วันพุธที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2561

13) งานวิจัยจัดอันดับความราบเรียบของรัฐต่าง ๆ ในสหรัฐอเมริกา (The Flatness of U.S. States)

13) ลองดูการศึกษาทางภูมิศาสตร์ที่ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่กันบ้างว่าโลกแบนจริงหรือเปล่า

เวลานักท่องเที่ยวขับรถผ่านรัฐ Kansas มักจะพูดถึงรัฐนี้อย่างตลก ๆ ว่า "This state is as flat as a pancake." (รัฐนี้แบนราบยังกับแพนเค้ก) Kansas เป็นรัฐที่มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าอยู่เกือบใจกลางของประเทศสหรัฐอเมริกา มีพื้นที่ 213,100 ตร.กม. (กว้าง 660 กม. ยาว 343 กม.) ซึ่งใหญ่เป็นลำดับที่ 15 ของประเทศ (1)

รัฐ Kansas

Kansas มีลักษณะภูมิประเทศตั้งอยู่บนที่ราบผืนใหญ่ใจกลางอเมริกาและคนมักจะคิดว่ารัฐนี้เป็นรัฐที่แบนราบที่สุดในประเทศ แต่จากงานวิจัยชิ้นหนึ่งในปี 2003 พิสูจน์ออกมาว่ารัฐ Kansas แบนราบเรียบซะยิ่งกว่าแพนเค้กซะอีก (flatter than a pancake) (2)


"Kansas is flatter than a pancake."


งานวิจัยชิ้นที่ 1) Kansas Is Fatter Than a Pancake
งานวิจัยนี้อาจจะฟังดูตลกขำ ๆ แต่นักวิจัยใช้วิธีศึกษาอย่างจริงจังโดยใช้กล้อง confocal laser microscope (เป็นกล้องจุลทรรศน์ที่ให้ความละเอียดสูงมาก) เพื่อศึกษาลักษณะพื้นผิวแพนเค้กของร้าน IHOP เปรียบเทียบกับลักษณะพื้นที่ของรัฐ Kansas ซึ่งใช้การวัดพื้นที่ในอัตราส่วน 1 ต่อ 250,000 ด้วย digital elevation model (DEM) ที่ดึงข้อมูลมาจาก United States Geological Survey ผลออกมาปรากฏว่ารัฐ Kansas มีลักษณะแบนราบเรียบยิ่งกว่าแพนเค้กซะอีก




งานวิจัยนี้อยู่ในเว็บไซต์ Improbable Research ซึ่งก็เป็นที่สนใจจนสำนักข่าวหลายแห่งเอาไปลงข่าว ทีมวิจัยมีทั้งหมด 3 คน คือ Mark Fonstad และ William Pugatch มาจากภาควิชาภูมิศาสตร์ มหาวิทยาลัย Texas State University และ Brandon Vogt มาจากภาควิชาภูมิศาสตร์ มหาวิทยาลัย Arizona State University






ผลการเปรียบเทียบภาพระหว่างแพนเค้กกับพื้นที่ของรัฐ Kansas จะเห็นว่าทั้งสองอย่างแบนมาก และด้วยวิธีการคำนวณทางคณิตศาสตร์สามารถบอกได้ว่าแพนเค้กมีความแบนราบระดับ 0.957 ซึ่งก็ถือว่าค่อนข้างแบนแต่ยังไม่แบนที่สุด ส่วนการคำนวณความแบนราบของรัฐ Kansas ได้ตัวเลขออกมาประมาณ 0.9997 ซึ่งนักวิจัยสรุปว่า "damn flat" (โคตรแบน)


Associate Professor Mark Fonstad

ปัจจุบัน Mark Fonstad (หัวหน้าทีมวิจัย) เป็นรองศาสตราจารย์สอนอยู่ภาควิชาภูมิศาสตร์ที่ University of Oregon


งานวิจัยชิ้นที่ 2) The Flatness of U.S. States
ถัดมาในปี 2013 มีงานวิจัยอีกชิ้นนึงจากมหาวิทยาลัย University of Kansas ชื่องานวิจัย The Flatness of U.S. States ของ Jerome E. Dobson เป็น Professor ด้านภูมิศาสตร์สอนอยู่ที่ University of Kansas และ Joshua S. Campbell เป็นนักภูมิศาสตร์เชี่ยวชาญด้าน GIS จากหน่วยงาน Office of the Geographer and Global Issues at the Department of State, Washington, D.C. มีบทความให้โหลดอ่านได้ฟรีที่ลิงค์นี้ http://www.disruptivegeo.com/category/flat-map-2/



