วันเสาร์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

17) ว่าด้วยเรื่องจักรวาลของระบบสุริยะของโลกกลม

1) การเคลื่อนที่ของโลก (Motion)

ตามทฤษฎีของระบบสุริยะการเคลื่อนที่ของโลกมี 3 เงื่อนไข 1) หมุนรอบตัวเอง 2) หมุนรอบดวงอาทิตย์ อันที่ 3 นี่สำคัญสุด คือ เคลื่อนที่ไปพร้อมกับดวงอาทิตย์ด้วยความเร็ว 220 กม./วินาที (792,000 กม./ชม.) ด้วยเงื่อนไขเหล่านี้จึงมีข้อมูลหลายอย่างที่ขัดแย้งกันและไม่เป็นไปตามทฤษฎีของระบบสุริยะ เช่น

1. โลกและดวงอาทิตย์ต้องเคลื่อนที่ด้วยความเร็วที่สัมพันธ์กัน ดังนั้นดาวเทียมที่โคจรรอบโลกก็ต้องเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 792,000 กม./ชม. เช่นเดียวกันถึงจะสามารถถ่ายภาพโลกที่อยู่นิ่งๆ ได้ หรือไม่ก็ต้องติดกล้องที่มีเทคโนโลยีระดับเทพมาก ๆ ที่จะสามารถจับภาพโลกที่เร็วขนาด 220 กม./วินาทีได้โดยที่ภาพไม่เบลอ


2. หากโลกและดวงดาวทั้งหมดในระบบสุริยะเคลื่อนที่ตามดวงอาทิตย์ด้วยความเร็วขนาดนั้น ภาพ time-lapse ของดวงดาวในโมเดลโลกกลมน่าจะเป็นแบบภาพด้านขวามือ แต่ตามข้อมูลของ Geocentric อธิบายไว้ว่าโลกอยู่นิ่งอยู่กับที่ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดวงดาวเคลื่อนที่ไปรอบโลกของเราตามความโค้งของทรงกลมฟ้า (Celestial sphere) ที่มีลักษณะเป็นเส้นโค้ง (arc) ซึ่งวิชาดาราศาสตร์โบราณก็ใช้โมเดล Geocentric นี้บันทึกการเคลื่อนที่ของดวงดาวมาเป็นพัน ๆ ปี ประเด็นที่สำคัญที่สุดคือดาวเหนือจะไม่เคลื่อนที่และอยู่ที่จุดเดิมเสมอ



3. ในการถ่ายทอดสดของ Starman กับรถ Roadster ที่ถูกส่งไปกับจรวด Heavy Falcon เมื่อเดือนก.พ.ที่่ผ่านมา มีใครเห็นโลกเคลื่อนที่ด้วยความเร็วขนาดนั้นบ้างไหม??
Live Views of Starman
https://www.youtube.com/watch?v=aBr2kKAHN6M


4. ในภาพถ่ายทอดสดของ Space X นี้มีใครเห็นดาวเทียมหรือขยะอวกาศที่ NASA รายงานว่ามีเยอะมากบ้าง??



5. อย่างที่บอกว่าน้ำจะไม่สามารถยึดเกาะวัสดุที่มีความโค้งได้ แต่มีแรงมหัศจรรย์อย่างหนึ่งที่นักวิทยาศาสตร์อธิบายว่าสามารถทำให้น้ำทะเลยึดติดกับผิวโลกขณะที่โลกหมุนได้ แต่แรงมหัศจรรย์ที่ว่ากลับไม่มีอิทธิพลกับน้ำในผ้าเปียกเวลาเราปั่นผ้าซะงั้น!!


