วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

26) ความรู้เรื่องจักรวาลของชาวสยามในอดีต

บันทึกจดหมายเหตุ ลา ลูแบร์ฉบับนี้มีการกล่าวถึงองค์ความรู้เกี่ยวกับจักรวาลของชาวสยามในอดีต อยู่ในเอกสารหน้า 201 - 202 ซึ่งความเชื่อเรื่องพิภพนี้มีพื้นฐานมาจากเรื่องจักรวาลตามเอกสารไตรภูมิพระร่วง และก็น่าแปลกที่แนวความคิดนี้สอดคล้องกับความเชื่อเรื่องโลกและจักรวาลในวัฒนธรรมอื่น ๆ

จุดประสงค์ของบทความชิ้นนี้ต้องการบันทึกไว้เป็นข้อมูล ว่าความเชื่อเรื่องจักรวาลแต่ดั้งเดิมของชาวไทยก็ไม่แตกต่างจากอารยธรรมโบราณในยุคสมัยอื่น ไม่ได้ต้องการจะบ่งชี้ว่าเป็นข้อเท็จจริงแต่อย่างใด

มองซิเออร์ เดอ ลา ลูแบร์ (Simon de la Loubere) เป็นเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ออกเดินทางจากท่าเรือเมืองเบรสต์ ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 1 มีนาคม ค.ศ. 1687 เรือมาถึงกรุงศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 27 กันยายน ปีเดียวกัน รวมเวลาเดินทางขามา 211 วัน เขาพำนักอยู่ในเมืองไทย 3 เดือน 6 วัน เพื่อถวายพระราชสาสน์ของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ต่อสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แล้วออกจากกรุงศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 3 มกราคม ค.ศ. 1688 มาถึงท่าเรือเมืองเบรสต์ เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม ปีเดียวกัน รวมเวลาเดินทางขากลับ 206 วัน (จากเอกสาร บทวิจารณ์หนังสือ: จดหมายเหตุ ลา ลูแบร์ ราชอาณาจักรสยาม




จดหมายเหตุ ลา ลูแบร์ ราชอาณาจักรสยาม
เขียนโดย : มองซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์
แปลโดย : สันต์ ท. โกมลบุตร





หน้า ๒๐๑ - ๒๐๒


๘. ชาวสยามรู้สึกอย่างไรในเรื่องระบบพิภพ
ความรู้ความชำนาญของชาวสยามที่เกี่ยวกับวิชาดาราศาสตร์นั้น อาจสรุปลงได้ภายในไม่กี่คำ อนึ่งชาวสยามไม่ประสาเลยกับระบบของพิภพอันถูกต้อง ค่าที่ไม่รู้สาเหตุนั่นเองว่ามีมาอย่างไร เขาจึงมีความเชื่อโดยทำนองเดียวกับชาวตะวันออกทั่วไปว่า สุริยุปราคาและจันทรุปราคานั้นเป็นด้วยฤทธิ์เดชของนาคราชกลืนดวงตะวัน และดวงเดือนเข้าไป (ลางทีคำพูดทำนองนี้อาจเป็นข้ออุปมาของพวกนักดาราศาสตร์ก็ได้ ว่าอุปราคานั้นปรากฏทางหัวหรือทางหางของพญานาค) (๑๐๓) และเขาทำเสียงดังอึกทึกคึกโครมด้วยการตีเตาเหล็กและหม้อเหล็กระเบ็งเซ็งแซ่ เพื่อให้สัตว์ร้ายตื่นกลัวและขับไล่ไปเสีย และเพื่อช่วยให้ดาวพระเคราะห์นั้นพ้นภัยไปด้วย ชาวสยามเชื่อว่าพิภพของเรานั้น เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสและกว้างใหญ่ไพศาลมากและโค้งเพดานฟ้านั้นจรดสี่มุมโลก คล้าย ๆ กับ....
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
(๑๐๓) หลุดไปสว่างทางหัวก็เป็น "คาย" ถ้าหลุดออกทางหางก็เป็น "ขี้" ดังที่ผู้เฒ่าผู้แก่ของเราว่ากัน แต่ประหลาดที่กลายเป็นพญานาคไปได้ แทนที่จะเป็นราหู




