ก่อนจะทำความรู้จักกับดาวอื่น จักรวาลอื่น หรือสิ่งมีชีวิตจากโลกอื่น เรารู้จักตัวเราเองดีหรือยัง??
Heliocentric และ Geocentric เป็นโมเดลที่ใช้อ้างอิงเรื่องศูนย์กลางของจักรวาล ทฤษฎี Heliocentric จะมองว่าดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของระบบ ส่วน Geocentric มองว่าโลกคือศูนย์กลางใช้หลักการคิดเชิงปรัชญาและเกี่ยวข้องกับความเชื่อทางศาสนาและวัฒนธรรมตั้งแต่ยุคสมัยโบราณ ส่วน Heliocentric ใช้หลักการทางดาราศาสตร์และการคำนวณทางคณิตศาสตร์ แต่ปัจจุบันยังไม่มีข้อสรุปว่าทฤษฎีใดถูกต้อง โดยนักดาราศาสตร์จะอธิบายว่าทั้งสองแนวคิดมีอิทธิพลทั้งคู่ และในต่างประเทศจะสอนให้นักเรียนรู้จักทั้งสองระบบแล้วใช้หลักการดูดาวเพื่อสอนให้ฝึกใช้กล้องดูดาวสังเกตการเคลื่อนที่ของดาวต่าง ๆ เพื่อใช้เปรียบเทียบกัน
Geocentric and Helicentric Models
ความเชื่อด้าน Geocentric เกี่ยวข้องกับความเชื่อทางศาสนา ซึ่งมองว่าโลกเป็นศูนย์กลางแห่งจักรวาลมีมาตั้งแต่ยุคสมัยกรีกโบราณ และมีนักปราชญ์คืออริสโตเติลและโตเลมี (Ptolemy) ที่สนับสนุนแนวคิดนี้ ส่วนในศาสนาคริสต์จะเชื่อว่าพระเจ้าเป็นผู้สร้างโลก โลกมีลักษณะแบน ตั้งอยู่บนหลังเต่า อยู่นิ่ง ๆ ไม่เคลื่อนไหวและมีโดมครอบไว้ ถัดจากโดมจะมีน้ำล้อมรอบอยู่ โดยมีดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และกลุ่มดาวอื่น ๆ เคลื่อนที่ไปรอบ ๆ (มีระบุในคัมภีร์ไบเบิล) ในศาสนาพุทธและอิสลามก็มีการบรรยายลักษณะของโลกที่คล้าย ๆ กัน
ต่อมาคริสตศตวรรษที่ 16 แนวคิดเรื่องดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางหรือ Heliocentric ได้ถูกนำเสนอโดยบาทหลวงชาวโปแลนด์ชื่อ นิโคลัส โคเปอร์นิคัส ซึ่งเป็นนักดาราศาสตร์และนักคณิตศาสตร์ด้วย ยุคต่อมาก็มีโจฮันเนส เคปเลอร์ และกาลิเลโอ กาลิเลอีก็ให้การสนับสนุนแนวคิดนี้ การเสนอความคิดของกาลิเลโอขัดแย้งกับศาสนจักรจึงเป็นเหตุให้เขาถูกจองจำ แต่วิธีคิดของกาลิเลโอได้เริ่มใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นการคิดเชิงเป็นเหตุเป็นผลมากกว่าความเชื่อทางศาสนา มีการบันทึกและเก็บข้อมูล ซึ่งทำให้กาลิเลโอก็มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์อย่างมาก ต่อมาเมื่อวิทยาการด้านกล้องดูดาวได้พัฒนามากขึ้น เซอร์ ไอแซค นิวตัน สนใจในทฤษฎีของกาลิเลโอและเขาเป็นผู้เสนอเรื่องแรงโน้มถ่วงเพื่ออธิบายปรากฏการณ์การเคลื่อนที่ของดวงดาวทั้งหลายได้ แนวคิดเรื่องดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางแห่งจักรวาลก็เริ่มได้รับการยอมรับมากขึ้น และถูกพัฒนาต่อมาเรื่อย ๆ และถูกใช้บรรจุในหลักสูตรการศึกษา ในทางตรงกันข้ามแนวคิด Geocentric ก็ไม่ได้รับการพัฒนาและมักถูกมองว่าล้าสมัยไม่เข้ากับยุคปัจจุบัน แม้ว่า Geocentric จะเป็นแนวคิดที่สอดคล้องกับความเชื่อทางศาสนาแต่โดยหลักการเบื้องต้นก็คือการตั้งสมมติฐานของลักษณะการเคลื่อนที่ของโลกกับกลุ่มดาวอื่นรอบ ๆ เป็นไปตามสั
