ยุคเริ่มต้นดาราศาสตร์
ตามประวัติศาสตร์แล้วยุคเริ่มต้นของการศึกษาเรื่องดวงดาวบนท้องฟ้าเกิดจากจุดเดียวกัน โดยมีหลักฐานมาตั้งแต่ยุคสุเมเรียน (ประมาณ 3,500 ปีก่อนคริสตกาล) มีที่ตั้งถิ่นฐานที่เมืองบาบิโลนอยู่ปากแม่น้ำไทกรีส-ยูเฟรทีส อย่างที่ทราบกันดีชาวสุเมเรียนเป็นชนชาติที่มีอารยธรรมสูง มีระบบการปกครองแบบนครรัฐ มีการทำชลประทาน มีความสามารถทางการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ มีการคิดค้นการใช้ตัวเลข ชาวสุเมเรียนนิยมใช้เลขฐาน 60 ซึ่งเป็นหลักการของการนับเวลามาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนั้นยังเป็นพื้นฐานของการแบ่งวงกลมให้เป็น 360 องศา (ก็คือ 6 x 60) (1)ชาวสุเมเรียนยังประติษฐ์ตัวอักษรที่เรียกว่าคูนิฟอร์ม (cuneiform) โดยใช้ปลายไม้กดให้เป็นรอยในแผ่นดินเหนียว พวกเขามีระบบการชั่ง ตวง วัด และพบว่าพวกเขาได้สร้างสรรค์วรรณกรรมขึ้นมาเป็นเรื่องแรกของโลกคือเรื่องมหากาพย์กิลกาเมซ (Gilgamesh epic) ที่เขียนบนแผ่นดินเผาขนาดใหญ่ 12 แผ่น ทั้งหมดเป็นจำนวน 3,000 บรรทัด (1)
Writing Cuneiform
องค์ความรู้ด้านดาราศาสตร์ในปัจจุบันมีรากฐานมาจากบันทึกการสังเกตดวงดาวของชาวบาบิโลเนียน เนื่องจากมีการค้นพบแผ่นตัวอักษรคูนิฟอร์มที่มีบันทึกเกี่ยวกับดวงดาวมาตั้งแต่ยุคก่อนบาบิโลน (เรียกว่ายุค Neo-Assyrian) และในช่วง 750 - 600 ปีก่อนคริตศักราชจนถึงปีค.ศ. 75 มีการค้นพบแผ่นบันทึกเหล่านี้มากกว่า 4,000 ชิ้นจากเมืองบาบิโลน และอีกหลายร้อยชิ้นจากเมืองอื่น ๆ (3)
แผ่นบันทึกเหตุการณ์สุริยุปราคาเต็มดวงเมื่อวันที่ 15 เม.ย. 136 ปีก่อนคริสตกาล
แผนที่โลกแบน
นอกจากนั้นยังมีนักโบราณคดีชาวอิรักชื่อว่า Hormuzd Rassam ค้นพบแผ่นดินเหนียวของชาวสุเมเรียนที่ระบุได้ว่าเป็นแผนที่โลกที่มีลักษณะแบน ซึ่งน่าจะถูกทำขึ้นมาในช่วงปลายอารยธรรมบาบิโลเนียน (ประมาณ 600-500 ปีก่อนคริสตกาล) โดยมีแผ่นดินบาบิโลนอยู่ตรงกลางแล้วมีมหาสมุทรล้อมรอบเป็นวงกลม นอกจากนั้นยังมีส่วนที่เป็นดาว 7 แฉกระบุว่าเป็นเกาะแต่ก็ไม่มีใครรู้จัก (4)
The Map of the World ของอารยธรรมบาบิโลเนียถูกเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์ The British Museum
นอกจากนั้นในอารยธรรมอื่น ๆ ก็มีการค้นพบแผนที่ของโลกที่มีลักษณะแบนจากหลายแหล่ง เช่น
และก็น่าแปลกใจที่อารยธรรมในหลาย ๆ ยุคบรรยายรูปร่างสัณฐานของโลกออกมาคล้าย ๆ กัน
และข้อมูลเหล่านี้ก็ตกทอดมาเป็นความเชื่อของคนในแต่ละยุคสมัยผ่านศาสนาของแต่ละชาติ แต่มีอยู่อารยธรรมเดียวที่ต่างกับคนอื่น คืออารยธรรม NASA ในยุคปัจจุบันนี่แหละ ยกตัวอย่างคำอธิบายของลักษณะของโลกตามข้อมูลในคัมภีร์ไบเบิล หลัก ๆ คือโลกมีลักษณะแบนเหมือนแผ่นดิสก์ (disc) ไม่ขยับ ไม่เคลื่อนที่ แต่ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์เคลื่อนที่ มีโดมครอบอยู่ (หรือเรียกว่า firmament) ดวงจันทร์มีแสงในตัวเอง ฯลฯ (ฉบับ King James ระบุว่ามีการกล่าวถึงลักษณะของโลกไว้ประมาณ 240 แห่ง)
ส่วนของประเทศไทยเราตามความเขื่อดั้งเดิมคือมาจากวรรณกรรมไตรภูมิพระร่วงของพระมหาธรรมราชาที่ 1 กษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย ที่พระองค์พระราชนิพนธ์ไว้เมื่อปีพ.ศ. 1864 เป็นการรวบรวมเนื้อหามาจากคัมภีร์ต่าง ๆ ของศาสนาพุทธ โดยแบ่งโลกออกเป็น 3 ส่วน คือ กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ (5) ในเอกสารกาลานุกรม พระพุทธศาสนาในอารยธรรมโลกของท่าน ป.อ.ปยุตฺโต ได้บรรยายไว้ว่า พระมหาธรรมราชาลิไท (ลือไท) นั้น
"เป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่ทรงผนวชและทรงพระราชนิพนธ์ไตรภูมิพระร่วง (เรียกเป็นคำบาลี ว่า “เตภูมิกถา”, บรรยายการเว้นชั่ว ทำดี ให้เจริญสูงขึ้น ไปในไตรภูมิ จนในที่สุดพ้นจากการว่ายเวียนเปลี่ยนแปลง ในไตรภูมินั้น" (2)
แม้ว่าในเรื่องไตรภูมิพระร่วงจะมีการบรรยายเกี่ยวกับลักษณะของโลกไว้ไม่มากเท่ากับในคัมภีร์ไบเบิลแต่ข้อมูลหลักก็คล้ายกันคือ โลกเป็นแผ่นดินลอยอยู่ในน้ำ มีน้ำล้อมรอบและมีดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ลอยอยู่ในอากาศ ด้านบนมีเขาจักรวาลครอบไว้อีกที และประเด็นสำคัญคือข้อมูลในไตรภูมิพระร่วงสอนวิธีให้มนุษย์หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดในโลกแห่งนี้ ซึ่งเป็นความเชื่อที่พุทธศาสนิกชนยึดถือปฏิบัติกันมาตลอด
อ้างอิง
1) http://civilizationwe.blogspot.com/2012/07/blog-post.html2) กาลานุกรม พระพุทธศาสนาในอารยธรรมโลก
4) http://www.myoldmaps.com/maps-from-antiquity-6200-bc/title-babylonian-world-map/103babylonian-world-map.pdf
You must be a Christian with all this knowledge as it is all discerned from one book. From Babylon to Egypt and proliferating into all cultures and civilizations the Greeks the Romans. Jesus can only be Lord indeed
ตอบลบ