วันศุกร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2561

4) โครงการ Apollo ได้พามนุษย์ไปเหยียบดวงจันทร์จริงหรือไม่ ตอนที่ 2 What Happened on the Moon? Part 2

What Happened On the Moon? Part 2 - Environmental Dangers & The Trouble with Rockets
โครงการ Apollo ได้พามนุษย์ไปเหยียบดวงจันทร์จริงหรือไม่ ตอนที่ 2


สำหรับตอนที่ 2 นี้ทางรายการได้นำเสนอเกี่ยวกับอันตรายของรังสีในอวกาศ และวิเคราะห์เกี่ยวกับปัญหาของจรวด

1) เปลวสุริยะ (Solar Flare) มีอันตรายต่อร่างกายมนุษย์หากได้รับมาก ๆ อาจทำให้ตาบอด หรือทำให้เสียชีวิตได้ภายใน 60 วัน นอกจากนั้นยังมีแถบรังสีแวนอัลเลน ถูกค้นพบโดย James Van Allen เขาอธิบายว่าโลกของเรามีแถบรังสีนี้รอบล้อมอยู่รูปทรงคล้ายโดนัท แถบรังสีนี้ประกอบไปด้วยอิเล็กตรอนและไอออนหนาแน่นเป็นอันตรายต่อร่างกายมนุษย์มาก ตามข้อมูลแถบรังสีนี้มีระยะทางประมาณ 64,000 ไมล์ แต่ NASA บอกว่ามีระยะทางแค่ 24,000 ไมล์ และอ้างว่าขณะที่ยานอวกาศเคลื่อนที่ผ่านแถบรังสีนี้ใช้เวลาแค่ 2 ชั่วโมงเท่านั้น นักบินได้รับรังสีน้อยมากจึงไม่เป็นอันตรายใด ๆ



Bill Wood บอกว่าการออกแบบตัวยาน LEM ใช้วัสดุบาง ๆ แทบจะป้องกันรังสีอะไรไม่ได้เลย ถ้าตามหลักการป้องกันรังสีขนาดนั้นวัสดุที่ใช้ประกอบยานจะต้องหนักมากและน่าจะเป็นปัญหาใหญ่กับการปล่อยจรวด Saturn 5 นอกจากนั้นจากการดูฟิล์มภาพถ่ายของ NASA ก็ไม่ปรากฏว่ามีความเสียหายจากการโดนรังสีดังกล่าว นอกจากนั้นอุณหภูมิบนดวงจันทร์ก็มีการเปลี่ยนแปลงสูงมาก (ช่วงกลางวันอุณหภูมิสูงถึง 127 องศาเซลเซียส และช่วงกลางคืนอุณหภูมิติดลบถึง -173 องศาเซลเซียส) ก็เป็นเรื่องน่าแปลกใจว่าการทำงานของชุดนักบินอวกาศนั้นสามารถระบายความร้อนและป้องกันความหนาวเย็นให้พวกเขาได้อย่างไร


2) ประเด็นต่อไปคือเรื่องของจรวด Saturn 5 ของโครงการ Apollo โดยมีผู้ดูแลโครงการนี้คือ Wernher von Braun เป็นวิศวกรชาวเยอรมันซึ่งเคยทำงานในโครงการสร้างจรวดให้กับกองทัพนาซีมาก่อน


ตอนหนุ่ม ๆ Braun ทำงานร่วมกับ Hermann Oberth เขาเป็นนักวิทยาศาสตร์ด้านจรวดของกับกองทัพฮิตเลอร์ที่ได้ไปเป็นที่ปรึกษาของภาพยนตร์เงียบเรื่อง Woman in the Moon (ภาษาเยอรมัน Frau im Mond) สร้างในปี 1929 กำกับโดย Fritz Lang ซึ่งมีการออกแบบจรวดได้มีรายละเอียดเหมือนกันกับจรวด Saturn 5 ของ NASA อย่างมาก เช่น