Dr. Jerome เล่าให้ฟังอย่างติดตลกว่าคนไม่ค่อยอยากมาทำงานที่ Kansas เพราะคิดว่ามันแบนราบน่าเบื่อ 


งานวิจัยชิ้นนี้ใช้ข้อมูลทางภูมิศาสตร์จากเรดาร์ของ NASA แล้วใช้โปรแกรม GIS คำนวณเพื่อเอามาทำแผนที่และจัดลำดับความแบนราบของแต่ละรัฐในอเมริกา โดยคำนวณตามเปอร์เซ็นต์ความแบนและแบ่งออกเป็น 3 ระดับ แบน แบนมากกว่า และแบนมากที่สุด (flat, flatter, และ flattest) การสำรวจนี้เป็นการศึกษาทั้งหมด 48 รัฐและรวมทั้ง District of Columbia

ข่าวสั้น ๆ จากช่อง GeoBeats News
https://www.youtube.com/watch?v=WBljD8jUFoM

การสำรวจเริ่มจากการกำหนดรูปแบบโดยนักวิจัยใช้วิธีวัดแบบวงกลม 360 องศา แบ่งส่วนในวงกลมออกเป็น 16 ส่วน ๆ ละ 22.5 องศา และแบ่งระดับความแบนออกเป็น 16 ระดับ ในแต่ละเซลล์จะวัดจากตรงกลางยาวออกไป 3.3 ไมล์ (ซึ่งได้คำนวณการมองเห็นตามข้อจำกัดความโค้งของโลกไว้แล้วโดยประมาณสำหรับคนสูง 6 ฟุต) หากมองออกไปด้วยมุมที่สูงจากพื้น 0.32 องศา แล้วเห็นยอดภูเขาที่สูง 100 ฟุต ในระยะห่างออกไป 3.3 ไมล์ เซลล์นั้นจะถูกระบุว่า "แบน" นักวิจัยใช้การคำนวณและทำแบบนี้ไปทุกรัฐจนครอบคลุมพื้นที่ทั้งประเทศซึ่งถือว่าเป็นการวัดที่ละเอียดมาก (3)


ผลการวิจัยออกมาว่า 10 อันดับรัฐที่แบนที่สุดคือ
1. ฟลอริดา
2. อิลลินอยส์
3. นอร์ทดาโกา
4. ลุยเซียนา
5. มินนิโซตา
6. เดลาแวร์
7. แคนซัส
8. เทกซัส
9. เนวาดา
10. อินเดียนา


หลังจากที่งานวิจัยชิ้นนี้ได้รับการตีพิมพ์ก็มีหลายสำนักข่าวเอาไปเขียนบทความ เช่น








นอกจากนั้นงานวิจัยชิ้นนี้ก็ยังถูกอ้างหลายที่ในหนังสือชื่อ "Flatness" ของ B. W. Higman


มีตัวอย่างหนังสือให้อ่านได้ใน Google Book 


งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการศึกษาระดับปริญญาเอกของ Joshua S. Campbell ซึ่งมี Professor Jerome Dobson เป็นที่ปรึกษา และตอนนี้ Dr. Jerome ดำรงตำแหน่งเป็นประธานของ American Geographical Society

 

















Joshua S. Campbell อธิบายว่าการจัดทำแผนที่ Flat Map ของสหรัฐอเมริกานี้จะเป็นประโยชน์ในหลาย ๆ ด้าน เช่น การหาพื้นที่จัดตั้ง wind farm เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าและยังช่วยในการวางแผนเพื่อทำระบบจัดการระบายน้ำ


3) พื้นที่แบนราบมักมีปัญหากับการระบายน้ำ

รัฐ Kansas เป็นรัฐที่มีพื้นที่แบนราบอยู่หลายแห่งดังนั้นจึงมักมีปัญหาการระบายน้ำ การทำแผนที่จึงช่วยในการวางแผนการติดตั้งเครื่องระบายน้ำ

http://www.kgs.ku.edu/General/Geology/Sedgwick/geog01.html

น่าจะคล้าย ๆ กับบริเวณภาคกลางของประเทศไทยที่เป็นที่ราบลุ่มเรามักเจอปัญหาน้ำท่วมแล้วระบายน้ำช้ามาก แต่ที่จริงความโค้งของโลกน่าจะช่วยทำให้น้ำไหลลงได้ดีเหมือนในภาพ...


-------------------------------------------------------------------------------------

อ้างอิง
1) https://en.wikipedia.org/wiki/Kansas
2) https://www.improbable.com/airchives/paperair/volume9/v9i3/kansas.html
3) https://www.theatlantic.com/technology/archive/2014/03/science-several-us-states-led-by-florida-are-flatter-than-a-pancake/284348/


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น