สารคดีเรื่อง What Happened on the Moon? - An Investigation Into Apollo (2000) เป็นสารคดีของประเทศอังกฤษที่ค้นหาความจริงเกี่ยวกับภารกิจบนดวงจันทร์ของโครงการ Apollo กำกับโดย David S. Percy (ดำเนินรายการโดย Ronnie Stronge ความยาว 2.13 ชม.) บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ศึกษาข้อมูลจึงได้สรุปประเด็นสำคัญ ๆ ไว้เพื่อจะสามารถนำไปค้นคว้าเพิ่มเติมเองได้
What Happened on the Moon? - An Investigation Into Apollo (2000)
Ronnie เปิดรายการมาด้วยการกล่าวถึงจุดมุ่งหมายของรายการนี้เพื่อตั้งคำถามถึงความสมบูรณ์ของโครงการ Apollo โดยหลักฐานและข้อมูลต่าง ๆ จากรายการนี้จะชี้ให้เห็นถึงความไม่สอดคล้องกันของข้อมูลที่เป็นทางการจากโครงการ Apollo ของ NASA ที่ส่งมนุษย์อวกาศ 12 คน ไปเยือนดวงจันทร์ในระยะเวลา 3 ปี ตั้งแต่ปี 1969 ว่าจริง ๆ แล้วมนุษย์อวกาศเหล่านี้ได้เดินทางไปในอวกาศจริงหรือไม่ และได้ไปเหยียบดวงจันทร์จริงหรือไม่
รายการนี้แบ่งออกเป็น 3 ช่วง คือ
1. หลักฐานที่จะอธิบายว่า NASA ใช้ภาพถ่ายปลอม
2. อันตรายของรังสีในอวกาศที่จะเป็นอันตรายต่อการเดินทางไปและกลับจากดวงจันทร์
3. บทวิเคราะห์ถึงวิวัฒนาการของจรวดและปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งนักบินอวกาศเพื่อเดินทางไปและกลับจากดวงจันทร์
Ronnie กล่าวว่ารายการนี้ได้ใช้ความพยายามและการค้นคว้าอย่างลึกซึ้ง ซึ่งผู้ชมรายการจะได้เห็นหลักฐานโดยจะมีคนจากหลายองค์ความรู้มาอธิบายเรื่องราวเหล่านี้ เริ่มต้นด้วย
Bill Kaysing ทำงานเป็นหัวหน้าแผนกสิ่งพิมพ์ให้กับบริษัท Rocketdyne (เป็นบริษัทออกแบบและผลิตเครื่องยนต์จรวด) ปี 1956-63 เขาบอกว่าตอนนั้นเขาทำงานวิจัยเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการส่งมนุษย์ไปเหยียบดวงจันทร์และได้ตัวเลขความเป็นไปได้ออกมาประมาณ 0.0014% เนื่องจากสาเหตุหลายประการ เช่น
1. Van Allen Radiation Belt (แถบรังสีแวนอัลเลน)
2. Solar flares (เปลวสุริยะ)
3. Micro meteorites (อุกกาบาตขนาดเล็ก)
บิลกล่าวว่า "สิ่งพวกนี้เป็นอันตรายมากที่นักบินอวกาศต้องเจอและเป็นไปได้อย่างมากที่จะไม่ประสบความสำเร็จ เมื่อผมได้ยินอย่างนั้นในปี 1959 ผมก็คิดว่าการไปเยือนดวงจันทร์เป็นเรื่องที่เสี่ยงมาก"
แม้จะมีความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญแบบนั้น สองปีต่อมาประธานาธิบดีเคนเนดี้ก็ประกาศว่าอเมริกาจะต้องส่งคนไปดวงจันทร์ให้ได้
ส่วนที่ 1 การวิเคราะห์ภาพถ่ายบนดวงจันทร์
นักบินอวกาศกำลังปักธงชาติอเมริกาบนดวงจันทร์ในสภาพแวดล้อมที่เป็นสุญญากาศ
แต่ในภาพธงปลิวไปมาเพราะมีลมพัด
แต่ในภาพธงปลิวไปมาเพราะมีลมพัด
David S. Percy ผู้ร่วมเขียนหนังสือ Dark Moon: Apollo and the Whistle-Blowers เป็นผู้ผลิตภาพยนตร์และรายการโทรทัศน์ที่ได้รับรางวัล และเป็นช่างถ่ายภาพอาชีพของสมาคมถ่ายภาพในพระบรมราชูปถัมภ์ (Royal Photographic Society)
เขาระบุว่า "จากที่ได้ทำการค้นคว้าเกี่ยวกับภาพถ่ายของยาน Apollo บนดวงจันทร์ การบันทึกภาพเหล่านั้นน่าจะไม่ได้เกิดขึ้นจริง และคิดว่าเป็นภาพปลอมเพราะมีข้อผิดพลาดหลายอย่างมาก และเมื่อมีโครงการ Apollo อื่น ๆ ตามออกมา เราก็ยิ่งเห็นชัดมากขึ้นเพราะมีข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องระหว่างรายการถ่ายทอดสดและภาพนิ่ง ภาพถ่ายเหล่านั้นเต็มไปด้วยความไม่สอดคล้องกัน มีความผิดปกติหลายเรื่อง และก็เป็นข้อผิดพลาดที่หลาย ๆ คนเห็นและถูกเปิดเผยมาแล้ว..."
