วันจันทร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2561

7) เหตุการณ์โศกนาฎกรรมชาเลนเจอร์เมื่อปี 1986 ของจริงหรือของปลอม?? (Challenger Disaster 1986)

เหตุการณ์โศกนาฎกรรมชาเลนเจอร์เมื่อปี 1986 ของจริงหรือของปลอม??
(Challenger Disaster 1986)

เมื่อเช้าวันอังคารที่ 28 มกราคม ปี 1986 สหรัฐอเมริกาปล่อยกระสวยอวกาศชาเลนเจอร์โดยมีนักบินอวกาศขึ้นไปปฏิบัติภารกิจด้วย 7 คน


เรียงจากซ้ายไปขวาของแถวด้านหน้า
1) Michael J. Smith 2) Dick Scobee 3) Ronald McNair

เรียงจากซ้ายไปขวาของแถวด้านหลัง
4) Ellison Onizuka 5) Christa McAuliffe 6) Gregory Jarvis 7) Judith Resnik

สำหรับภารกิจนี้เป็นการปฏิบัติงานครั้งที่ 10 ของกระสวยอวกาศชาเลนเจอร์และเป็นครั้งสุดท้าย นอกจากนั้นภารกิจนี้มีความพิเศษมาก 2 เรื่องคือ 1) เป็นครั้งแรกที่มีพลเรือนจากโครงการ Teacher in Space เข้าร่วมเป็นลูกเรือด้วย 2) เป็นภารกิจที่มีนักบินอวกาศหญิงคนที่ 2 ของ NASA เข้าร่วมด้วย

1) โครงการ Teacher in Space เปิดตัวโดยประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน ในปี 1984 โดยให้คุณครูที่สนใจโครงการนี้ส่งใบสมัครมาเพื่อเข้าร้บการคัดเลือก มีคนส่งใบสมัครมามากกว่า 40,000 ราย แต่มีที่เข้าเกณฑ์แค่ 11,000 ราย ต่อมาให้คุณครูที่ผ่านการคัดเลือก 114 คน มาสัมมนาร่วมกัน 1 อาทิตย์ และรอบสุดท้ายให้คนที่ผ่านรอบ 10 คน มาทดสอบร่างกายและประกาศผล 2 คน ในเดือนกรกฎาคม 1985 การปฏิบัติภารกิจนี้คือจะให้ขึ้นไปสอนบทเรียนด้านวิทยาศาสตร์ในอวกาศแล้วถ่ายทอดสดลงมาให้เด็ก ๆ ดู โดยผู้ที่ได้รับการคัดเลือกคือ Christa McAuliffe และ Barbara Morgan (เป็นสำรอง)


โครงการ Teacher in Space



โลโก้โครงการ Teacher in Space Project

เข้าไปดูบรรยากาศการสัมมนาได้จาก blog นี้ เป็นโครงการที่รัฐบาลลงทุนมากและถือว่าประสบความสำเร็จมาก เพราะได้รับความสนใจจากกลุ่มเป้าหมายคือคุณครูและเด็กนักเรียนอย่างต่อเนื่องยาวนาน



ระหว่างที่รอวันปล่อยตัวชาเลนเจอร์ Christa McAuliffe และ Barbara Morgan ต้องผ่านการฝึกทางร่างกายและเตรียมบทเรียนที่จะต้องสอน และมีการสาธิตการใช้ชีวิตในอวกาศออกข่าวให้ประชาชนติดตามอยู่เรื่อย ๆ

WBZ-TV Evening Magazine featuring Christa McAluffe interview (January 17, 1986)

2) ความพิเศษที่สองคือเป็นภารกิจที่มีนักบินอวกาศหญิงคนที่สองของ NASA เข้าร่วมด้วยคือ Judith Resnik จบการศึกษาปริญญาเอกด้านวิศวกรรมไฟฟ้า อายุ 36 ปี เธอเป็นวิศวกรของ NASA อยู่แล้ว และได้รับความสนใจมากเพราะเป็นนักบินอวกาศหญิงที่เคยขึ้นไปอวกาศมาแล้วกับ Space Shuttle Discovery เมื่อ 30 สิงหาคม 1984 เธอมักจะได้ออกสื่ออยู่เป็นประจำ คลิปวิดีโอด้านล่างคือภาพจากตอนที่เธอปฏิบัติภารกิจบนยาน Discovery


