**อ่านเพิ่มเติมเรื่อง ตำราทางดาราศาสตร์ในระบบจักรวาลแบบ Geocentric ของ Ptolemy
https://flatearthmatters.blogspot.com/2019/08/geocentric-ptolemy.html
University of Pennsylvania Library's Ms Codex 1881 - Astronomical treatises and tables
2) ถ้าระบบดาราศาสตร์ของ Ptolemy ผิด แล้วทำไมเรายังใช้อุปกรณ์เครื่องมือในการดูดาวที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นมาตั้งแต่สมัยที่ยังเชื่อว่าโลกแบน โลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล และมีดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์โคจรวนรอบโลก ทั้งที่ปัจจุบันเราเปลี่ยนมาเป็นระบบสุริยะแล้วแต่ก็ยังใช้อุปกรณ์เหล่านั้นในการดูดาวได้ถูกต้องเหมือนเดิมได้ล่ะ
**อ่านเพิ่มเติมเรื่อง Planisphere อุปกรณ์ดูดาวที่ประดิษฐ์ขึ้นจากโมเดลโลกแบน
William A. Eisenhauer, Van Wert อยู่ที่รัฐ Ohio ได้จดสิทธิบัตรเครื่องมือที่เรียกว่า UNIVERSAL PLANISPHERE COMPLETE GUIDANCE AND COMPUTER SYSTEM (หมายเลข 3,858,334 ลงวันที่ Jan. 7, 1975) สามารถใช้คำนวณการดูดาวและใช้บอกตำแหน่งต่าง ๆ บนโลกได้ จะเห็นว่าในแบบที่ Eisenhauer ออกแบบไว้นั้น planisphere
ใช้กับโลกที่มีลักษณะแบนและมีขั้วโลกเหนืออยู่ตรงกลาง (Fig.8)
3) ตอนที่ Copernicus นำเสนอทฤษฎีระบบสุริยะก็แค่เปลี่ยนเอาดวงอาทิตย์มาอยู่ตรงกลางและเอาโลกออก แต่เขาไม่ได้บอกว่าดวงอาทิตย์มีการเคลื่อนที่นะครับ ไม่ทราบว่าดวงอาทิตย์มาเคลื่อนที่ได้ตอนไหน ปัจจุบันระบบสุริยะบอกว่าดวงอาทิตย์กำลังพุ่งไปในจักรวาลด้วยความเร็วมากกว่า 200 กม./วินาที คุณทราบไหมว่าใครนำเสนอว่าดวงอาทิตย์มีการเคลื่อนที่เร็วขนาดนั้น
The helical model - our solar system is a vortex
4) ถ้าระบบดาราศาสตร์ของ Ptolemy ผิด แล้วทำไมนักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษ Sir John F.W. Herschel ถึงได้เขียนหนังสือ Outlines of Astronomy อธิบายระบบดาราศาสตร์ทั้ง Geocentric และ Heliocentric ไว้คู่กัน และหนังสือเล่มนี้คือตำราที่รัชกาลที่ 4 ใช้ศึกษาระบบดาราศาสตร์แบบชาวตะวันตก
ภาพจากบทความ 18 สิงหาคม 2411: เกิดสุริยุปราคาเต็มดวง, รัชกาลที่ 4 ทรงคำนวณล่วงหน้าได้อย่างแม่นยำ
https://www.silpa-mag.com/this-day-in-history/article_1610
5) แม้ว่า Copernicus นำเสนอระบบจักรวาลที่มีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางออกมาตั้งแต่ปี 1543 ชาวยิวซึ่งนิยมศึกษาเรื่องดาราศาสตร์ก็ยังใช้ตำราของ Ptolemy อยู่อีกกว่า 200 ปี และเพิ่งรับเอาระบบจักรวาลแบบ Copernicus มาสอนในโรงเรียนยิวเมื่อต้นศตวรรษที่ 19 นี่เอง
6) ส่วนนาฬิกาอันนี้เรียกว่า astronomical clock สร้างเมื่อปี 1410 อยู่ที่กรุงปราก สร้างโดยใช้ระบบดาราศาสตร์แบบ Geocentric ปัจจุบันเราเปลี่ยนมาเชื่อในระบบสุริยะ ดวงอาทิตย์อยู่ตรงกลาง โลกหมุนรอบตัวเอง หมุนรอบดวงอาทิตย์ และดวงอาทิตย์ยังพุ่งทยานไปในอวกาศอีก 720,000 กม./ชม. แต่นาฬิกาเรือนนี้ก็ยังบอกเวลา บอกวัน เดือน ปี ได้ถูกต้องเหมือนเดิม แปลกดีนะครับ
Astronomical Clock - Old Town Square, Prague
7) ถ้าระบบดาราศาสตร์ของ Ptolemy ผิด แล้วทำไมเมื่อปี 1893 Alexander Gleason ถึงประดิษฐ์ time chart ที่สามารถคำนวณเวลาได้ทั่วโลก โดยใช้แผนที่โลกแบนและอิงระบบดาราศาสตร์แบบ Geocentric ได้อย่างไร
**อ่านเพิ่มเติมเรื่อง แผนที่โลกแบนของ Alexander Gleason ปี 1893
8) ถ้าระบบดาราศาสตร์ของ Ptolemy ผิด แล้วทำไมนาฬิกา Seiko เรือนนี้ (และยังมีอีกหลายยี่ห้อ) สร้างนาฬิกาที่เรียกว่า world time clock โดยใช้หลักการคำนวณการบอกเวลาแบบเดียวกับ Alexnder Gleason ได้ยังไงล่ะครับ
Seiko World-Time Brass Clock Model QZ516G (Revised)
9) มีงานวิชาการอยู่ชิ้นนึงของ Jayant Shah ตีพิมพ์ในวารสาร Annals of Mathematical Sciences and Applications Volume 3, Number 1, 7–29, 2018 ได้ตรวจสอบความถูกต้องของการคำนวณเกี่ยวกับการเกิดสุริยุปราคาจากตำราโบราณ 3 ชิ้น คือตำรา Almagest ของ Ptolemy ตำรา Shoushihli ของจีน และ Tantrasangraha ของอินเดีย จากการทดสอบทางสถิติก็พบว่าการคำนวณของ Ptolemy มีความถูกต้องมากที่สุด พบข้อผิดพลาดเพียงแค่ 3%
10) ถ้าระบบดาราศาสตร์ของ Ptolemy ผิด แล้วทำไมนักทำแผนที่ถึงยังใช้วิธีการวัดมุมของดวงดาวแบบเดียวกับที่ Ptolemy ใช้ล่ะครับ
11) ถ้าระบบดาราศาสตร์ของ Ptolemy ผิด แล้วทำไมนาฬิกาแดดที่ถูกสร้างตั้งแต่ 750 ปีก่อน โดยใช้ระบบดาราศาสตร์แบบ Geocentric ถึงยังบอกเวลาได้ถูกต้องเหมือนเดิมได้ล่ะ
750 Year Old Sundial at Konark, India - Moondial too?
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น