1. ลักษณะคือเป็นจรวดทรงตั้งตรงมีส่วนประกอบ 3 ส่วนเหมือนกัน และในภาพยนตร์จรวดจะถูกปล่อยจากฐานที่มีการออกแบบเหมือนกับอาคารของ NASA (The Vehicle Assembly Building of the John F. Kennedy Space)
2. การเคลื่อนจรวดไปยังฐานปล่อยก็ใช้การเคลื่อนย้ายแบบตั้งตรงไปตามทาง ซึ่งต่างกับโซเวียตที่จะสร้างจรวดแบบแนวนอนแล้วใช้การเคลื่อนย้ายไปแบบแนวนอนซึ่งรัสเซียก็ทำแบบเดียวกัน พวกเขาต่างรู้ดีว่าการเคลื่อนย้ายวัตถุทรงสูงแบบตั้งตรงแบบนั้นมันช่างขัดกับสามัญสำนึกมาก อย่างที่รู้กันดีโซเวียตเป็นที่หนึ่งแห่งการสร้างจรวดมาจนปัจจุบัน
3. ผู้กำกับได้ออกแบบวิธีการปล่อยจรวดโดยมีการนับถอยหลัง 10 วินาทีเพื่อเป็นการสร้างความตื่นเต้นให้กับผู้ชม
4. นอกจากนั้นในหนังยังให้นักแสดงนอนราบและมัดไว้กับเตียงตอนปล่อยจรวด ซึ่ง NASA ก็ทำแบบนั้นเช่นกันกับ Apollo
5. ในหนังจะมีการติดแผ่นยึดเท้าไว้ตามทางเวลาเดินเพื่อสื่อให้เห็นสภาพไร้น้ำหนักซึ่ง NASA ก็ทำแบบนั้นเหมือนกัน
6. ในหนังยังให้นักแสดงใช้น้ำเพื่อแสดงให้เห็นเรื่องสภาพไร้น้ำหนักและมันกลายเป็นสัญลักษณ์ของวงการอวกาศไปแล้ว
7. แม้แต่การใช้มุมมองภาพที่มองเห็นโลกจากดวงจันทร์ก็ทำออกมาเหมือนกัน
8. มีฉากที่นักแสดงไปตั้งกล้องที่พื้นดวงจันทร์โดยที่ด้านหลังมีภูเขาปกคลุมไปด้วยหิมะ ซึ่งฉากนี้ก็คล้ายกันกับพื้นด้านหลังโลโก้ของยาน LM-7


Braun ประสบความสำเร็จอย่างมากในการสร้างจรวดให้กับกองทัพนาซีจนฮิตเลอร์มอบตำแหน่งโปรเฟสเซอร์ให้ การสร้างจรวดของเยอรมันคือเพื่อเอาไว้ใช้เป็นอาวุธสงคราม เมื่อสงครามจบ Braun เข้ามาทำงานเป็นเบื้องหลังให้กับองค์กรด้านอวกาศของสหรัฐ จากที่คิดกันว่าสหรัฐได้วิศวกรที่เก่งมากด้านจรวดมาจากเยอรมัน ที่จริงอาจจะไม่ใช่เพราะบุคลากรเครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ ถูกแบ่งออกเป็นสองฝั่ง คือไปอยู่กับโซเวียตและอีกส่วนนึงมาอยู่กับอเมริกา เราก็รู้กันดีว่าโซเวียตมีเทคโนโลยีที่ล้ำหน้ากว่าเยอะและเป็นชาติแรกที่ส่งดาวเทียม Sputnik โคจรรอบโลกได้ตั้งแต่ปี 1957 ส่วนอเมริกายังมีปัญหาเรื่องความไม่เสถียรของการปล่อยจรวดอยู่


กลับมาดูที่โซเวียตได้มีการพยายามทดลองส่งสุนัข (ชื่อไลก้า) ไปกับจรวดแต่ปรากฏว่าไม่ประสบความสำเร็จ
(หลักฐานเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลการทดลองการส่งไลก้าไปกับ Sputnik II อยู่ในบทความนี้ http://flatearthmatters.blogspot.com/2018/01/can-we-live-in-space.html)

ต่อมาโซเวียตได้ลองส่งนักบินอวกาศคนแรกคือ Yuri Gagarin จากการค้นคว้าเราพบว่ามีการถ่ายทำฉากเหล่านี้หลายครั้งล่วงหน้าไว้ก่อนแล้ว ในภาพจะเห็นว่านักบินกำลังเข้าไปในตัวเคบินเพื่อเตรียมปล่อยยานแต่พอภาพตัดมาด้านหน้าจะเห็นว่ามีเงาของหมวกที่ยูริใส่อยู่ที่ผนังด้านหลัง เงามีทั้งด้านซ้ายและขวาแปลว่าต้องมีไฟให้แสงสว่าง 2 จุด แต่จากภาพด้านบนก็เห็นชัดว่าไม่ได้มีการใช้ไฟแต่อย่างใด และในเคบินนั่นก็แคบมากแทบไม่มีที่ตั้งกล้องแน่นอน ก็เป็นไปได้ว่าการถ่ายวิดีโอนี้เป็นการจัดฉากในอีกสถานที่หนึ่ง อาจจะเป็นการถ่ายทำกันในสตูดิโอก็ได้