จะเห็นได้ว่าความเชื่อเรื่องโลกกับจักรวาลสัมพันธ์กันอย่างลึกซึ้งกับความเชื่อดั้งเดิมทางศาสนา และในยุคสมัยก่อนศาสนาก็ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการปกครองผู้คนในสังคม ซึ่งก็หมายถึงอำนาจในการควบคุมความคิดของคนด้วย ปัจจุบันแม้ว่าความรู้เรื่องโลกและจักรวาลดูเหมือนจะแยกออกจากความเชื่อทางศาสนาได้แล้ว และเราจะให้ความสำคัญกับหลักฐานข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์กันมาก หากใครสามารถหาข้อมูลมาสนับสนุนความเชื่อของตนเองได้ก็จะมีอิทธิพลทำให้คนอื่น ๆ เปลี่ยนความเชื่อได้ แต่สิ่งที่ก็ควรต้องระวังคืออิทธิพลด้านอื่นที่ไม่เกี่ยวกับเนื้อหานั้น ๆ โดยตรง เช่น คนที่พูดมีสิทธิ์มีอำนาจมากกว่า มีอิทธิพลสูงกว่า หรือมีความรู้มากกว่า มีอายุมากกว่า เรื่องพวกนี้ไม่ใช่ปัจจัยในการใช้ตัดสินข้อมูล การตัดสินใจควรต้องขึ้นอยู่กับหลักฐานข้อมูลที่ตรงกับความเป็นจริงและเข้ากับบริบท หากมีหลักฐานใหม่เพิ่มเติมเพราะมีการศึกษาเพิ่มที่สามารถอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นได้ดีกว่า เรื่องนั้น ๆ ก็ควรได้รับการคิดพิจารณาใหม่ อีกอย่างคือการถูกครอบงำทางความคิดจากการใช้คำโฆษณาชวนเชื่อ (propoganda) ต้องระวังให้ดีว่าเรายืนอยู่บนความเชื่อที่เป็นกลางแล้วหรือยังควรระวังด้วยว่าตัวเราติดภาพจำจากอิทธิพลอื่นมาหรือเปล่า เช่น จากภาพยนตร์ จากเรื่องราววิทยาศาสตร์ที่น่าตื่นเต้นเพราะไม่อย่างนั้นเราจะไม่สามารถพิสูจน์ข้อเท็จจริงได้เลยหากยังทำให้ความคิดเป็นกลางไม่ได้ เราจะไม่สามารถเข้าใจหลักการและเหตุผลของอีกฝั่งได้เลย
จากข้อความด้านบนที่ระบุว่าปัจจุบันนักดาราศาสตร์ก็ยังใช้แนวคิดของทั้ง Geocentric และ Heliocentric ในการศึกษาดวงดาวต่าง ๆ อยู่ หลังจากที่พยายามหางานวิจัยและข้อมูลทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่จะระบุว่าตกลงแล้วโลกของเรามีลักษณะอย่างไรกันแน่ผู้เขียนเองก็ยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้ ซึ่งก็แปลกดีทั้งที่เรามีองค์กร NASA มาตั้งแต่ปี 2501 เราส่งมนุษย์ไปเหยียบดวงจันทร์ ไปถึงดาวอังคารเราก็ไปมาแล้ว เรามีดาวเทียมลอยในอวกาศหลายดวง (บางหลักฐานบอก 3,000 ดวง บางที่บอก 20,000 ดวง) เรามีสถานีวิจัยอวกาศนานาชาติ ISS อยู่ตั้งแต่ปี 2541 หลายประเทศก็มีเทคโนโลยีขั้นสูงและทุ่มเทงบประมาณศึกษาด้านนี้ส่งนักบินอวกาศขึ้นไปเยอะมากแต่เรายังไม่สามารถมีความชัดเจนตรงนี้ได้ ทั้งที่องค์ความรู้ตรงนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาต่อยอดความคิดต่อไป
Heliocentric to Geocentric Plane 3D Models
จักรวาลแบบ Heliocentric และ Geocentric ในแบบ 3D
1) ถ้าโลกมีแรงดึงดูด (attraction force) ที่เกิดจากการหมุนรอบตัวเอง รอบดวงอาทิตย์ หรือมีการหมุนในลักษณะอื่น ๆ มันจะไม่สามารถเกิดลมได้ ทั้งนี้ได้ทำการสังเกตตั้งแต่ลมเบาไปจนถึงลมที่พัดแรงในระดับความเร็ว 50 น็อต ซึ่งยืนยันได้ว่าโลกไม่มีแรงดึงดูด (attraction force)
2) ลักษณะของคลื่นทะเลที่ชายฝั่งมีระดับความสูงสัมพันธ์กับระดับลมที่พัด ถ้าหากโลกหมุนรอบตัวเองด้วยความเร็ว 1,670 กม./ชม.จริง เราต้องพบเห็นคลื่นที่พัดไปเฉพาะทางทิศตะวันออกเท่านั้น แต่นักสมุทรศาสตร์วิทยาระบุว่าลักษณะการเกิดคลื่นของโลกเกิดได้ทุกทิศทาง และในขณะที่โลกหมุนด้วยความเร็วขนาดนั้นจะต้องเกิดลมที่พัดแรงมากถึงขั้นทำลายทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกไปหมด ทั้งนี้เราจึงไม่สามารถยอมรับได้ว่าโลกมีการเคลื่อนที่ใด ๆ