ตัวอย่างที่ 1 ภาพนิ่งกับภาพจากการถ่ายทอดสดไม่เหมือนกัน แสดงให้เห็นว่าการถ่ายภาพนิ่งและการถ่ายทอดสดไม่ได้เกิดขึ้นพร้อมกัน และเชื่อว่าภาพวิดีโอได้ถูกถ่ายทำมาก่อนแล้ว จากในภาพนิ่งรูปที่นักบินอวกาศกำลังกระโดดแล้วมีปลายผ้าเป็นลักษณะสามเหลี่ยมที่อยู่ด้านบนของอุปกรณ์ที่สะพายอยู่ด้านหลังพับขึ้นมา แต่ในภาพวิดีโอที่นักบินอวกาศกระโดด 2 ครั้ง ก็ไม่เห็นปลายผ้าพับขึ้นมาแบบในภาพนิ่ง
ตัวอย่างที่ 2 เป็นการถ่ายภาพโลกจากยาน Apollo 11 ขณะที่ยานกำลังเดินทางไปดวงจันทร์และอยู่ห่างจากโลก 130,000 ไมล์ หลักฐานชิ้นนี้ถูกค้นพบจาก Bart Sibrel ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์และนักวิจัยยาน Apollo ซึ่งระบุว่าเป็นการใช้ภาพถ่ายของโลกซ้อนกับแผ่นฟิล์มขนาดใหญ่เพื่อทำให้ภาพด้านหลังทึบแสง และเดวิดก็ตั้งข้อสงสัยว่า "ทำไมนักบินอวกาศถึงเลือกถ่ายภาพโลกในมุมนี้ที่ยืนอยู่ห่างจากหน้าต่างในระยะไกล ทั้งที่การถ่ายภาพโลกครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นภาพที่สำคัญที่สุดที่เราจะได้ภาพโลกที่อยู่ห่างออกไปเป็นแสนไมล์เป็นครั้งแรก และเมื่อซูมภาพเข้าไปก็น่าแปลกใจที่จู่ ๆ ก็มีเงาขนาดใหญ่บังภาพเข้ามา ซึ่งในความจริงมันไม่น่าเป็นไปได้เพราะภาพที่เรากำลังเห็นคือภาพจากการถ่ายทอดสดที่นักบินอวกาศกำลังถ่ายวิดีโอจากยานอวกาศ ซึ่งมันไม่ควรมีอะไรมาบังระหว่างกล้องและโลกได้ แล้วพอภาพซูมอออกมา เราจะเห็นไฟที่ใช้จัดแสงอยู่ในภาพ มันเป็นไปได้อย่างไร พวกเขาได้ถ่ายภาพโลกนั้นจากหน้าต่างจริงหรือไม่" เดวิดอธิบายว่าภาพที่ถ่ายออกมาก็ไม่ควรเห็นขอบชัดเจนแบบนั้นเพราะการตั้งโฟกัสของกล้องต้องเป็นแบบ infinity (ไม่มีระยะสิ้นสุดเพราะสิ่งที่ถ่ายมีขนาดใหญ่มาก) และเมื่อกล้องซูมเข้าไปขอบต้องออกมาเบลอไม่ใช่คมชัดแบบที่เห็น
เหตุการณ์ต่อมาเมื่อมีการเปิดไฟและภาพเริ่มชัดขึ้นที่หน้าต่างด้านซ้ายมือของนักบินเราจะเห็นว่ามีแผ่นฟิล์มติดอยู่ที่ด้านหน้าหน้าต่างแล้วมีแสงแดดลอดเข้ามา แล้วเมื่อกล้องแพนมาที่นักบินคนที่สอง (Neil Armstrong) จะเห็นว่ามีหน้าต่างอยู่ด้านขวามือของเขา และเมื่อมองออกไปเราก็จะมองเห็นโลกอีกครั้งหนึ่ง จากภาพแรกบอกว่ายานกำลังเดินทางไปดวงจันทร์ได้ครึ่งทางแล้ว แต่จากที่เห็นคือไม่ใช่ และไม่ตรงกับที่กองบัญชาการการบิน (Command Service Module - CSM) บอก อย่างไรก็ตามเมื่อตัวบอกเวลาได้แจ้งว่าระยะเวลาผ่านไปได้ 