วันจันทร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561

29) แผนที่โลกแบนของ Alexander Gleason ปี 1893

มีลูกเพจอยู่คนนึงมักจะคอมเม้นท์บ่อย ๆ ว่าโลกแบนไม่มีแผนที่ ทั้งที่แอดก็เคยรวบรวมแผนที่โลกแบนมาให้ดูแล้วตามลิงค์นี้ 
1) แหล่งข้อมูล หนังสือ เอกสาร และแผนที่เกี่ยวกับทฤษฎีโลกแบน Old Books, Documents, and Maps of Flat Earth  https://flatearthmatters.blogspot.com/2018/01/5-old-books-documents-and-maps-of-flat.html
2) ความรู้ด้านดาราศาสตร์และแผนที่โลกแบนในยุคเริ่มต้น https://flatearthmatters.blogspot.com/2018/07/20.html
3) แผนที่โลกแบนกับลูกโลก https://flatearthmatters.blogspot.com/2018/07/blog-post.html

แผนที่โลกแบนมีลักษณะเดียวกันกับแผนที่แบบ Azimuthal Equidistant (AE) หรืออีกชื่อนึงคือ North pole projection และเหมือนกับแผนที่ที่ใช้ด้านการบิน (Air Age Map) และในวงการวิทยุสื่อสารเรียกว่า HAM map

สำหรับแผนที่ชิ้นที่น่าสนใจมากที่สุดสำหรับเรื่องโลกแบนคือแผนที่ชิ้นนี้ "New Standard Map Of The World" จัดทำโดย Alexander Gleason ตั้งแต่เมื่อปี 1893 โดยอธิบายว่าเป็น Time-chart เอาไว้ใช้คำนวณเพื่อบอกเวลาได้ทุกประเทศทั่วโลก 

7.30 MB (4,773 x 6,794 pixels)
GLEASON’S NEW STANDARD MAP OF THE WORLD ON THE PROJECTION OF 
J. S. CHRISTOPHER, MODERN COLLEGE, BLACKHEATH, ENGLAND
SCIENTIFICALLY AND PRACTICALLY CORRECT AS “IT IS”



สิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้ได้รับการจดสิทธิบัตรในหลายประเทศ สำหรับในสหรัฐอเมริกาได้รับสิทธิบัตรหมายเลข 497,917 เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 1893 ตามรายละเอียดในเอกสารนี้ 




คลิปนี้อธิบายวิธีการใช้ time chart นี้ในการคำนวณเวลาของแต่ละประเทศ

Using Gleason Map to Tell Time (Flat Earth)


นอกจากนั้น Mr. Gleason ยังได้เขียนหนังสือประกอบไว้ด้วยชื่อหนังสือคือ Is the Bible from Heaven? Is the Earth A globe? สามารถอ่านและดาวน์โหลดได้จากลิงค์นี้ https://archive.org/details/alex_gleason-is_the_bible_from_heaven__is_the_earth_a_globe.o_201611/page/n15





หนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกอธิบายเกี่ยวกับโลกและปรากฎการณ์ต่าง ๆ บนโลกโดยอ้างอิงข้อมูลตามที่ปรากฎอยู่ในไบเบิล ส่วนที่สองคือการการทดลองเพื่อพิสูจน์ว่าโลกกลมจริงหรือไม่อย่างเช่น การคำนวณความโค้งของโลก การคำนวณระยะห่างของดวงอาทิตย์กับโลก การสำรวจแอนตาร์คติกา ข้อจำกัดของการมองเห็นและจุด vanishing point ฯลฯ หนังสือมีทั้งหมด 433 หน้า แบ่งเป็น 20 บท ตามรายละเอียดในสารบัญดังนี้ 



การคำนวณเวลาของ time chart ของ Gleason ใช้ระบบการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์แบบ Geocentric บนโลกที่มีลักษณะแบนราบ ซึ่งก็ตรงกับระบบกลไกของนาฬิกาดาราศาสตร์โบราณของกรุงปราก ในสาธารณรัฐเช็ก ที่ถูกสร้างไว้ตั้งแต่ปี 1410 

Astronomical Clock - Old Town Square, Prague

ลองเอาแผนที่แบบ AE เทียบกับ timezone ของแต่ละประเทศ



การแบ่ง timezone บนแผนที่สี่เหลี่ยมที่เรามักจะเห็นกันจนชินตา
 
โมเดลโลกแบนมีลักษณะเป็นวงกลม แอนตาร์กติกาเป็นภูเขาน้ำแข็งที่อยู่ล้อมรอบแผ่นดินและน้ำอีกที แต่สำหรับโลกกลมแอนตาร์กติกาคือทวีปที่อยู่ทางทิศใต้ของโลกอย่างในภาพด้านล่างคือ timezone ของแอนตาร์กติกาซึ่งคำอธิบายจากวิกิพีเดียบอกว่าการแบ่งส่วน timezone ของที่นี่แบ่งตามประเทศที่จัดหาเสบียงส่งมาให้


ซึ่งก็น่าแปลกเพราะเป็นที่เดียวบนโลกที่ไม่ได้แบ่ง timezone ตามเวลาจริงที่เกิดตามธรรมชาติ แต่แบ่งตามประเทศผู้ที่รับผิดชอบดูแลการส่งเสบียงเข้ามาให้ในพื้นที่ อืมม... แปลกดี


--------------------------------------------------------------

ด้านล่างคือแผนที่โลกแบนแบบอื่น ๆ เผื่อใครสนใจเอาไปปริ้นท์เพื่อการศึกษาเพิ่มเติม










กลุ่มนี้ไฟล์ค่อนข้างเล็ก ปริ้นท์ขนาดใหญ่อาจจะไม่ชัด









----------------------------------------------------------