วันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2562

51) Planisphere อุปกรณ์ดูดาวที่ประดิษฐ์ขึ้นจากโมเดลโลกแบน

อุปกรณ์ดูดาวที่เรียกว่า planisphere หรือบางครั้งก็เรียกว่า star map / star chart / star wheel คนไทยเรียกว่าแผนที่ดาวหรือแผนที่ท้องฟ้า มีลักษณะเป็นแผ่นกลม ๆ ที่ใช้คำนวณตำแหน่งของดาวได้ตลอดทั้งปี  planisphere ได้ถูกประดิษฐ์ขึ้นมาตั้งแต่ปี 1624 คำว่า planisphere คือคำสองคำผสมกัน plane + sphere คำว่า plane แปลว่าแบนหรือราบเรียบ ส่วนคำว่า sphere นอกจากจะแปลว่ารูปทรงกลม ก็สามารถแปลได้ว่ามีลักษณะเป็นวง วงกลม หรือจะแปลว่าอาณาจักรก็ได้ ในภาพนี้คือ planisphere ของรัชกาลที่ 4

Planisphere ของรัชกาลที่ 4

ในปี 1975 ที่สหรัฐอเมริกามีคนจดสิทธิบัตรเครื่องมือที่เรียกว่า UNIVERSAL PLANISPHERE COMPLETE GUIDANCE AND COMPUTER SYSTEM (หมายเลข 3,858,334 ลงวันที่ Jan. 7, 1975) ผู้ประดิษฐ์ William A. Eisenhauer, Van Wert, Ohio ซึ่งสามารถใช้คำนวณเพื่อการดูดาวและใช้บอกตำแหน่งต่าง ๆ บนโลกได้ จะเห็นว่าในแบบที่ Eisenhauer ออกแบบไว้นั้น planisphere ใช้กับโลกที่มีลักษณะแบนและมีขั้วโลกเหนืออยู่ตรงกลาง (Fig.8) 




นอกจากนั้นในรายละเอียดของสิทธิบัตรชิ้นนี้ยังอ้างอิงสิทธิบัตรอีกฉบับนึงของ Gleason (หมายเลข 497, 917 ของปี 1893) ซึ่งเป็นสิ่งประดิษฐ์ของ Alexander Gleason ที่เขาทำขึ้นเพื่อเป็น time chart บนแผนที่โลกแบนซึ่งใช้บอกเวลาได้ทุกประเทศทั่วโลก เคยเขียนรายละเอียดไว้ในบทความชิ้นนี้ https://flatearthmatters.blogspot.com/2018/12/29-alexander-gleason-1893.html



และคำว่า planisphere ก็ยังนำมาใช้กับแผนที่โลกฉบับแรกที่ถูกสร้างขึ้นโดยใช้การวัดมุมจากดวงดาวกับตำแหน่งพื้นที่ต่างๆ บนโลกก็มีชื่อเรียกว่า Planisphère terrestre ซึ่งถูกสร้างโดย โดเมนิโก แคสสินี (Giovanni Domenico Cassini) นักดาราศาสตร์ชาวอิตาเลียน แผนที่โลกนี้มีขนาดใหญ่มากมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 24 ฟุต (7.80 เมตร) มีหมุดปักอยู่ตรงกลางให้เป็นขั้วโลกเหนือ อยู่ที่หอดูดาวในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส แผนที่นี้ใช้เวลาทำนานมากถึง 3 ชั่วอายุคน ตั้งแต่ตัว Cassini จนมาถึงลูกชาย และเสร็จสิ้นในรุ่นของหลานชายใช้เวลากว่า 30 ปี

ในหนังสือ "จดหมายเหตุดาราศาสตร์จากฝรั่งเศสเกี่ยวกับราชอาณาจักรสยาม ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช" ได้ระบุไว้ว่า "แผนที่โลกขนาดใหญ่ที่แคสสินีสร้างอยู่บนพื้นชั้น 3 ของหอดูดาวแปดเหลี่ยมทางด้านตะวันตกของกรุงปารีส ที่ซึ่งโกษาปานราชทูตสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเคยไปเยือนมาแล้ว" รายละเอียดขียนไว้ในนี้ https://flatearthmatters.blogspot.com/2018/07/blog-post.html