3) การพบเห็นก้อนหินที่วางซ้อน ๆ กันที่ทะเลสาป หรือที่แม่น้ำทั่วไปในหลาย ๆ ประเทศเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญที่จะบอกว่าได้ว่าโลกมีลักษณะอยู่นิ่ง เพราะหากโลกหมุนรอบตัวเอง หมุนรอบดวงอาทิตย์ หมุนในกาแลคซีเพื่อการขยายตัวของจักรวาล ก้อนหินก็คงจะไม่สามารถตั้งอยู่แบบนั้นได้ ดังนั้นก้อนหินที่ไม่ได้ถูกเคลื่อนที่เหล่านี้จะเป็นการสนับสนุนที่ดีของทฤษฎี Geocentric
4) จรวดที่ถูกปล่อยขึ้นไปทำภารกิจบนอวกาศแต่สามารถกลับลงมายังโลก ณ จุดเดิมได้ ทั้งที่โลกมีการเคลื่อนที่ มีการหมุนด้วยความเร็วสูงมาก ซึ่งหากจรวดที่ขึ้นไปบนอวกาศทำภารกิจเสร็จสิ้นแล้ว การเคลื่อนที่ของโลกก็ต้องห่างจากจุดที่ปล่อยตัวไปมาก และด้วยความเร็วของจรวด 28,000 กม./ชม. แต่โลกหมุนอยู่ที่ 108,000 กม./ชม. (รอบดวงอาทิตย์) จะเห็นได้ว่าโลกหมุนเร็วกว่าความเร็วที่จรวดทำได้อย่างมาก จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่จรวดจะกลับมายังโลก ณ จุดเดิมได้ แต่ในความจริงจรวดทุกลำที่ปล่อยขึ้นไปสามารถกลับมายังโลกได้อย่างง่ายดายและรวดเร็วมาก
5) ยิ่งไปกว่านั้นเรื่องของดาวเทียม ตำแหน่งของดาวเทียมจะมีระยะห่างที่คงที่กับโลก หากมีการหันผิดเล็กน้อยแค่เมตรเดียวการรับสัญญาณโทรทัศน์ สัญญาณโทรศัพท์ก็น่าจะมีปัญหา โลกหมุนรอบตัวเอง 1,670 กม./ชม. หมุนรอบดวงอาทิตย์ 108,000 กม./ชม. หมุนไปรอบ ๆ กาแลคซี่อีก 220 กม./วินาที ดังนั้นการเคลื่อนที่ด้วยความเร็วขนาดนี้ดาวเทียมจะต้องเปลี่ยนระดับความเร็วอยู่เสมอเพื่อให้รักษาระยะห่างจากโลกให้ได้ แต่ในความจริงดาวเทียมไม่มีแหล่งพลังงานที่จะทำการเร่งหรือลดระดับความเร็วได้ ดังนั้นจึงหมายความว่าโลกนั้นอยู่นิ่งอยู่กับที่
6) ประเด็นที่ว่าโลกมีระดับความเร็วที่ไม่คงที่ จึงทำการถ่ายภาพโลกจากดาวเทียมหรือถ่ายมาจากดวงจันทร์ไม่น่าจะเป็นไปได้ หากโลกหมุนด้วยความเร็วขนาดนั้นภาพต้องออกมาเบลออย่างมาก แต่ในความจริงภาพของโลกที่ถ่ายมาทุกใบมีความคมชัดดี
7) นอกจากนั้นยังมีเรื่องของดาวตกที่ในบางครั้งเราจะเจอดาวตกช่วงเช้าตรู่ หรือตั้งแต่เที่ยงคืนไปจนดวงอาทิตย์ขึ้น และจะมองเห็นอีกครั้งในช่วงดวงอาทิตย์ตกไปจนถึงเที่ยงคืน หากโลกมีการเคลื่อนที่ มีการหมุนจริง เราจะไม่สามารถเห็นดาวตกพวกนี้ ณ ตำแหน่งเดิมได้ ซึ่งก็อธิบายได้ว่าโลกอยู่ตำแหน่งจุดเดิมในอวกาศ
ต้นฉบับบทความ
The Geocentric Model of the Earth: Physics and Astronomy Arguments
โดย Kharroubi Amira น.ศ.ปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัย Sfax University ประเทศตูนีเซีย
http://www.gianfuffo.org/uploads/4/2/6/9/4269865/2016_the_international_journal_of_science___technoledge_flatearth.pdf
-----------------------------------------------------------------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น