Mary Bennett บอกว่ามีเหตุการณ์ผิดปกติเกิดขึ้น 2 ครั้งตอนที่ปล่อยจรวด คือ Pavlovich Korolev (วิศวกรผู้ออกแบบจรวด Vostok และดาวเทียม Sputnik) สั่งการบอกว่าประตูเคบินปิดไม่ดี ต้องเปิดและปิดใหม่แล้วค่อยเปิดเครื่องอีกทีซึ่งต้องทำให้เสียเวลาไปอีก 30 - 40 นาทีเพื่อทำทุกอย่างใหม่หมด และในจังหวะนั้นเอง Korolev สั่งการให้ Gagarin ออกจากเคบิน และเหตุการณ์ครั้งที่สองคือฐานที่ตั้งตัวจรวดหลุดออกมา ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องเข้าไปจัดการใส่เข้าไปใหม่ Bennett บอกว่าเรื่องนี้เป็นอุบายที่ Korolev ต้องทำเพื่อไม่ให้เกิดเหตุนักบินเสียชีวิตกับการปล่อยยานครั้งแรก เนื่องจากเรื่องอวกาศนี้มีการแข่งขันกันอย่างรุนแรงภายในสหภาพโซเวียต ยังเป็นคำถามกันอยู่ว่าก่อนที่จะปล่อยยานนั้น Gagarin ถูกเอาตัวออกมาแล้วส่งตัวแทนเข้าไปใหม่ใช่ไหม? หรือยาน Vostok ถูกปล่อยไปพร้อมกับเทปที่อัดเสียงไว้กันแน่? ในภาพนี่คือแคปซูลที่ตกลงมาห่างไกลสายตาผู้คน และ Gagarin ก็ดีดตัวออกมาได้ก่อน


หลังจากนั้นประธานาธิบดีเคนเนดี้ก็ประกาศว่าสหรัฐจะต้องส่งมนุษย์ขึ้นไปยังดวงจันทร์ให้ได้ และเรื่องอวกาศจึงกลายเป็นการแข่งขันที่ยอมกันไม่ได้ระหว่างสองประเทศนี้ Ronnie ถามว่าการสร้างข่าวปลอมนี่มันเป็นเรื่องใหม่ในวงการหรือเปล่า เขาตอบว่าไม่ใช่ มันเคยเกิดขึ้นแล้วเมื่อปี 1915 ที่มีข่าวว่าเรือดำน้ำเยอรมันยิงตอปิโดจมเรือ Lusitania (ซึ่งเป็นเรือโดยสารทำให้หลายประเทศเข้าใจเยอรมันผิดและเป็นจุดเริ่มต้นที่อเมริกาเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1) และยังมีเหตุการณ์แผ่นดินไหวในซานฟรานซิสโกที่ตอนปี 1906


ถึงแม้การปล่อยยานของโซเวียตจะมีการโกหกอยู่บ้างแต่จรวดนั่นก็ทำงานได้จริง ซึ่งพอกลับมาดูที่อเมริกาก็ยังคงมีปัญหากับเครื่องยนต์ที่ยังแก้ไม่ได้อยู่ Bill Wood บอกว่าโครงการสร้างยาน LEM ที่ NASA ทำเอกสารของบประมาณมามีความหนา 110 หน้า แต่ของบประมาณสูงเป็นจำนวนเงินกว่า 6.9 พันล้านเหรียญ ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับโครงการอื่น ๆ ที่ใช้งบประมาณใกล้เคียงกันอย่างเรือดำน้ำหรือเรือบรรทุกเครื่องบินรบก็ปรากฏว่าเขาส่งเอกสารกันประมาณ 25,000 - 86,000 หน้า โดยเฉลี่ยก็ประมาณ 38,000 หน้า ซึ่ง Bill บอกว่าเอกสารแค่ 110 หน้า ก็น่าจะของบประมาณได้ซัก 1.4 ล้านเหรียญ หรือถ้าจะสร้างยาน LEM ไว้สำหรับในพิพิธภัณฑ์หรือเอาไว้แสดงโชว์ก็ทำได้ด้วยเงินไม่กี่ล้านเหรียญและนั่นก็ไม่จำเป็นต้องทำโครงการยาว 110 หน้าด้วย David Percy บอกว่าโครงการยาน Lunar นี่ก็เป็นปัญหามากในตอนซ้อมบิน Armstrong ก็เกือบเสียชีวิตมาแล้วเพราะบังคับยานไม่ได้และยานตกแต่ดีที่เขาดีดตัวออกมาได้ทัน


