(ย่อหน้าแรก)
25 ก.ค. 2012 - เป็นเวลาหลายปีที่ผู้เชี่ยวชาญไม่สามารถเห็นพ้องต้องกันได้ว่าฟลูออไรด์ในน้ำดื่มจะเป็นพิษต่อการพัฒนาการสมองของมนุษย์ เรารู้กันว่าระดับฟลูออไรด์ที่สูงมากเป็นพิษต่อระบบประสาทในผู้ใหญ่ และมีผลกระทบในทางลบในด้านความจำและการเรียนรู้ในการศึกษาด้วยหนูทดลอง แต่มีงานวิจัยน้อยมากเกี่ยวกับสารนี้ในผลกระทบต่อพัฒนาการของสมองในเด็ก ในงานวิจัยแบบ meta-analysis (การวิเคราะห์ทางสถิติด้วยวิธีเชิงปริมาณ) โดยนักวิจัยจากวิทยาลัยสาธารณสุขฮาวาร์ด (Harvard School of Public Health) และมหาวิทยาลัยการแพทย์จีน ในเมือง Shenyang ได้ทำการศึกษางานวิจัยทั้งหมด 27 ชิ้น ซึ่งพบข้อบ่งชี้อย่างชัดเจนว่าฟลูออไรด์อาจมีผลต่อพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก จากการค้นพบนี้ ผู้เขียนได้กล่าวว่าความเสี่ยงนี้ไม่ควรถูกละเลยเพิกเฉย และควรมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลกระทบของฟลูออไรด์ต่อพัฒนาการทางสมองให้มากขึ้น
งานวิจัยชิ้นนี้ได้รับการตีพิมพ์ออนไลน์ใน Environmental Health Perspectives เมื่อวันที่ 20 ก.ค. 2012 งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการศึกษาแบบทบทวนวรรณกรรม (หมายถึงเอาผลลัพธ์ของงานวิจัยอื่น ๆ มาวิเคราะห์รวมกัน ไม่ได้ลงไปเก็บข้อมูลด้วยตัวเอง) และไม่เคยมีการศึกษาวิจัยการใช้ฟลูออไรด์กับมนุษยด้วยวิธีแบบนี้มาก่อนในสหรัฐอเมริกา
ผู้วิจัยได้ทำการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวกับเด็กที่ได้รับฟลูออไรด์จากน้ำดื่มในประเทศจีนด้วยการวัดระดับ IQ กับเด็กนักเรียนจีนมากกว่า 8,000 คน และจากงานวิจัยทั้งหมด (ยกเว้น 1 ชิ้น) ที่บ่งชี้ว่าระดับความเข้มข้นของฟลูออไรด์ในน้ำมีผลกระทบในทางลบต่อการพัฒนาสติปัญญาของเด็ก
ในรายงานได้เปิดเผยค่าเฉลี่ยของการสูญเสีย IQ ที่เป็นค่าระดับมาตรฐานอยู่ที่ 0.45 ซึ่งจะเทียบเท่ากับระดับคะแนน IQ ประมาณ 7 คะแนนสำหรับการค่าคะแนน IQ ที่ใช้โดยทั่วไปโดยมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 15 ในงานวิจัยบางชิ้นยังระบุว่าการที่เด็กได้รับฟลูออไรด์เพิ่มขึ้นเพียงนิดเดียวก็อาจเป็นพิษต่อสมองได้ แต่อย่างไรก็ตามกลุ่มเด็กที่อยู่ในพื้นที่ที่มีระดับความเข้มข้นของฟลูออไรด์สูงมีค่าคะแนน IQ น้อยกว่าเมื่อเทียบกับกลุ่มเด็กที่อยู่ในพื้นที่ที่มีระดับความเข้มข้นของฟลูออไรด์ต่ำกว่าอย่างมีนัยยะสำคัญ กลุ่มเด็กที่เป็นกลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยนี้มีอายุจนถึง 14 ปี แต่ผู้วิจัยก็มีข้อสงสัยว่าผลกระทบของสารพิษต่อพัฒนาการทางสมองน่าจะเกิดขึ้นมาก่อนหน้านั้นแล้ว และส่งผลทำให้สมองไม่สามารถฟื้นฟูกลับมาเป็นปกติได้อย่างเต็มที่จากการได้รับพิษดังกล่าว
"ฟลูออไรด์ดูเหมือนจะเป็นตัวดูดซึมสารปรอทและสารพิษอื่น ๆ ที่เป็นพิษต่อสารเคมีในสมอง" Grandjean กล่าว "ผลกระทบของสารพิษแต่ละชนิดอาจจะดูเล็กน้อย แต่ระดับความเสียหายในระดับประชากรนั้นร้ายแรง โดยเฉพาะกลุ่มประชากรที่เป็นพลังสมองของคนรุ่นใหม่ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญของเราทุกคน"
ผู้วิจัย
- Philippe Grandjean ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านสุขภาพสิ่งแวดล้อม จากวิทยาลัยสาธารณสุขฮาวาร์ด
- Anna Choi, นักวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ สาขาอนามัยสิ่งแวดล้อม จากวิทยาลัยสาธารณสุขฮาวาร์ด
-----------------------------------------------------------------
บทความภาษาไทยเกี่ยวกับงานวิจัยของฟลูออไรด์กับผลกระทบด้านสมอง ในนิตยสาร Way Magazine
----------------------------------------------
Mercury Thimerosal in Vaccines Congressional Hearing with CDC
ข้อมูลในรายละเอียดของคลิปเขียนไว้ว่า