**ข้อสังเกต**
1) ผมของ Judith ดูจะแข็ง ๆ และฟูฟ่องตลอดเวลา
2) เวลาถ่ายตรงหน้าต่างแล้วมองมาเห็นโลก โลกหมุนน้อยมาก อย่าลืมว่าตามทฤษฎีโลกกลมคือโลกต้องหมุนรอบตัวเอง 0.45 กม./วินาที หมุนรอบดวงอาทิตย์ 30 กม./วินาที หมุนไปรอบ ๆ กาแลคซี่อีก 220 กม./วินาที



ต่อไปจะเข้าประเด็นละนะ


ภารกิจ Space Shuttle Disaster นี้เป็นการปล่อยกระสวยอวกาศที่ได้รับความสนใจอย่างมากด้วยข้อมูลที่เล่าให้ฟัง ทีนี้วันปล่อยตัวก็เลยมีสื่อให้ความสนใจมาก ผู้คนก็คอยชมทางโทรทัศน์กันทั่วโลก และที่ฐานปล่อยก็มีเหล่าญาติพี่น้องครอบครัวของนักบินมาร่วมงานพร้อมถ่ายทอดสดด้วย และแน่นอนโรงเรียนทุกแห่งในอเมริกาก็ต้องให้เด็ก ๆ ดู เพราะมีพลเรือนคนแรกได้ขึ้นไปท่องอวกาศ ช่างน่าตื่นเต้นจริง ๆ แต่ปรากฏว่าเมื่อกระสวยถูกปล่อยและทยานขึ้นสู่
ท้องฟ้าไปแค่ 73 วินาที ยานระเบิดและแตกออกเป็นเสี่ยง ๆ และค่อย ๆ ร่วงหล่นลงสู่ทะเลต่อหน้าต่อตาทุกคนแล้วข่าวก็ออกมาว่านักบินอวกาศทุกคนเสียชีวิตหมดคลิปการถ่ายทอดสดครั้งนั้น

ต่อมาประธานธิบดีเรแกนก็ออกมาแถลงข่าว



ทุก ๆ ปีจะมีการจัดงานเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์โศกนาฎกรรมครั้งนี้

Remembering Christa Mcauliffe

เมื่อปี 2012 โรงเรียน Concord ที่ Christa เคยสอนก็ทำพิธีเปิดโรงเรียนประถมแห่งใหม่ใช้ชื่อ Christa McAuliffe School โดยสามีของเธอ ต่อมาก็มีหลายโรงเรียนที่เปิดใหม่ตามชื่อของเธอในอีกหลายรัฐ เช่น Florida, Colorado และ California


โรงเรียนเก่าของ Judith มีการจัดกิจกรรมให้เด็ก ๆ ได้ระลึกถึงวีรสตรีหญิงคนนี้ เมื่อปี 2016 ก็เพิ่งจัดงานครบรอบ 30 ปี



Judy Resnik - Remembering a Hero

หนังสือพิมพ์ลงข่าวความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของประเทศ


แต่!!!!


เมื่อไม่นานมานี้มีหลายเว็บไซต์ออกมาให้ข้อมูลว่านักบินอวกาศทั้งหมดจากภารกิจ Challenger ยังไม่ตาย มีหลักฐานว่ามี 6 คนยังมีชีวิตอยู่ดี มีหน้าที่การงานดีและยังใช้ชื่อเดิมด้วย


หืมมมมมม!!!!!



มาดูหลักฐานกันว่ามันเรื่องจริงหรือเปล่า --- กรุณาอ่านตอนสองต่อด้วยนะ http://flatearthmatters.blogspot.com/2018/01/8-1986-2.html


------------------------- ต่อตอนสองนะ มันยาวมากไปละ -----------------------
ตอนที่ 2 http://flatearthmatters.blogspot.com/2018/01/8-1986-2.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น