34 ชม. 16 น. แล้ว แต่จากภาพโลกที่มองเห็นได้จากหน้าต่างน่าจะเป็นไปได้ว่าน่าจะยังอยู่ในวงโคจรโลกระดับต่ำ (low earth orbit) และไม่ได้อยู่กลางทางที่กำลังเดินทางไปถึงดวงจันทร์อย่างแน่นอน และนี่ก็น่าจะเป็นเหตุผลว่าทำไมพวกเขาต้องถ่ายภาพโลกจากระยะไกลมาให้ดู และเราจะเห็นว่าจะมีแผ่นฟิล์มที่เป็นภาพชาร์ตของดวงดาวติดอยู่ที่หน้าต่าง ซึ่งก็เป็นวิธีเดียวกับการถ่ายวิดีโอภาพโลกที่เราเห็นกันเมื่อสักครู่นี้ จากหลักฐานสองชิ้นนี้ก็พอจะชี้ให้เห็นว่ามีอะไรผิดปกติอย่างมากในการบันทึกเหตุการณ์ยาน Apollo ครั้งนี้
Dr. David Groves จากประเทศอังกฤษ ผู้เชี่ยวชาญด้านการประมวลผลภาพ (image processing) เป็นนักวิเคราะห์ภาพคอมพิวเตอร์ด้านฟิสิกส์และโฮโลแกรม เขาทำงานวิจัยระดับปริญญาเอกในการพัฒนาเทคนิคการสร้างภาพโฮโลแกรมโดยใช้คอมพิวเตอร์เพื่อใช้วิเคราะห์ภาพต่าง ๆ และบริษัทของเขา Quantech Image Processing ใช้เทคนิคการประมวลผลภาพเหล่านี้ในการดึงข้อมูลของภาพสามมิติออกมาจากภาพสองมิติที่ใช้กันในวงการรวมไปถึงในทางการแพทย์ เขายืนยันว่าภาพถ่ายจาก NASA ที่เราได้วิเคราะห์มาเต็มไปด้วยความไม่สอดคล้องกัน โดยที่ไม่สามารถมีเหตุผลอธิบายได้หรือแม้แต่จะมีข้อแก้ตัวได้
Ronnie กล่าวว่าไม่น่าแปลกใจเลยที่จะมีคนจำนวนมากทั้งที่เป็นคนที่มีความสามารถและเป็นนักคิดต่างเริ่มตระหนักว่ามีอะไรไม่ชอบมาพากลในโครงการ Apollo แล้วทำไมคนที่อยู่ในอาชีพนี้ที่ทำงานในวงการอวกาศไม่ออกมาพูดอะไรบ้าง พวกเขามีเหตุผลอะไรกัน ที่จริงก็มีบางคนพูดอย่างเช่น Bill Wood ซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์จากรัฐแคลิฟอร์เนีย จบการศึกษาด้านคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ และเคมี เขามีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการที่เป็นความลับระดับชาติของอเมริกา
Bill Wood ทำงานกับผู้รับเหมาที่ทำโครงการต่าง ๆ ให้กับรัฐบาลรวมไปถึง McDonnell Douglas (บริษัทผลิตเครื่องบินของอเมริกา) และรวมไปถึงเหล่าวิศวกรที่ทำงานกับจรวด Saturn 5 ที่โครงการ Apollo ใช้ไปดวงจันทร์ด้วย เขากล่าวว่า "ผมคิดว่าหลาย ๆ คนในวงการการบินที่ผมได้ติดต่องานด้วยไม่อยากจะเชื่อว่าเรื่องนี้มันเกิดขึ้นจริง เพราะว่ามัน (โครงการ Apollo) เป็นความภาคภูมิใจของพวกเขาที่ทำให้พวกเขาอยากทำงานในอาชีพนี้ และโดยเฉพาะในอเมริกามันทำให้เรารู้สึกภาคภูมิใจกับประเทศของเราที่เราทำมันได้สำเร็จ พวกเขาก็เลยมีความลังเลใจที่จะตั้งคำถามอะไรก็ตามที่จะมาทำลายภาพลักษณ์อันสูงส่งนี้ และโดยเฉพาะกับคนที่ทำงานในโครงการ Apollo สำหรับพวกเขานั้นโครงการนี้เป็นเหมือนการประสบความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่ที่พวกเขาสามารถทำได้ในชีวิตของพวกเขา แน่นอนว่าพวกเขาต้องคิดไปแบบนั้นแทนที่จะคิดว่าพวกเขาก็เหมือนกับคนอื่นอีกเป็นล้านที่กำลังถูกหลอกให้ทำงานในเรื่องที่ไม่ใช่เรื่องจริง"
ส่วน Dr. Ian Crawford อาจารย์จากภาควิชาฟิสิกส์และดาราศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอนมีความเห็นตรงกันข้าม เขากล่าวว่า "สำหรับผมความคิดที่ว่าโครงการ Apollo เป็นเรื่องหลอกลวงนั้นเป็นเรื่องเหลวไหลโดยสิ้นเชิง ผมว่านี่มันเป็นหลักฐานชิ้นใหญ่และสำคัญมากทางด้านวิทยาศาสตร์และเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ตามสามัญสำนึก"
HJP Arnold เป็นนักดาราศาสตร์และเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านภาพถ่าย และเขายังเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านอวกาศและการถ่ายภาพดวงดาว เขาเป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการที่บริษัทโกดักตอนโครงการ Apollo เขายังเขียนหนังสืออีกหลายเล่มเกี่ยวกับการถ่ายภาพอวกาศและการสำรวจอวกาศ เขาอธิบายว่าประเภทของฟิล์มที่นีล อาร์มสตรองใช้ถ่ายภาพบนดวงจันทร์เป็นฟิล์ม 17 มม.
โดยที่ Brian Welch ผู้อำนวยการด้านการให้บริการด้านสื่อของ NASA ระบุว่าฟิล์มที่ใช้เป็น "ฟิล์มของโกดักที่บริษัทผลิตมาให้โดยใช้เจลบาง ๆ และใช้น้ำยาพิเศษเฉพาะฟิล์มนี้ เพื่อให้ฟิล์มสามารถอยู่ในสภาพสุญญากาศได้ และอยู่ได้ในสภาพที่มีอุณหภูมิร้อนและเย็นสูงมากแบบสภาพแวดล้อมของดวงจันทร์"
ซึ่งแตกต่างจากสิ่งที่ HJP Arnold บอกคือเขากล่าวว่า "มันเป็นฟิล์มของโกดักซึ่งมีความไวตามปกติเหมือนกับฟิล์มถ่ายภาพทั่ว ๆ ไปในตอนนั้น... มันเป็นฟิล์ม Ektachrome X หรือที่เรียกว่า 64 ASI หรือปัจจุบันนี้เรียกว่า ISO แน่นอนมันเป็นฟิล์ม 160 ที่ไวมาก"
Ronnie สรุปว่าฟิล์มที่ใช้ถ่ายภาพเป็นฟิล์มที่เคลือบน้ำยาตามปกติทั่วไป ถ้าอย่างนั้นหรืออาจจะเป็นที่กล้องที่มีความพิเศษมาก บริษัท Hasselblad ในประเทศสวีเดนเป็นโรงงานผลิตกล้องที่ NASA สั่งผลิตเพื่อให้สามารถเอาไปใช้บนดวงจันทร์ได้
