ถ้าสนใจเรื่อง map projection แนะนำให้อ่านเอกสารชิ้นนี้ Map Projections - A Working Manual (U.S. Geological Survey Professional Paper 1395 โดย John D. Snyper (https://pubs.usgs.gov/pp/1395/report.pdf)
เป็นคู่มืออธิบายการทำ map projection ของอเมริกาที่ตีพิมพ์ตั้งแต่ปี 1987 เท่าที่ค้นมางาน map projection สมัยใหม่ก็ยังอ้างเอกสารชิ้นนี้อยู่ เนื้อหามีข้อมูลมีรายละเอียดดีมาก ถึงแม้จะไม่ได้พูดตรง ๆ ว่าโลกแบน แต่ก็บอกเป็นนัย ๆ อยู่หลายจุด
อันดับแรกก่อนเลยดูหน้าปก ชัดเจนมากว่าใช้แผนที่แบบ Azimuthal แล้วมีรูปประกอบอีกสองอัน
ภาพนี้น่าสนใจตรงเส้น contour line เป็นเส้นที่บอกความสูงของพื้นที่ ที่วัดจากระดับน้ำทะเล
จะเห็นว่าความสูงไม่ได้ต่างกันมาก
แล้วตรงกากบาทตรงกลางแผ่นดินอเมริกานั่นน่าจะเป็นรัฐ Kansas ที่ถูกขนานนามว่า "This state is flat as a pancake." Kansas เป็นรัฐที่มีพื้นที่ใหญ่มากถึง 213,100 ตร.กม. เคยเขียนบทความเกี่ยวกับงานวิจัย 2 ชิ้นที่วัดความแบนราบของ Kansas ไว้ 1) Kansas Is Fatter Than a Pancake และ 2) The Flatness of U.S. States รายละเอียดอยู่ในลิงค์
ดูความราบเรียบของ Kansas จากมุมสูง
Flat Earth kansas City landing video
อันนี้อยู่ในหน้าที่ 3 ลักษณะการเขียนไม่ได้บอกตรง ๆ แต่ก็พอเข้าใจได้ และในประโยคสุดท้ายบอกว่า "ลูกโลกจะดูไม่เหมาะสม (ประหลาด/อิหลักอิเหลือ) เมื่อเอามาใช้ในงานทั่ว ๆ ไป ไม้บรรทัดไม่สามารถเอามาใช้วัดระยะทางได้อย่างน่าพอใจ"
การทำแผนที่แบบ Azimuthal Equidistant (AE) ใช้วิธีการวัดพื้นที่ตามจุดต่าง ๆ บนโลกที่ทำมุมกับดวงดาวบนฟ้า ซึ่งก็เป็นวิธีเดียวกับที่ จีโอวานนี โดเมนิโก แคสสินี (Giovanni Domenico Cassini) ทำแผนที่โลกขนาดใหญ่ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 7.80 เมตร อยู่บนพื้นชั้น 3 ของหอดูดาวในกรุงปารีส ที่ใช้เวลาสร้างนานถึง 3 ชั่วอายุคน (https://flatearthmatters.blogspot.com/2018/07/blog-post.html)
หน้าที่ 4 มีคำว่า 'equidistant' ซึ่งเป็นคำผสมมาจากสองคำคือ equal แปลว่าเท่ากัน บวกกับคำว่า distant แปลว่าระยะทาง รวมกันหมายถึงเป็นแผนที่ที่ถอดแบบมาโดยมีระยะทางเท่ากับระยะทางจริง ก็เลยเป็นแผนที่สำหรับวัดระยะทางการบิน และมีคนให้ข้อมูลเพิ่มว่าแผนที่สำหรับนักเล่นวิทยุก็ใช้แบบนี้เหมือนกันเรียกว่า HAM map
ส่วนคำว่า azimuthal มาจากการวัดมุมโดยใช้การดูดาวบนท้องฟ้าและสัมพันธ์จุดที่ยืนอยู่บนพื้นโลก คำว่า azimuth ในภาษาไทยใช้คำว่ามุมกวาด
การทำแผนที่แบบ Azimuthal Equidistant (AE) ใช้วิธีการวัดพื้นที่ตามจุดต่าง ๆ บนโลกที่ทำมุมกับดวงดาวบนฟ้า ซึ่งก็เป็นวิธีเดียวกับที่ จีโอวานนี โดเมนิโก แคสสินี (Giovanni Domenico Cassini) ทำแผนที่โลกขนาดใหญ่ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 7.80 เมตร อยู่บนพื้นชั้น 3 ของหอดูดาวในกรุงปารีส ที่ใช้เวลาสร้างนานถึง 3 ชั่วอายุคน (https://flatearthmatters.blogspot.com/2018/07/blog-post.html)
แผนที่่ที่แคสสินีทำไว้ชื่อว่า Planisphere ซึ่งก็ถูกพัฒนามาเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ดูดาวที่เป็นแผ่นกระดาษทรงกลมมีช่องเลื่อนไปมาได้ด้านบน หรือเรียกว่า sky map
Planisphere ของรัชการที่ 4
อันนี้คือเอา Planisphere มาวางบนแผนที่โลกแบน
Planishpere Over The Flat Earth
วิธีการวัดมุมของดวงดาวบนฟ้าทีี่ทำมุมกับพื้นโลกใช้อุปกรณ์หลายชนิดร่วมกับการใช้กล้องส่องทางไกล เช่น
cross-staff
back-staff
sextant ที่ถูกนำเข้ามาในประเทศไทยในรัชการที่ 4
ดูจากอุปกรณ์และวิธีการใช้เป็นการวัดมุมของดวงดาวทำมุมระนาบกับพื้นโลก ซึ่งอุปกรณ์พวกนี้ก็น่าจะถูกประดิษฐ์ขึ้นมาบนข้อสันนิษฐานว่าโลกแบนตามความเชื่อของคนสมัยก่อน ด้านล่างคือคำอธิบายอุปกรณ์ที่ใช้ดูดาวที่เรียกว่า astrolabe ร่วมกับแผนที่โลกแบน
Astrolabe proves Flat Earth
ลักษณะการทำ map projections มี 3 แบบคือ แบบทรงกระบอก แบบกรวย และแบบพื้นเรียบ (ไม่มีทรงกลมแบบลูกโลกนะ) หมายเหตุคำว่า developable มีคำอธิบายอยู่ด้านล่างบอกว่า "A developable surface is one that can be transformed to a plane without distortion" แปลว่า "พื้นผิวที่จะนำมาพัฒนาต่อได้เป็นพื้นผิวที่สามารถเปลี่ยนให้เป็นระนาบได้โดยไม่ผิดเพี้ยน"
หน้าที่ 6 มีภาพร่างของ map projections แบบต่าง ๆ ให้ดู จะมีอยู่ 2 แบบที่มีวงเล็บคำว่า plane (แบนราบ) ไว้คือแบบ Polar Azimuthal และแบบ Oblique Azimuthal
ยังมีข้อมูลที่น่าสนใจอีกเยอะ ตอนนี้เอาเท่านี้ก่อน ใครสนใจลองอ่านดูแล้วเอาข้อมูลมาแชร์กัน
----------------------------------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น