ครอบแก้วที่เราใช้ครอบต้นไม้ในสวนของเราฉะนั้น เขายืนยันว่าพิภพของเรานี้แบ่งออกเป็นสี่ภาค (ทวีป ซึ่งมีผู้คนอาศัย มีทะเลคั่นแบ่งเขตออกเป็น ๔ โลกต่างหากจากกัน และสันนิษฐานว่าท่ามกลางทวีปทั้ง ๔ นี้มีมหาบรรพตเป็นรูปปรางค์ตั้งอยู่ทั้ง ๔ ด้านเท่ากัน เรียกว่า เขาพระสุเมรุ (Caou pra Soumene) เขา แปลว่า ภูเขาและปีน (montagne & monter) และตั้งแต่พื้นพิภพหรือพื้นทะเลขึ้นไปถึงยอดบรรพตนั้นระฟ้าถึงดาว กล่าวกันว่ามีความสูงถึง ๘๔,๐๐๐ โยชน์ (Jods) โยชน์นึงยาวประมาณ ๘,๐๐๐ วา อนึ่งหลังจากพื้นทะเลลึกลงไปถึงพื้นรากเขาพระสุเมรุก็มีความลึกเท่า ๆ กับความสูง และจากฟ้าเขาพระสุเมรุทั้ง ๔ ด้านที่ข้าพเจ้ากล่าวถึงแล้ว ก็มีความกว้างด้านละ ๘๔,๐๐๐ โยชน์เหมือนกัน อันพิภพที่เราชาวสยามเรียกว่า ชมพู (Tchiampion) ซึ่งเขากล่าวว่าตั้งอยู่ทางทิศทักษิณของเขาพระสุเมรุนั้น ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดวงดาวทั้งหลายหมุนรอบพิภพนี้มิหยุดหย่อน จึงเป็นกลางวันและกลางคืน เหนือยอดเขาพระสุเมรุเป็นสวรรค์ชั้นฟ้าซึ่งชาวสยามเรียกว่าอินทราธิราช (Intratiracha) และเหนือขึ้นไปอีกก็เป็นสวรรค์ของพวกเทวดา ตัวอย่างที่ยกมานี้แลเป็นทั้งหมดที่ข้าพเจ้าสืบทราบมาจากชาวสยาม ก็พอจะอนุมานได้ว่าชาวสยามมีความรู้ในเรื่องพิภพหยาบเพียงไร และถ้าที่ข้าพเจ้าเขียนมานี้ไม่ครงกับที่มีผู้เขียนถึงเรีองนี้มาแต่ก่อนแล้ว ก็มิพึงจะเว้นชมเชยความคิดต่างแตกแหวกแนวของชาวสยาม เกี่ยวกับเรื่องที่เขาไม่เข้าใจ ว่าผิดแผกกับระบบดาราศาสตร์ของเราซึ่งพวกเราเชื่อกันว่าเราเข้าใจดีแล้วนั้นเลย

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ข้อมูลเพิ่มเติมจากวิกิพีเดีย
โยชน์ เป็นหน่วยวัดความยาวของไทย มีระยะเท่ากับ 400 เส้น แต่เนื่องจาก 1 เส้นถูกกำหนดให้เท่ากับ 40 เมตรโดย พระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัด พระพุทธศักราช ๒๔๖๖ ดังนั้นความยาว 1 โยชน์จึงมีระยะเทียบเท่ากับ 16,000 เมตร หรือ 16 กิโลเมตร


บทความที่เกี่ยวข้อง
1) ความรู้ด้านดาราศาสตร์และแผนที่โลกแบนในยุคเริ่มต้น https://flatearthmatters.blogspot.com/2018/07/20.html
2) แผนที่โลกแบนกับลูกโลก https://flatearthmatters.blogspot.com/2018/07/blog-post.html
3) บทวิจารณ์หนังสือ: จดหมายเหตุ ลา ลูแบร์ ราชอาณาจักรสยาม
https://mekongjournal.kku.ac.th/Vol07/Issue02/11.pdf

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น