วันพฤหัสบดีที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2562

48) ตำราทางดาราศาสตร์ในระบบจักรวาลแบบ Geocentric ของ Ptolemy

Claudius Ptolemy เขียนตำราระบบจักรวาลแบบ Geocentric (โลกเป็นศูนย์กลาง) ไว้ทั้งหมด 13 เล่ม พร้อมทั้งอธิบายการโคจรของดาวและบอกสูตรและตัวเลขเพื่อใช้ในการคำนวณด้วย และยังมีอีก 1 เล่มที่เขียนไว้เพื่อใช้ในการพยากรณ์ ความรู้ด้านดาราศาสตร์ของชาวกรีกโบราณได้รับการสืบทอดต่อกันมาตั้งแต่ยุคอียิปต์โบราณ โดยมีหลักฐานจากภาพปูนปั้นนูนต่ำ 12 ราศี ที่วิหาร Dendera ซึ่งถูกสร้างตั้งแต่ 4,500 ปีก่อน (กรีกกับอียิปต์อยู่ห่างกันแค่ 1,500 กม.)

ภาพจากกระทู้ในพันทิป อ่านเพิ่มเติมได้จากลิงค์ด้านล่าง 
https://pantip.com/topic/37225476 (หลักฐานกลุ่มดาว 12 ราศี และสัญลักษณ์จากยุคอียิปต์โบราณ)


Temple of Hathor - Dendera Egypt


ตำราของ Ptolemy ได้รับความนิยมมากในหมู่นักดาราศาสตร์เลยมีการนำมาแปลเป็นภาษาต่าง ๆ ดังนั้นหนังสือที่เขียนเกี่ยวกับระบบจักรวาลแบบ Geocentric ก็ถูกพัฒนามาเรื่อย อย่างเล่มนี้ถูกแปลเป็นภาษาอารบิกเขียนขึ้นในประเทศสเปนตั้งแต่ปี 1381 

University of Pennsylvania Library's LJS 268 - Ptolemy's Almagest (Video Orientation)
https://youtu.be/c4aVqLpYoPk


สามารถดาวน์โหลดเอกสารสแกนมาดูได้จากลิงค์นี้ http://openn.library.upenn.edu/Data/0001/html/ljs268.html


เล่มนี้เขียนตั้งแต่ปี 1481 มีการทำไดอะแกรมแบบขยับได้ประกอบกับคำอธิบายโดยละเอียด

University of Pennsylvania Library's Ms Codex 1881 - Astronomical treatises and tables
เล่มนี้มีตารางสถิติการเกิดสุริยุปราคาและจันทรุปราคาพร้อมภาพประกอบเขียนขึ้นในปี 1500 

University of Pennsylvania Library's LJS 300 - Calendarium and ephemerides (Video Orientation)
https://youtu.be/yucPKby5B_Y



สามารถดาวน์โหลดเอกสารสแกนมาดูได้จากลิงค์นี้
http://dla.library.upenn.edu/dla/medren/pageturn.html?id=MEDREN_9949184223503681&rotation=0&currentpage=24


Copernicus มีตำราให้ศึกษาเพียบ อย่างเล่มนี้ถูกแปลเป็นภาษาอารบิกเขียนขึ้นไปช่วงต้นปี 1500

University of Pennsylvania Library's LJS 392 - Taḥrīr al-majisti (Video Orientation)
https://youtu.be/-_FEhx58xmw


สามารถดาวน์โหลดเอกสารสแกนมาดูได้จากลิงค์นี้
http://dla.library.upenn.edu/dla/medren/pageturn.html?id=MEDREN_9950804433503681&currentpage=19&rotation=0&size=4


เล่มนี้สวยมากตีพิมพ์ปี 1540 ตรงไดอะแกรมที่หมุนได้นี่มันเจ๋งมาก (เล่มนี้คือตัว copy ทำเลียนแบบต้นฉบับอีกที) 

Astronomicum Caesareum

สามารถดาวน์โหลดเอกสารสแกนมาดูได้จากลิงค์นี้ 


ส่วนเล่มนี้เป็นภาษาละตินอยู่ในห้องสมุดของ Royal Astronomical Society ที่ประเทศอังกฤษ ถ้าสังเกตให้ดีตำรารุ่นเก่า ๆ ที่เป็นภาษาอารบิกจะไม่มีภาพโลกกลมเลย มีแต่ไดอะแกรมและมีการวาดภาพประกอบเป็นเส้นทางโคจรของดวงดาวบนแผ่นที่มีลักษณะกลม แต่สำหรับเล่มนี้ตีพิมพ์ในปี 1515 เริ่มมีการวาดภาพโลกกลมให้เห็น