Kaysing บอกว่ายาน Lunar ใช้เครื่องยนต์ที่มีส่วนผสมของ hypergolic propellants โดยมีส่วนผสมของ nitrogen tetroxide ทำให้เกิดการสันดาปและใช้ unsymmetrical dimethylhydrazine (หรือ udmh) เป็นเชื้อเพลิงซึ่งรู้จักกันดีว่า Aerozine 50 เมื่อสองอย่างนี้ผสมกันแล้วจะเกิดการลุกไหม้แล้วทำให้เกิดแก๊สเป็นกลุ่มควันหนาทึบสีแดงแล้วภาพที่เราเห็นเมื่อตอนยาน LEM ขึ้นจากดวงจันทร์ที่มีกล้องถ่ายไว้แต่มันไม่มีแก๊สปล่อยออกมาเลย ที่จริงมันต้องมีกลุ่มควันปล่อยออกมาที่ปลายท่อยานนั่น และด้วยสภาพสุญญากาศบนดวงจันทร์เป็นไปได้ว่ามันต้องปล่อยแก๊สออกเยอะมากและอาจจะมองเห็นได้จากโลกด้วยซ้ำไป นั่นเป็นภาพที่ผู้คนต้องได้เห็นเมื่อมีการปล่อยยาน


David Percy เพิ่มเติมว่าไม่ว่าการปล่อยยานหรือการนำยานลงจอดมันต้องมีแก๊สที่มีความร้อนออกมาเยอะมาก แต่จากภาพถ่ายของฐานยาน LEM แสดงให้เห็นว่าที่ฐานไม่ได้มีร่องรอยของการปล่อยแก๊ส ส่วนที่พื้นก็ดูเรียบราวกับว่ายานถูกหย่อนลงมาเฉย ๆ เขายังเปรียบเทียบกับภาพของก้อนหินที่ปล่องภูเขาไฟที่โดนความร้อนระดับเดียวกันให้ดูด้วย Ronnie เอาภาพการลงจอดของจรวด DCX ที่สร้างขึ้นช่วงปี 1990 มาให้ดูก็จะเห็นว่ามีกลุ่มควันออกมาเยอะมาก


ต่อมา Kaysing เล่าให้ฟังว่า "ผมไปขอให้ Paul Jacobs ซึ่งเป็นผู้ตรวจสอบระดับสูงช่วยสืบสวนเรื่องการไปดวงจันทร์นี้ให้หน่อยได้ไหม Paul ตอบตกลงและบอกว่าจะบินไปวอชิงตันในอาทิตย์หน้าเพื่อไปคุยกับหัวหน้าระดับสูงของกระทรวงธรณีวิทยา Paul ไปจริง ๆ และเขาได้ไปถามนักธรณีวิทยาว่าเป็นคนตรวจสอบก้อนหินจากดวงจันทร์ใช่ไหม มันมาจากดวงจันทร์จริงหรือเปล่า Paul ถาม นักธรณีวิทยาคนนั้นหัวเราะออกมา แล้วเรื่องมันจบอย่างน่าเศร้า Paul บินกลับมาจากวอชิงตัน ผมไปเจอเขาอีกครั้งที่ซานฟรานซิสโก 90 วันถัดมาเขาและภรรยาเสียชีวิตจากโรคมะเร็ง"

James Irwin

Kaysing เล่าต่อว่า Lee Galvani เขารู้จักกับผมมานานหลายปี เขาบอกว่าเขาเกือบจะโน้มน้าว James Irwin ให้ยอมสารภาพได้แล้ว ไม่นานหลังจากนั้น James โทรมาหาผมที่บ้านและต้องการให้ผมโทรกลับไป แต่หลังจากนั้นสามวันเขาเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจ (James เป็นนักบินอวกาศที่ไปเยือนดวงจันทร์ในโครงการ Apollo 15 เมื่อปี 1971 เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจปี 1991 ขณะที่มีอายุ 61 ปี)