Jan Lundberg เป็นวิศวกรผู้รับผิดชอบในการผลิตกล้องเพื่อเอาไปใช้ในงานนี้ เขากล่าวว่า "ที่จริงแล้ว NASA จะทำการปรับปรุงอุปกรณ์เองเพื่อเอาไปใช้งาน พวกเขาได้เอากล้องที่ปรับปรุงแล้วมาให้ดูแล้วถามเราว่าเราทำแบบนี้ได้ไหม เราก็ตอบไปว่าทำได้สิ เราทำได้ดีกว่าด้วย จากนั้นเราก็ชี้แจงข้อกำหนดทางเทคนิคต่าง ๆ เพื่อให้ได้รับการอนุมัติจาก NASAหลังจากนั้นกระบวนการปรับปรุงต่าง ๆ เราก็ทำที่โรงงานเรานี่เอง" "เราทำการปรับให้กล้องสามารถโหลดฟิล์ม 17 มม. แบบมาตรฐานได้จากด้านหลัง โดยให้มีการป้องกันทั้งจากด้านในและตรงช่องใส่ฟิล์ม"
David S. Percy กล่าวว่า "ภาพนิ่งที่ถ่ายจากดวงจันทร์ทั้งหมดมาจากกล้องของ Hasselblad ซึ่งจะมีเส้นกากบาทเพื่อวัดระยะห่างระหว่างพื้นที่กับภาพ และตรงกลางจะมีขีดกากบาทอีกเพื่อใช้เป็นเส้นเล็งภาพ เส้นเล็งพวกนี้จะถูกถ่ายติดไปด้วยในฟิล์ม และมันถูกตั้งให้เป็นจุดโฟกัสของกล้องมืออาชีพจากการ
ผลิตของโรงงานผลิตเลนส์ Zeiss และแปลว่ามันเอาออกไม่ได้ ดังนั้นการถ่ายภาพทั้งหมดที่ถ่ายบนดวงจันทร์จะต้องเห็นเส้นเล็งนี้ตรงกลางภาพ นอกจากนั้นมันเป็นไปไม่ได้ที่สิ่งของที่ถูกถ่ายจะมาอยู่ด้านหน้าเส้นเล็งดังกล่าวในภาพที่อัดออกมาเป็นรูปแล้ว"
อย่างในภาพของ Apollo 17 ก็เช่นเดียวกัน เราจะเห็นว่ามีแหล่งที่ให้แสงสว่างมาจาก 2 แหล่ง คือเส้นสีเหลืองและสีเขียวตามเงาของตัวนักบินอวกาศและก้อนหินด้านหลัง เมื่อแพนมาที่ก้อนหินด้านหน้าปรากฏว่ามีตัวอักษร "C" อยู่บนก้อนหินและที่พื้นสองตำแหน่งซึ่งก็แปลกดีและเป็นหลักฐานบ่งบอกว่าภาพเหล่านี้ผ่านกระบวนการตัดต่อและดัดแปลงมาแน่นอน
ประเด็นต่อไปเป็นเรื่องแสงเงาอีกเรื่องหนึ่ง จากในภาพเราจะเห็นว่าดวงอาทิตย์อยู่ด้านหลังของนักบินและอยู่ด้านหลังรถโรเวอร์ ทำให้เงาของนักบินพาดมาด้านหน้าซึ่งเราไม่ควรมองเห็นรายละเอียดที่อยู่ด้านหน้าของชุดนักบินเพราะมันต้องอยู่ในเงามืด แต่ในภาพที่ NASA เอามาให้ดูกลายเป็นว่ามีแสงส่องไปที่ด้านหน้านักบินทำให้เราเห็นรายละเอียดของชุดชัดเจน