The Almagest - Objectivity #124


ส่วนเล่มนี้คือตำราของ Copernicus ที่ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี 1543

$2 million banned book by Copernicus


ส่วนตำราดาราศาสตร์ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 มีไว้ในครอบครองคือเอกสารที่ชื่อว่า Outlines of Astronomy เขียนโดย Sir John F.W. Herschel เป็นนักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษ ในหนังสือเล่มนี้เขียนบรรยายทั้งระบบจักรวาลแบบ Geocentric และ Heliocentric ควบคู่กัน หากสนใจศึกษาต่อสามารถดาวน์โหลดมาอ่านได้ฟรีจากลิงค์ด้านล่างนี้ 



ภาพจากบทความ 18 สิงหาคม 2411: เกิดสุริยุปราคาเต็มดวง, รัชกาลที่ 4 ทรงคำนวณล่วงหน้าได้อย่างแม่นยำ
https://www.silpa-mag.com/this-day-in-history/article_1610


แม้ว่าปัจจุบันเราจะเชื่อว่าโลกเป็นส่วนหนึ่งของระบบสุริยะ โลกเป็นดาวเคราะห์ดวงหนึ่งที่เป็นบริวารของดวงอาทิตย์ และดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะ ซึ่งจะเห็นได้ชัดว่าระบบดาราศาสตร์ทั้งสองแบบนี้ไม่มีอะไรที่เหมือนกันเลยซักอย่าง ระบบโลกเป็นศูนย์กลาง (Geocentric) คือโลกอยู่นิ่งกับที่ ไม่หมุน ไม่เคลื่อนที่ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาวโคจรรอบโลก ส่วนโลกกลมในระบบสุริยะมีการเคลื่อนที่ 3 แบบ คือ 

1) หมุนรอบตัวเองด้วยความเร็ว 1,650 กม./ชม. 

2) โคจรรอบดวงอาทิตย์ด้วยความเร็ว 108,000 กม./ชม. 

3) พุ่งตามดวงอาทิตย์ด้วยความเร็วมากกว่า 200 กม./วินาที (คำนวณแล้วประมาณแปดแสนกิโลต่อชั่วโมง) 



The helical model - our solar system is a vortex

แต่ทำไมเรายังคงใช้องค์ความรู้เรื่องการดูดาว วิธีคำนวณการเคลื่อนที่ของดวงดาว และอุปกรณ์ที่ใช้ในการดูดาวที่พัฒนามาจากระบบโลกเป็นศูนย์กลางบนโลกที่มีลักษณะแผ่นดินแบนราบเรียบ ไม่มีความโค้งได้อยู่เหมือนเดิม??

William A. Eisenhauer, Van Wert อยู่ที่รัฐ Ohio ได้จดสิทธิบัตรเครื่องมือที่เรียกว่า UNIVERSAL PLANISPHERE COMPLETE GUIDANCE AND COMPUTER SYSTEM (หมายเลข 3,858,334 ลงวันที่ Jan. 7, 1975) สามารถใช้คำนวณการดูดาวและใช้บอกตำแหน่งต่าง ๆ บนโลกได้ จะเห็นว่า planisphere ที่ Eisenhauer ออกแบบไว้นั้นใช้กับโลกที่มีลักษณะแบนและมีขั้วโลกเหนืออยู่ตรงกลาง อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้จากลิงค์ด้านล่าง




นอกจากนั้นในตำรา Almagest ของ Claudius Ptolemy ได้ทำนายการเกิดสุริยุปราคาไว้ล่วงหน้ากว่าสองพันปี ปรากฎว่าคำทำนายเหล่านั้นก็เกิดขึ้นจริงและถูกต้องด้วย ทั้งที่ระบบดาราศาสตร์เปลี่ยนไปจากเดิมแล้วอย่างสิ้นเชิง 

มีงานวิชาการอยู่ชิ้นนึงของ Jayant Shah ตีพิมพ์ในวารสาร Annals of Mathematical Sciences and Applications Volume 3, Number 1, 7–29, 2018 ได้ตรวจสอบความถูกต้องของการคำนวณเกี่ยวกับการเกิดสุริยุปราคาจากตำราโบราณ 3 ชิ้น คือตำรา Almagest ของ Ptolemy ตำรา Shoushihli ของจีน และ Tantrasangraha ของอินเดีย จากการทดสอบทางสถิติก็พบว่าการคำนวณของ Ptolemy มีความถูกต้องมากที่สุด พบข้อผิดพลาดเพียงแค่ 3%



-----------------------------------------------------------------------------