 2 ช่วงเวลาคือกลางวันและกลางคืนตามเอกสารทางวิชาการด้านล่าง



ซึ่งก็น่าแปลกที่โมเดล Heliocentric ใช้เครื่องหมายของทั้งสอง node นี้เหมือนกันกับเครื่องหมายของ 'ราหู' และ 'เกตุ' ของโมเดล Geocentric 




และเครื่องหมายนี้ก็ถูกใช้กับเรื่องโหราศาสตร์ด้วยเช่นกัน
ในโมเดล Heliocentric ทั้งสอง node จะโคจรตัดกันแบบนี้















บางตำราจะเรืยกทั้งสอง node นี้ว่า Lunar Node






NASA เองก็มีเอกสารที่ศึกษาข้อมูลของทั้งสอง nodes นี้เยอะอยู่







คลิปนี้เป็นการบรรยายในวิชาฟิสิกส์ของมหาวิทยาลัย Brock University ในประเทศแคนาดาอธิบายว่าทั้งสอง node เกี่ยวข้องกับการเกิดสุริยุปราคาและจันทรุปราคา


ASTR 1P01, CLIP 42: The Line of Nodes; When Eclipses can Occur

ไม่รู้ว่าวิชาฟิสิกส์ดาราศาสตร์ในประเทศไทยสอนเกี่ยวกับทั้งสอง node นี้ไหม แต่เจอตำราเล่มนี้ Secrets of the Tide: Tide and Tidal Current Analysis and Applications, Storm Surges and Sea Level Trends เขียนโดย Prof. John D. Boon จากมหาวิทยาลัย Virginia School of Marine Science ประเทศสหรัฐอเมริกา อธิบายไว้ว่าทั้งสอง node เกี่ยวข้องกับน้ำขึ้น-น้ำลง



ตามข้อมูลทางดาราศาสตร์ดั้งเดิมของไทยเรามีคำว่า 'นพเคราะห์' คือมีเทหวัตถุบนฟ้าอยู่ 9 ชนิด คือ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัส ศุกร์ เสาร์ และอาทิตย์ และ 2 ชนิดนี้เราเรียกว่าราหูและเกตุ ไม่ได้เป็นดาวแต่มีลักษณะเป็นเงาคราสซึ่งทำให้เกิดสุริยุปราคาและจันทรุปราคาในโหราศาสตร์ไทยและในโมเดลโลกแบน ส่วนคำว่า ascending แปลว่าเคลื่อนที่ขึ้น และ descending คือการเคลื่อนที่ลง เมื่อดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ผ่านจุดตัดของทั้งสอง node นี้จึงเกิด "สุริยคราส" และ "จันทคราส"




Flat Earth - The Great American Solar Eclipse August 21, 2017

------------------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น