จากหลักฐานเหล่านี้จึงทำให้เชื่อว่าการถ่ายภาพในบนดวงจันทร์จากโครงการ Apollo นั้น มีแหล่งที่ให้แสงสว่างนอกเหนือจากดวงอาทิตย์ ซึ่งหมายถึงมีการจัดแสงเพื่อช่วยในการถ่ายภาพ ซึ่งในหลักฐานชิ้นต่อมาเป็นภาพนิ่งที่ Aldrin กำลังก้าวลงมาจากยานและมีแสงสะท้อนเป็นเงาที่ด้านหลังรองเท้าบูท และ Dr. David Grovesได้ใช้เทคโนโลยีจากบริษัทของเขาระบุได้ว่าแสงที่สะท้อนมานั้นอยู่ในระยะห่างเท่าไหร่ จากการคำนวณเขาบอกว่า "จุดที่แสงส่องมาอยู่ห่างจากแสงสะท้อนที่รองเท้าบูทด้านขวาประมาณ 24 - 36 ซม. ส่องมาจากด้านขวาของกล้อง แปลว่ามีการจัดแสงในการถ่ายภาพนี้"
ถัดมาเป็นรูปที่ถือได้ว่าดังที่สุดจากภาพถ่ายทั้งหมด และมีหลายประเด็นที่ให้ได้ศึกษากันนอกจากประเด็นเรื่องแสงเงา ในรูปนี้คือภาพของ Buzz Aldrin ที่ถูกถ่ายโดย Neil Armstrong ซึ่งภาพสะท้อนที่กระจกที่หมวกจะมองเห็น Armstrong กำลังยืนถือกล้องถ่ายรูปอยู่ จะมองเห็นตัวยาน LEM และธงชาติอยู่ด้วย ข้อสังเกตคือเส้นเล็งที่เป็นรูปกากบาทที่ปกติต้องอยู่ตรงกลางภาพมันขยับมาอยู่ที่ด้านล่างของขาขวาของ Aldrin ซึ่งเป็นภาพที่ไม่น่าจะเป็นไปได้เพราะกล้องถูกสะพายอยู่ที่ระดับหน้าอกของนีลตลอดเวลา จากในภาพ Dr. David Groves สามารถคำนวณได้ว่าผู้ถ่ายภาพนี้ต้องอยู่ในระดับสูงกว่า Aldrin ประมาณ 2 ฟุต และแน่นอนว่าภาพนี้ไม่ได้ถูกถ่ายโดย Armstrong เพราะจากภาพที่สะท้อนมาเขาอยู่ในระดับที่สูงกว่า Aldrin เพียงไม่กี่นิ้ว
เรื่องของภาพถ่ายยังมีอีกหลายประเด็นที่สารคดีชิ้นนี้นำเสนอไว้ แต่สำหรับช่วงสุดท้ายของบทความนี้ขอจบตรงเรื่องของทักษะการถ่ายภาพนิ่งของนักบินอวกาศที่สามารถเก็บรายละเอียดภาพ จัดองค์ประกอบภาพได้ดีมากราวกับเป็นภาพถ่ายของช่างภาพมืออาชีพ ที่ถ่ายในสตูดิโอที่มีการจัดแสงอย่างดี และภาพถ่ายเหล่านั้นก็สามารถเอามาใช้เพื่อการประชาสัมพันธ์โครงการ Apollo ซึ่งเป็นผลดีต่อองค์กร NASA ด้วย ทั้ง ๆ ที่นักบินที่อยู่ในชุดอวกาศแบบนั้นทำให้ยากมากกับการใช้งานกล้องถ่ายรูป กล้อง Hasselblad ไม่มีช่องมองภาพ นักบินทำได้แค่หันกล้องไปทิศทางที่ต้องการถ่าย สามารถปรับเลนส์ ปรับอุปกรณ์ได้นิดหน่อย แต่ก็ได้ภาพออกมาดีมาก ซึ่งสวนทางกับการถ่ายภาพวิดีโอที่ต้องให้กองบัญชาการจาก Houston คอยบอกการตั้งกล้องและปรับขยับกล้องอยู่นานมากกว่าจะได้ภาพที่ดีออกมาได้
ตอนที่ 2
http://flatearthmatters.blogspot.com/2018/01/4-apollo-2.html
สารคดีเรื่อง Conspiracy Theory: Did We Land on the M? (พากย์ภาษาไทย)
โดยสำนักข่าว Fox TV Network (ออกอากาศปี 2001)
-------------------------------------------------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น