วันพฤหัสบดีที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2562

35) องค์ความรู้ในการสร้างกำแพงเมืองเชียงใหม่บนพื้นฐานความรู้เรื่องโลกแบน โดย รศ. สมัย ยอดอินทร์

คลิปนี้อธิบายวิธีการสร้างกำแพงเมืองเชียงใหม่เมื่อปีพ.ศ.1839 (723 ปีก่อน) โดยใช้องค์ความรู้การสร้างจากการวัดเงาของดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นองค์ความรู้ของชาวตะวันออกที่พัฒนามาจากพื้นฐานความรู้เรื่องโลกแบน คลิปนี้ทำเป็นการ์ตูนแอนิเมชั่นนำเสนอโดย ดร. อติชาต เกตตะพันธุ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาคณิตศาสตร์ ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อใช้ประกอบเนื้อหาที่ รศ. สมัย ยอดอินทร์ ได้ทำการศึกษาค้นคว้าและเขียนบทความไว้ชื่อเรื่อง "เสาหลักเมืองเชียงใหม่ แทนทฤษฎีพิธากอรัสได้อย่างไร"

รศ. สมัย ยอดอินทร์ เคยเป็นอาจารย์สอนอยู่ที่ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ท่านจบปริญญาโทด้านคณิตศาสตร์ (MS. Mathematics) ท่านยังเขียนบทความอีกหนึ่งชิ้นคือ "มรดกอันล้ำค่าจากลานเสาแก่นจันทร์" สามารถดาวน์โหลดได้จากลิงค์นี้


คณิตศาสตร์กับการสร้างกำแพงเมืองเชียงใหม่


การอธิบายสดการสร้างกำแพงเมืองเชียงใหม่ โดย ดร. อติชาต เกตตะพันธุ์


บทความเรื่อง "เสาหลักเมืองเชียงใหม่ แทนทฤษฎีพิธากอรัสได้อย่างไร" 
โดย รองศาสตราจารย์ สมัย ยอดอินทร์














รองศาสตราจารย์ สมัย ยอดอินทร์ กำลังพูดคุยกับเยาวชนผู้นำแห่งนาริท เกี่ยวกับดาราศาสตร์กับวิถีชีวิตและอารยธรรมไทย ณ วัดเจ็ดยอด จังหวัดเชียงใหม่


ชั่วโมงฟ้า..เวลาดาว NYL พบ รศ. สมัย ยอดอินทร์ (พิเศษ)

เนื้อหาจากในคลิปน่าสนใจอาจารย์เล่าให้ฟังหลายเรื่อง เช่น

"ศาสนสถานทุกแห่งเป็นเครื่องมือวิทยาศาสตร์หมดถ้าเราดูดี ๆ ประเพณีทุกแห่งเป็นพิธีกรรมทางวิทยาศาสตร์... แต่เราไม่เข้าใจ"

"ยาสมุนไพรที่สเปนไปยึดเม็กซิโก ไปยึดเปรู มันเผาหลายสิ่งหลายอย่าง ตำรายาที่ดี 90% เหลืออยู่ 10% เท่านั้น"

"ที่เปรู ฝรั่งมันก็อ่าน เผอิญเปรูมันอยู่เส้นรุ้ง ประมาณประเทศไทยแต่อยู่ทางใต้ มันมีมุม มันไปบากเขาไว้ เป็น 4 เป็น 23 เป็น 11 แล้วก็ตรง... ฝรั่งบอกว่าอันนี้เอาไว้วัดเคลื่อนไปหนึ่งวันทำปฏิทิน แต่มันมีบ่อ มันบอกไว้ตรวจความกดอากาศ ที่จริงไม่ใช่ บ่อมันเหมือนสระอโนดาตของเรา เป็นชั้น ๆ สระอโนดาตในเชียงใหม่ถมหมดเลย ที่จริงสระอโนดาตคือพระอาทิตย์ นึกออกไหม.. ตอนที่พระอาทิตย์ตรง เงามันจะมีครบหมดทุกขั้นบันได แล้วถ้าเราไปยืนในขั้นบันไดของสระอโนดาตตอนเที่ยง บางครั้งเราไม่เห็นพระอาทิตย์ ในบางครั้งเราเห็นพระอาทิตย์ นั่นคือตัวบอกฤดูกาลที่แม่นยำอีกอันนึง"

นอกจากนั้นท่านยังทำงานวิจัยเชิงคุณภาพเกี่ยวกับข้อขัดแย้ง เรื่องการเป็นไหรือไม่เป็นปีอธิกามาสของปฏิทินจันทรคติไทย ปี พ.ศ. 2555 มีรูปภาพของสารบัญและบางส่วนของภาคผนวกที่เพจนี้ได้โพสไว้
https://www.facebook.com/pg/ยุคสมัยและพัฒนาการปฏิทินไท-ไทย-829319750480631/photos/?tab=album&album_id=911921745553764

















-----------------------------------------------------




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น