ในหนังสือเรื่องการทำแผนที่ที่สำนักงานสำรวจธรณีวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา (USGS) ใช้มีชื่อว่า Map Projections - A Working Manual (U.S. Geological Survey Professional Paper 1395 เขียนโดย John D. Snyper (https://pubs.usgs.gov/pp/1395/report.pdf)

เป็นคู่มืออธิบายการทำ map projection ของอเมริกาที่ตีพิมพ์ตั้งแต่ปี 1987 ในหน้าที่ 8 ได้อธิบายถึงการระบุตำแหน่งบนโลกโดยใช้การวัดเส้น longitude และ latitude นั้นเริ่มต้นมาจากนักดาราศาสตร์ชาวกรีกที่ชื่อว่า Hipparchus (ตั้งแต่ 2 ศตวรรษก่อนคริสตศักราช) และก็เป็นแนวคิดที่ Ptolemy ก็นำมาใช้ด้วยเช่นกัน


Map Projections - A Working Manual (U.S. Geological Survey Professional Paper 1395 by John D. Snyper


ตรงข้อความที่ขีดเส้นแดงระบุว่า "เป็นระยะเวลากว่า 2,000 ปีมาแล้วที่การวัดเส้น latitude บนโลกจะใช้วิธีการทางดาราศาสตร์ 2 วิธีคือ ในตอนกลางวันเราจะวัดมุมความสูงของดวงอาทิตย์กับเส้นขอบฟ้า ส่วนในตอนกลางคืนเราจะวัดมุมความสูงของดวงดาวโดยเฉพาะดาวเหนือ องศาของมุมที่เปลี่ยนไปจะบอกเวลา วัน และฤดูกาลได้ตามเส้น latitude ของตำแหน่งนั้น" "เครื่องมือที่ใช้ในการวัดมีหลายอย่าง เช่น cross-staff, astrolabe, back-staff, quadrant, sextant, and octant ซึ่งจะใช้ร่วมกับกล้องดูดาว"



astrolabe


 back-staff

sextant


cross-staff

quadrant


octant


sextant ที่ถูกนำเข้ามาในประเทศไทยในรัชการที่ 4



Astrolabe คืออุปกรณ์ที่ใช้ดูดาวและสามารถใช้เป็นอุปกรณ์นำทางด้วยการวัดมุมของดวงดาวกับพื้นที่บนโลก นอกจากนั้นมันยังช่วยบอกเวลา บอกฤดูกาล ใช้คำนวณการเคลื่อนที่ของดวงดาวได้ Astrolabe มีใช้มาตั้งแต่ยุคกรีกโบราณระหว่างปี 220-150 BC (220 - 150 ปีก่อนคริสตศักราช) ก็เป็นเครื่องมือดูดาวที่ใช้กับโลกที่มีลักษณะแบน


Astrolabe proves Flat Earth

ทีนี้ในกรณีของโลกกลมที่ใช้ระบบจักรวาลแบบ Heliocentric ที่ดวงอาทิตย์ต้องโคจรไปในจักรวาลด้วยความเร็ว 240 กม./วินาที และโลกก็เคลื่อนที่ตามไปด้วยความเร็วที่เท่ากัน ถามว่าด้วยการเคลื่อนที่เร็วขนาดนั้นและระยะเวลาผ่านไปเป็นพันปีแล้วแต่เรายังสามารถใช้ planisphere หรือ astrolabe ซึ่งประดิษฐ์ขึ้นมาบนคอนเซ็ปต์ของโลกแบนที่อยู่นิ่ง ไม่เคลื่อนที่ได้อย่างไร??

Heliocentric Model

----------------------------------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น