ก็น่าสงสัยว่าทำไมน้ำที่ล้อมรอบโมเดลโลกกลมตอนที่โลกหมุนมีปฏิกริยาแตกต่างจากน้ำในการทดลองอื่น ๆ น้ำเวลาถูกหมุนมันจะมีแรงที่เรียกว่า centrifugal force (แรงหนีศูนย์กลาง) คือน้ำมันจะเหวี่ยงออกไปติดอยู่รอบ ๆ ขอบของภาชนะ ซึ่งเราเข้าใจได้เพราะมันคือธรรมชาติของน้ำอย่างที่เราเห็นเวลาปั่นผ้า น้ำกระเซ็นออกผ้าก็แห้ง ส่วนผ้าก็กระเด็นไปติดขอบถัง อันนี้คือตัวอย่างการทดลองที่ทำให้เห็นภาพ

Centrifugal Force on Rotating Water Container

แต่ในวิชาฟิสิกส์บอกว่าไม่มีแรงหนีศูนย์กลาง แต่มีแรงสู่ศูนย์กลางที่เรียกว่า centripetal force


6. คำอธิบายเกี่ยวกับการทดลองทั้ง 5 ครั้งที่พยายามพิสูจน์ว่าโลกเคลื่อนที่แต่ก็ไม่สำเร็จ
5 Famous Scientific Experiments Prove a Stationary Earth


2) ความโค้งของโลก (Curvature)

1. ถ้าหากพื้นน้ำสามารถโค้งได้ตามความโค้งของโลกกลมเราก็น่าจะได้เห็นภาพสะท้อนบนผิวน้ำที่เป็นภาพโค้ง ๆ แบบรูปด้านบนนะ แต่ทุกครั้งที่เราเห็นภาพสะท้อนของท้องฟ้าบนผิวน้ำก็ดูราบเรียบยังกับสะท้อนกับกระจก


2. น้ำเป็นตัวบอกความแบนราบของโลกที่ดีที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาน้ำกลายเป็นน้ำแข็งก็จะแบนราบเท่ากันทั้งหมด อย่างเช่น ทะเลสาป Baikal ในรัสเซียเป็นแหล่งน้ำจืดที่ใหญ่มากมีความยาว 395 ไมล์ กว้าง 12 - 50 ไมล์ (ความยาวเท่ากับ 635.691 กม. กว้าง 19.3121 - 80.4672 กม.) ถ้าคำนวณตามความโค้งของผิวโลกแล้วจะเท่ากับ 19.70 ไมล์ หรือ 31.70408 กม.


Skating Lake Baikal, the world's deepest lake - BBC News
https://www.youtube.com/watch?v=Iv7n6QEIHIw

Incredible Lake Baikal Overview
https://www.youtube.com/watch?v=sf9pfm4gSII


3. แม่น้ำไนล์มีความยาวกว่า 4,000 ไมล์ (6,437.376 กม.) ไหลจากทิศใต้ขึ้นไปทิศเหนือ ถ้าโลกกลมแม่น้ำไนล์ต้องไหลย้อนขึ้นไปตามความโค้งของโลกเป็นระยะทางกว่า 2,685.894 กม.









3) ว่าด้วยเรื่องตัวเลขของ ขนาด ระยะทาง และรูปทรง (Size Distance and Shape)

1. ระบบสุริยะให้ข้อมูลขนาดของดวงอาทิตย์ โลก และดาวอื่น ๆ ไว้ประมาณนี้

ในภาพด้านบนจะเห็นว่าขนาดของดวงอาทิตย์ใหญ่มาก และโลกมีขนาดเล็กนิดเดียว


เปรียบเทียบขนาดของดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์

โลกจะมีขนาดใหญ่กว่าดวงจันทร์ประมาณ 4 เท่า


2. คุณคิดว่าเป็นเรื่องบังเอิญหรือเปล่าที่ดวงอาทิตย์อยู่ห่างจากโลกเป็น 400 เท่า ของระยะทางจากโลกกับดวงจันทร์ และดวงจันทร์มีขนาดเล็กเป็น 400 เท่าของดวงอาทิตย์ เวลามองด้วยตาเปล่าเราจึงเห็นว่าดวงอาทิตย์และดวงจันทร์มีขนาดใกล้เคียงกัน นอกจากนั้นดวงจันทร์ก็ยังโคจรรอบโลกโดยที่หันด้านเดียวมาทางโลกตลอดเวลา แล้วทำไมเราไม่เคยเห็นอีกด้านนึงของดวงจันทร์เลย




