วันอาทิตย์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

10) วิทยาศาสตร์กับหลักจริยธรรม

10) วิทยาศาสตร์กับหลักจริยธรรม

Dr. Hideaki Koizumi นักฟิสิกส์และนักวิทยาศาสตร์ด้านสมองได้บรรยายเกี่ยวกับเรื่องจริยธรรมในด้านวิศวกรรมในงาน Ethics in Engineering: A Panel at a CAETS Council Meeting CAETS 2017 Madrid Real Academia de Ingenieria เมื่อวันที่ 16 พ.ย. 2017 มีเนื้อหาที่ให้แง่คิดเกี่ยวกับการใช้องค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ไว้อย่างน่าสนใจ (อ้างอิง 1)


ในช่วงต้น Dr. Hideaki เสนอรากศัพท์ของคำ 3 คำที่เกี่ยวข้องกันคือ Engineering, Science, และ Technologyโดย Engineering มีรากศัพท์มาจากคำว่า gen มีความหมายว่าให้กำเนิดหรือสร้างขึ้น ส่วนคำว่า Science มีรากศัพท์มาจากคำภาษากรีก "skei" แปลว่า "แยกออก แบ่งออก" ส่วนคำว่า Technology มาจากรากศัพท์ในภาษากรีกคือคำว่า Tekhnē แปลว่า "เลียนแบบหรือทำขึ้นมา"

  • Marie Curie




Dr. Hideaki ได้ยกคำกล่าวของ Marie Curie ที่กล่าวไว้ในวันที่เธอได้รับรางวัลโนเบลเมื่อปี 1903 ไว้ว่า "วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนั้นเป็นกลาง (ไม่เข้าข้างใคร) ดังนั้นไม่ว่าทั้งสองอย่างนี้จะถูกนำไปใช้ในทางดีหรือไม่ดีก็ขึ้นอยู่กับมนุษยธรรมทั้งสิ้น"

  • Alfred Nobel


รางวัลโนเบลนั้นถูกตั้งชื่อตาม Alfred Nobel นักเคมีชาวสวีเดน ที่เป็นทั้งวิศวกร นักประดิษฐ์ นักธุรกิจ โดยเขาได้เป็นผู้คิดค้นระเบิดไดนาไมท์ และเปลี่ยนโรงงานของเขาจากเดิมที่ผลิตเหล็กและเหล็กกล้าให้เป็นโรงงานผลิตปืนใหญ่และอาวุธ


  • Fritz Haber




ต่อมา Dr. Hideaki นำเสนอ Fritz Haber ซึ่งเป็นนักเคมีผู้ค้นพบวิธีการสังเคราะห์แอมโมเนียจากแก๊สไนโตรเจนและไฮโดรเจน Fritz Haber ก็ได้รับรางวัลโนเบลเช่นกันในปี 1918 จากการคิดค้นของเขามีความสำคัญมากกับการผลิตปุ๋ยและการทำวัตถุระเบิดขนาดใหญ่




จากผลงานของ Fritz ทำให้เขาได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ควบคุมการใช้อาวุธเคมีให้กับกองทัพเยอรมัน
(คนที่ชี้นิ้ว) (อ้างอิง 3)

Fritz เป็นผู้พัฒนาระเบิดเคมีที่ใช้ในการทำสงครามโลกครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 เขาได้ใช้อาวุธเคมีในการสู้รบครั้งที่สองที่เมือง Ypres ทางทิศตะวันตกของประเทศเบลเยี่ยมซึ่งคร่าชีวิตมนุษย์ไปกว่า 67,000 ราย แม้แต่ภรรยาของเขา Clara Immerwahr ก็รับไม่ได้และประท้วงเขาด้วยการฆ่าตัวตาย

เหตุการณ์เกิดขึ้นหลังจากที่ Fritz กลับมาจากสนามรบเพื่อเฉลิมฉลองความสำเร็จของเขาในวันที่ 1 พ.ค. 1915 พอเช้าวันที่ 2 พ.ค. พวกเขาทั้งสองทะเลาะกันอย่างรุนแรงและ Clara หยิบปีนของ Fritz ยิงตัวตายที่สนามหญ้าหน้าบ้าน แต่ในวันเดียวกันนั้นเอง Fritz ออกเดินทางไปสนามรบอีกครั้งโดยปล่อยให้ลูกชายจัดการเรื่องทั้งหมดคนเดียว (อ้างอิง 2)


Fritz Haber และ Albert Einstein เป็นเพื่อนกัน (อ้างอิง 3)



  • Clara Immerwahr



Clara Immerwahr เป็นนักเคมีเช่นกัน เธอเป็นผู้หญิงคนแรกที่จบการศึกษาระดับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยในเยอรมันนีด้วยเกียรตินิยมอันดับสอง ต่อมาในปี 2011 สถาบัน UniCat (Unifying Concepts in Catalysis) ได้มีพิธีมอบรางวัล The Clara Immerwahr Award เพื่อส่งเสริมความเสมอภาคให้กับนักวิทยาศาสตร์หญิงที่ศึกษาด้านปฏิกริยาทางเคมี (อ้างอิง 4)


ตัวอย่างภาพยนตร์เรื่อง Clara Immerwahr จากประเทศออสเตรีย
https://www.youtube.com/watch?v=ZawUOaIbuJw



  • Johann Georg Faust



Johann Georg Faust (1480 - 1540) เป็นหมอที่ประสบความสำเร็จในชีวิตดีแต่รู้สึกไม่พอใจกับชีวิตตัวเองนัก เขาได้ทำสัญญากับปีศาจเพื่อแลกชีวิตของเขากับความรู้และความสุขอย่างไม่มีขีดจำกัดในทางโลก ประวัติของ Faust เป็นตำนานที่อยู่ในของวรรณกรรมหลายเรื่อง อย่างเช่นของ Goethe

ตามภาพคำถามนั้นถามว่า "จุดมุ่งหมายแอบแฝงของการเล่นแร่แปรธาตุคืออะไร?"
คำตอบ "คือการพยายามสร้างมนุษย์ขึ้นมา"

ในภาษาอังกฤษคำว่า "Faust" และคำคุณศัพท์ "Faustian" มีนัยยะหมายถึงสถานการณ์ที่บุคคลที่มีความทะเยอทะยานจนยอมจำนนต่อคุณธรรมเพื่อต้องการจะได้อำนาจและความสำเร็จเพียงแค่ระยะเวลาสั้น ๆ (อ้างอิง 5)


อ้างอิง
1) https://www.caetsmadrid2017.com/wp-content/uploads/2017/11/Final-CAETS-2017-A-Compuss-for-Engineering-Ethics-by-H.-Koizumi.pdf
2) http://nopr.niscair.res.in/bitstream/123456789/33647/1/SR%2053%281%29%2038-40.pdf
3) http://chemicalweapons.cenmag.org/who-was-the-father-of-chemical-weapons/
4) https://www.unicat.tu-berlin.de/index.php?id=807
5) https://en.wikipedia.org/wiki/Faust


------------------------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น