โครงการ Space Shuttle

Ronnie ถามต่อว่าในเมื่อ Saturn 5 ประสบความสำเร็จอย่างมากแล้วทำไมถึงได้หยุดโครงการไปแล้วมีโครงการ Space Shuttle มาแทน Bill Wood ตอบว่าตัว Shuttle มีน้ำหนักประมาณ 3 ใน 5 ของ Saturn 5 ซึ่งมันใช้งบประมาณมากกว่าตอนปล่อยยาน Saturn 5 ประมาณ 3 เท่า

Ronnie ถามว่าเอาจริง ๆ เรื่องการแข่งขันด้านยานอวกาศนี่มันมีจริงใช่ไหม Bill ตอบว่า "เราแข่งกับรัสเซียเพื่อไปให้ถึงดวงจันทร์ แล้วเราก็ชนะมาได้ แล้วทำไมรัสเซียไม่พยายามเอาคืนในปีถัดมา 5 ปีถัดมา หรืออีก 25 ปีถัดมา ทำไมพวกเขาไม่เคยทำอีกเลย คำตอบที่เรามักได้ยินคือก็พวกเราชนะก่อน รัสเซียเลยยอมแพ้ไป มันก็จริงนะ แต่ว่าแล้วทำไมเราไม่เห็นยอมแพ้ล่ะ ตอนพวกเขาส่งดาวเทียมได้ครั้งแรก ส่งมนุษย์ผู้ชายไปครั้งแรก ส่งผู้หญิงไปสถานีอวกาศครั้งแรก ทำไมมีแต่เราที่พยายามกระเสือกกระสนดิ้นรนตลอดเวลา แล้วพอเราไปดวงจันทร์ได้พวกเขาก็หยุดไปเลย ไม่เคยไปอีกเลย"

Kaysing บอกว่า เราก็รู้กันดีว่าในผู้บริหารระดับสูงทั้งรัสเซียและอเมริกาต่างก็คุยกันตลอดเวลามานานแล้ว การปฏิวัติรัสเซียก็ได้รับเงินช่วยเหลือจากวอลสตรีทไง


ข่าว 1 - นักบินอวกาศของโซเวียตมาเยี่ยม NASA และมีการตกลงร่วมมือกันในโครงการสถานีอวกาศอเมริกันและรัสเซียน
ข่าว 2 - ระหว่างที่ไปเยือนรัสเซียประธานธิบดีนิกสันลงนามในข้อตกลงส่งจรวดในปี 1975
ข่าว 3 - นักบินอวกาศอเมริกันและโซเวียตร่วมฝึกซ้อมในปีนี้เพื่อทำงานร่วมกันในสถานีอวกาศที่โคจรไปรอบโลก


ในปี 1986 เกิดเหตุการณ์ยาน Challenger ของ Space Shuttle ระเบิดกลางอากาศทำให้นักบินอวกาศทุกคนเสียชีวิต จึงมีการตั้งคณะกรรมการให้ตรวจสอบเหตุการณ์นี้โดยมีนักฟิสิกส์รางวัลโนเบล Richard Feynman เข้าไปเป็นกรรมการด้วย จากการตรวจสอบพบว่ามีการใช้วัสดุที่ไม่เหมาะสมเพื่อใช้เป็นวงแหวนเชื่อมระหว่างข้อต่อซึ่งไม่ทนต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิเป็นสาเหตุทำให้เครื่องระเบิด และยังพบว่ามีการใช้วัสดุนี้มาแล้วเกิดปัญหาตั้งแต่ปี 1977 แต่ก็ไม่ได้รับการแก้ไข จากเหตุการณ์นี้ Richard แสดงความเห็นเกี่ยวกับ NASA ไว้ว่า "NASA เป็นหนี้ประชาชนผู้ที่เขาร้องขอแรงสนับสนุน ขอให้เป็นองค์กรที่มีความตรงไปตรงมา ซึ่อสัตย์ และให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ดังนั้นประชาชนเหล่านี้จึงจะสามารถตัดสินใจได้อย่างชาญฉลาดที่จะให้ใช้ผลประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอย่างจำกัดเพื่อความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ความจริง (ข้อเท็จจริง) ต้องมีความสำคัญมากกว่าการประชาสัมพันธ์เนื่องจากธรรมชาติไม่สามารถหลอกกันได้"

ข้อมูลเพิ่มเติมจากการสัมภาษณ์ของดร. ริชาร์ดในการตรวจสอบข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นกับ Challenger อยู่ในลิงค์นี้ http://flatearthmatters.blogspot.com/2018/01/8-1986-2.html

--------------------------------------------------------------------------------------





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น