3. แต่ในภาพถ่ายของโลกจากโครงการ Apollo 8 ในปี 1968 ที่มีชื่อว่า Earthrise กลับเห็นโลกเล็กกว่าดวงจันทร์หลายเท่า



4. แต่พอ NASA ทำภาพ animation ที่แสดงให้เห็นการหมุนของดวงจันทร์รอบโลก กลับเห็นโลกใหญ่กว่าดวงจันทร์เยอะมาก

EPIC View of Moon Transiting the Earth


5. แต่สำหรับโมเดลโลกแบนดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ไม่ได้มีขนาดแตกต่างกัน ทั้งคู่มีขนาดเล็กกว่าโลกและอยู่ใกล้โลกมาก มีวงโคจรหมุนเป็นวงกลมขนานกับพื้นโลก



6. บางคนอาจจะเคยมีประสบการณ์นั่งเครื่องบินแล้วเห็นดวงอาทิตย์กับดวงจันทร์อยู่ใกล้กันมากแบบนี้

pilot sees the sun and the moon show up together
https://www.youtube.com/watch?v=_wGS72xhPU4


7. ภาพซูมดวงจันทร์ด้วยกล้อง Nikon Coolpix P900 ก็น่าแปลกที่กล้องราคาสองหมื่นสามารถซูมภาพดวงจันทร์ที่อยู่ไกลตั้ง 384,403 กม. ได้ชัดมาก ๆ

P900 zoom test moon, mars and Saturn!
https://www.youtube.com/watch?v=Clg7rQB6H2U&t=4s


8. เราถูกสอนกันมาว่าดวงจันทร์ได้รับแสงสะท้อนจากดวงอาทิตย์ แต่เวลาวัตถุทรงกลมสะท้อนแสงจะมีจุด highlight ที่สว่างกว่าจุดอื่น ซึ่งเวลาเรามองดวงจันทร์ก็จะเห็นแสงสีนวล ๆ เท่ากันทั้งดวง

โมเดลโลกแบนเชื่อว่าดวงจันทร์มีแสงในตัวเองถึงจะทำให้เราเห็นแสงจากดวงจันทร์แบบนี้ได้


นอกจากนั้นแสงจากดวงจันทร์มีคุณสมบัติแตกต่างกันกับแสงจากดวงอาทิตย์ด้วยการทดสอบง่าย ๆ
จากการวัดอุณหภูมิบริเวณที่อยู่ใต้แสงจันทร์กับบริเวณที่ไม่ได้อยู่ใต้แสงจันทร์

Moonlight Temperature Test
https://www.youtube.com/watch?v=gRfUFt44hFw

อุณหภูมิพื้นที่ที่อยู่ใต้แสงจันทร์จะเย็นกว่า ซึ่งหมายความว่าแสงจากดวงจันทร์ไม่ใช่แสงสะท้อนจากดวงอาทิตย์


9. เงาสะท้อนจากดวงอาทิตย์เกิดเป็นจุด hotspot บ่งบอกว่าตำแหน่งของดวงอาทิตย์ไม่ได้อยู่ไกลขนาด 93,000,000 ไมล์ (150 ล้านกิโลเมตร) ตามที่เราถูกสอนมา



10. เงาสะท้อนบนผืนน้ำเป็นแนวตรงยาวตาม perspective บ่งบอกว่าพื้นผิวที่สะท้อนแสงนี้ราบเรียบไม่มีความโค้ง

Flat Earth - Sunlight on Water...
https://www.youtube.com/watch?v=JgpKbr1Z6So

-------------------------------- เรื่องของดวงจันทร์ยังมีอีกเยอะ เดี๋ยวไว้มาเล่าต่อ --------------------------------

1 ความคิดเห็น: