หลักการทำงานของดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ในโมเดลโลกแบน
Michael Faraday
คำอธิบายเรื่องการโคจรของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ของโมเดลโลกแบนใช้องค์ความรู้เรื่องสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (electromagnetic field) ของไมเคิล ฟาราเดย์ (Michael Faraday) ด้วยหลักการ Faraday Rotation หรือ Faraday Effect ในคลิปนี้มีการทดลอง 2 ชิ้นที่อธิบายระบบการทำงานของดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ด้วยหลักการสนามแม่เหล็กไฟฟ้า อันแรกเป็นของฟาราเดย์ที่ Royal Institution ในกรุงลอนดอน ในนาทีที่ 9.28 และอันที่สองนาทีที่ 14.44
FERC - Sun & Moon on Electromagnetic Field ("Faraday effect" or "Faraday rotation")
https://www.youtube.com/watch?v=f5HN1vmKp64
https://www.youtube.com/watch?v=f5HN1vmKp64
ประเด็นที่น่าสนใจในการทดลองนี้คือความสอดคล้องกับข้อมูลที่บอกว่าแสงจากดวงจันทร์มีคุณสมบัติต่างกันกับแสงจากดวงอาทิตย์ วิธีการทดสอบอย่างง่าย ๆ ด้วยการวัดอุณหภูมิบริเวณที่อยู่ใต้แสงจันทร์กับบริเวณที่ไม่ได้อยู่ใต้แสงจันทร์
Moonlight Temperature Test
James Clerk Maxwell
ทฤษฎีของฟาราเดย์สามารถอธิบายได้ด้วยสมการของ James Clerk Maxwell (Maxwell's equations) คลิปนี้อธิบายว่าจากสมการของ Maxwell นี้เองทำให้เกิดองค์ความรู้เรื่องคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งกลายมาเป็นเทคโนโลยีการส่งสัญญาณแบบไร้สายในยุคปัจจุบัน (นาทีที่ 0.48)
Maxwell's Equations: Crash Course Physics #37
https://www.youtube.com/watch?v=K40lNL3KsJ4
ไมเคิล ฟาราเดย์ และเจมส์ แมกซ์เวลล์ได้มีการพูดคุยกันผ่านจดหมาย เอกสารด้านล่างคือจดหมายที่ฟาราเดย์เขียนถึงแมกซ์เวลล์เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 1857 จากหนังสือ “Life and Letters of Faraday” โดย Henry Bence Jones (1870)
Nikola Tesla
ต่อมา Nikola Tesla ใช้หลักการสนามแม่เหล็กไฟฟ้านี้ในการสร้างสิ่งประดิษฐ์ของเขา สิ่งประดิษฐ์ของเทสลาส่วนใหญ่เกี่ยวกับการส่งสัญญาณด้วยคลื่น รวมทั้งการส่งพลังงานแบบไร้สาย ที่ซิลิคอนวัลเลย์มีรูปปั้นเทสลายืนถือหลอดไฟทรงกลมอยู่เพื่อเป็นการรำลึกถึงเขาในฐานะนักประดิษฐ์ที่มีความฝันในการส่งพลังงานแบบไร้สายให้กับทุกคนบนโลก
ภาพซ้ายคือภาพถ่ายของเทสลาในการทดลองส่งกระแสไฟฟ้าไปยังหลอดไฟแบบไร้สาย
ภาพขวาคือภาพของมาร์ค ทเวน ที่เป็นเพื่อนกับเทสลาและมักมาที่ห้องทดลองของเขาเป็นประจำ
ภาพถ่ายของเทสลาที่ Colorado Springs Laboratory (1899-1900)
ภาพถ่ายของเทสลาที่ Colorado Springs Laboratory (1899-1900)
เทสลาเป็นนักประดิษฐ์ที่มีชื่อเสียงมากในยุคต้นศตวรรษที่ 20 เขาเป็นทั้งนักวิทยาศาสตร์ นักฟิสิกส์ วิศวรกรเครื่องกล วิศวกรไฟฟ้า ฯลฯ เขาเป็นเจ้าของสิทธิบัตรเกือบ 300 รายการจาก 26 ประเทศ มีทั้งในสหรัฐอเมริกา (111 ฉบับ) อังกฤษ (29 ฉบับ) และแคนาดา (7 ฉบับ) แต่สิทธิบัตรจำนวนหนึ่งของเทสลาได้หายไปจากห้องหลังจากที่เขาเสียชีวิต (บางแหล่งข้อมูลบอกว่าเทสลาเป็นเจ้าของสิทธิบัตรกว่า 700 ชิ้นงาน) เอกสารของเทสลาบางส่วนสามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์ของ FBI https://vault.fbi.gov/nikola-tesla
ประวัติชีวิตและการทำงานของเทสลาจาก www.teslabook.fw.hu/nikola%20tesla_2015_en.htm#a34
ประวัติศาสตร์การส่งพลังงานแบบไร้สาย
- ปี 1893 นิโคลา เทสลาเป็นนักประดิษฐ์คนแรกที่สามารถส่งพลังงานแบบไร้สายได้จากการสาธิตการส่งกระแสไฟฟ้าไปยังหลอดไฟในการบรรยายที่เมืองชิคาโก
- ต่อมาปี 1894 เทสลาทำให้หลอดไฟขั้วเดียวส่องสว่างได้ใน NYC โดยวิธีการเหนี่ยวนำไฟฟ้ากระแสสลับ (electrodynamic induction)
- ในปี 1896 เทสลาส่งสัญญาณวิทยุได้ไกลถึง 48 กม./30 ไมล์
- ต่อมาปี 1897 กูลเยลโม มาร์โกนี วิศวกรไฟฟ้าชาวอิตาลี ส่งรหัสมอร์สผ่านคลื่นสัญญาณคลื่นวิทยุได้ในระยะทาง 6 กม./4 ไมล์
- ต่อมาปี 1898 ไฮน์ริช เฮิรตซ์ นักฟิสิกส์ชาวเยอรมันยืนยันการมีอยู่จริงของรังสีแม่เหล็กไฟฟ้า
- ในปี 1901 กูลเยลโม มาร์โกนี ส่งสัญญาณข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกได้โดยใช้อุปกรณ์ที่เทสลาประดิษฐ์ และถูกฟ้องเพราะละเมิดสิทธิบัตรของเทสลา สุดท้ายเทสลาเป็นผู้ชนะคดีในปี 1943 แต่เทสลาเสียชีวิตไปก่อนแล้วเมื่อ 7 มกราคม 1943
นิโคลา เทสลา อัจฉริยะตัวจริง
หลักการทำงานของสิ่งประดิษฐ์ของเทสลาใช้ Aether (อีเทอร์) เป็นตัวกลาง (medium) ของการแผ่รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (อีเทอร์ถูกตั้งชื่อตามเทพีแห่งอากาศตามความเชื่อโบราณของชาวกรีก) สิ่งประดิษฐ์ของเทสลามีตั้งแต่รีโมทคอนโทรล ไฟนีออน คลื่นไมโครเวฟ การถ่ายภาพ x-ray โดรน ไปจนถึงอาวุธสงคราม ผลงานที่มีชื่อเสียงที่สุดของเขาคือการสร้างระบบการส่งไฟฟ้ากระแสสลับ (Alternating Current - AC) โดยเขาคิดและออกแบบอุปกรณ์ทุกชิ้นในการสร้างระบบนี้และเป็นเจ้าของสิทธิบัตรทั้งหมดกว่า 40 ชิ้นงาน
เทสลาได้รับเชิญให้ไปบรรยายให้กับ French Physical Society
และ International Society of Electricians ที่ประเทศฝรั่งเศส
เทสลากับการทดลองด้านวิทยาศาสตร์ที่กรุงเบอร์ลิน