มีงานศึกษาเพียงชิ้นเดียวในปี 1929 โดยบริษัท Eli Lilly and Company ซึ่งเป็นผู้ถือสิทธิบัตร Thimerosal (สารปรอท) พวกเขาทำการทดสอบสารปรอทกับผู้ป่วย 22 รายที่มีอาการไขสันหลังอักเสบ และผู้ป่วยทั้ง 22 รายทั้งหมดเสียชีวิต ข้อมูลจาก PubMed - ศูนย์ข้อมูลเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ, 2548
--------------------------------------
คลิปผลกระทบร้ายแรงจากการปล่อยสารพิษปรอทลงอ่าวโดยโรงงานอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นในจังหวัดมินามาตะ ประเทศญี่ปุ่น เผยแพร่คลิปโดย สถาบันการแพทย์ช่องปากและพิษวิทยานานาชาติ
The devastating effects of mercury poisoning that occurred in Minamata Japan
https://youtu.be/MSKdkssJ6I0
https://youtu.be/MSKdkssJ6I0
----------------------------------------
ฝรั่งมักจะโพสคลิปนี้เพื่อชี้ให้เห็นว่าเมื่ออลูมินัมเจอกับสารปรอทมันมีปฎิกริยาที่น่ากลัวมาก และไม่ปลอดภัยกับร่างกายแน่นอน ซึ่งแอดก็ไปค้นคว้าเพิ่มเติมก็พอจะเข้าใจว่าฟลูออไรด์มีความสามารถในการนำพาสารปรอทไปสู่สมองได้ (อย่างที่ Philippe Grandjean กล่าวไว้ในบทความด้านบน) และ Amalgam ที่เป็นวัสดุอุดฟันสีเงินที่ทันตแพทย์ใช้ก็คืออลูมินัม+สารปรอทอย่างที่ในคลิปนี้อธิบาย
Aluminum and Mercury
-------------------------------------------------
"The Facts About Amalgam, Mercury and Fluoride" [Holistic Dentist Brisbane]
(นาทีที่ 7.05)
ในการทำฟันเรายังใช้และสอนเด็กรุ่นใหม่ให้ใช้ Amalgam (หมายถึงวัสดุอุดฟัน) ถึงแม้เราจะรู้ว่าจริง ๆ แล้วมันมีสารปรอทและสารปรอทมันสามารถรั่วไหลออกจากที่อุดฟันเข้าไปในร่างกาย เราต่างก็รู้ว่าสารปรอทเป็นพิษและมีพิษสูงมาก มันเป็นโลหะหนักที่ไม่ปลอดภัยสำหรับร่างกาย แล้วทำไมพวกเราทันตแพทย์ถึงต้องใช้มันล่ะ ทำไมเราถึงบอกว่ามันปลอดภัยกับคนไข้ของเรา และสาเหตุที่เรายังใช้มันอยู่เพราะเราหลอกตัวเองด้วยการเรียกมันว่า silver fillings (วัสดุอุดฟันสีเงิน) แล้วทำไมเราไม่เรียกมันตามที่มันเป็นก็คือ Mercury fillings (วัสดุอุดฟันสารปรอท)
(นาทีที่ 14.06)
คุณหมอพูดถึง American Dental Association ที่เป็นสมาชิกใน CDC (Centers for Disease Control หน่วยงานป้องกันโรคติดต่อในสหรัฐอเมริกา) เกี่ยวกับด้านทันตกรรมอยู่ 35 คน บอกว่าพวกเขามีทางออกสำหรับการป้องกันฟันผุด้วยการเติมสาร Silicon Fluoride ลงในน้ำประปา ซึ่งจริง ๆ แล้วมันไม่ได้มีผลอะไรกับสุขภาพในช่องปากเลย และมันทำลายสารเคลือบฟัน และทำให้ฟันเป็นดวง ๆ ที่เรียกว่า fluorosis ในความเห็นของหมอบอกว่าโปรแกรมนี้มันหลอกลวง มันเป็นโปรเจ็คที่ได้รับทุนสนับสนุนประจำปีให้กับบริษัทผลิตน้ำโดยที่พวกเขาถูกบอกว่ามันเป็นทางเดียวที่จะป้องกันฟันผุได้ แต่ฉันขอบอกอีกครั้งนึงว่าสิ่งที่เราถูกสอนกันมามันผิด แต่คุณหมอต่างก็กลัวที่จะทำอะไรที่แตกต่างไปจากเดิม (ก่อนหน้านี้นาทีที่ 13.20 คุณหมอพูดเกี่ยวกับวิทยาลัยทันตกรรม แห่งมหาวิทยาลัยนิวยอร์ค บอกว่าทางสาขาพยายามที่จะเลิกสอนการใช้วัสดุสารปรอทในการอุดฟัน แต่ก็โดน American Dental Association ขู่ว่าจะถอดถอนใบรับรองหากพวกเขาเลิกสอนให้ใช้สารปรอทอุดฟัน)
------------------------------------------------
เมื่อเร็ว ๆ นี้ในต่างประเทศมีข่าวว่าพบสารโลหะหนักในอาหารเด็ก จากการศึกษาอาหารตัวอย่าง 68 รายการ พบว่ามีสารตะกั่ว สารหนู แคดเมียม และสารปรอท ซึ่งมีผลทำให้การพัฒนาสมองของเด็กเสียหาย
https://youtu.be/RRtneD3u6fo
อาหารเด็กจากแหล่งผลิตใหญ่ ๆ 68 รายการได้ถูกนำมาตรวจสอบและพบว่า 95% มีสารตะกั่ว 73% มีสารหนู 75% มีแคดเมียม และ 32% มีสารปรอท ซึ่งมีผลต่อพัฒนาการด้านสมองของเด็ก
--------------------------------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น