เทสลาทดลองการใช้รีโมทบังคับเรือของเล่นปี 1898 ที่ Madison Square Gardens
ตัวอย่างการส่งพลังงานไฟฟ้าแบบไร้สายโดยใช้เทสลาคอยล์ (Tesla Coil)
TESLA EXPERIMENT - Energy from the ether
มีสิ่งประดิษฐ์ของเทสลาชิ้นนึงชื่อว่า Plasma ball ใช้หลักการทำงานเหมือนกับดวงอาทิตย์
Explaining the Sun with a Plasma Ball
https://www.youtube.com/watch?v=jN9yLJyXTVs
เทสลาเคยเขียนหลักการทำงานของดวงอาทิตย์ไว้ในนิตยสาร The Century Magazine เดือนมิถุนายน 1900 หน้า 175 - 211 ซึ่งเขาได้ทำการทดลองและให้ความเห็นไว้ว่าทุกคนบนโลกสามารถได้รับประโยชน์จากการใช้พลังงานธรรมชาตินี้ได้ฟรี (อ่านบทความได้จากลิงค์นี้ https://teslauniverse.com/nikola-tesla/articles/problem-increasing-human-energy)
SUN MOON & TESLA'S THOUGHTS
ด้านล่างคือโมเดลที่อธิบายหลักการทำงานของดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ในโมเดลโลกแบน
โดยใช้องค์ความรู้ของนิโคลา เทสลา
Flat Earth: Tides & The Electromagnetic Energy of the Sun & Moon (Part 2)
หากใครสนใจประวัติของนิโคลา เทสลาสามารถดูได้จากคลิปนี้
สารคดีนิโคลา เทสลา กระแสไฟฟ้าไร้สาย (พากย์ไทย)
ในประเทศไทยมีหนังสือประวัติเทสลาตีพิมพ์เพียงเล่มเดียวโดยสำนักพิมพ์มติชน
"นิโคลา เทสลา อัจฉริยะนักฝันผู้เดียวดาย"
"นิโคลา เทสลา อัจฉริยะนักฝันผู้เดียวดาย"
(Prodigal Genius, The life of Nikola Tesla) ผู้เขียน: John J. O'Neill (จอห์น เจ โอนีล) /
ผู้แปล: ยุทธนา ตันติรุ่งโรจน์ชัย / สำนักพิมพ์: มติชน / จำนวน 376 หน้า
ผู้แปล: ยุทธนา ตันติรุ่งโรจน์ชัย / สำนักพิมพ์: มติชน / จำนวน 376 หน้า
ใครที่ชอบด้านวิทยาศาสตร์แนะนำให้อ่านหนังสือเล่มนี้เลยเขียนดีมาก ๆ
คุณูปการที่เทสลาสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ไว้ให้กับโลกมนุษย์นั้นมีมากมาย แต่มันก็น่าสงสัยว่าทำไมเราไม่เคยได้ยินชื่อของเขาเลย ในทางตรงกันข้ามเรากลับถูกสอนให้รู้จักกับโทมัส อัลวา เอดิสัน
เอดิสันเป็นนักธุรกิจที่มีอิทธิพลมากและเป็นคู่อริกับเทสลาโดยตรง
พวกเขาขัดแย้งกันทางด้านธุรกิจอย่างมากจนเรียกว่าเป็น The Current War (สงครามกระแสไฟ)
ยังจำภาพนี้ได้ไหมจากบทความ 1984 (2 + 2 = 5)
ข้อมูลทุกอย่างสามารถถูกควบคุม ถูกเซ็นเซอร์ ถูกบิดเบือน ถูกดัดแปลงได้ทั้งสิ้น
"ข้อมูลคืออำนาจ ซึ่งก็เหมือนอำนาจทุกอย่างนั่นแหละ มีคนที่ต้องการเก็บมันไว้เพื่อตัวเองเสมอ"
- แอรอน สวอตซ์ (1986-2013)
----------------------------------------------------------------------------------------------