วันศุกร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

42) ตอบคำถามเรื่อง Antarctica


คำถามถามมานิดนึง แต่คำตอบต้องตอบยาวหน่อยถึงจะเข้าใจ

1. สมาคมโลกแบน (Flat Earth Society) คือกลุ่มหน้าม้าหรือฝ่ายค้านแบบมีการจัดตั้งมา (shill หรือ controlled opposition) พวกเขาจะไม่ทำอะไรมากไปกว่าการใช้สื่อเป็นเครื่องมือเพื่อ discredit เรื่องโลกแบน ทำให้เป็นเรื่องตลกไร้สาระคนจะได้ไม่ต้องมาสนใจ เคยเขียนรายละเอียดไว้ในนี้แล้ว http://flatearthmatters.blogspot.com/2018/03/14.html


2. การเดินทางไป Antarctica ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับประชาชนทั่วไปเพราะต้องทำหนังสือขออนุญาตเข้าพื้นที่ตามสนธิสัญญา Antarctica Treaty (เริ่มใช้ปี 1959) มีการลงนามร่วมกันทั้งหมด 54 ประเทศ มีข้อกำหนดคือห้ามนำเรือ/เครื่องบินเข้ามาเลยเส้นละติจูดที่ 60 องศาใต้ หากต้องการนำเข้ามาต้องขออนุญาตก่อน


ขั้นตอนการขอนุญาตนั้นยุ่งยากมาก อย่างของประเทศอังกฤษก็มีข้อกำหนดหากใครจะนำเครื่องบินหรือเรือของสัญชาติอังกฤษเข้าพื้นที่ให้ทำเรื่องขออนุญาตตามขั้นตอนนี้ เอกสารนี้มาจากในลิงค์อยู่หน้า 10 https://assets.publishing.service.gov.uk/government/uploads/system/uploads/attachment_data/file/715771/Expedition_permit_application_guidance.pdf


3. ภาพกำแพงน้ำแข็ง (Ice wall) ที่ดีที่สุดคือภาพนี้ จากบริเวณ Ross Ice Shelf

Antarctica's Ice Walls - Amazing footage - Must Watch.


4. ความสูงของกำแพงน้ำแข็ง 

Icebreaker Agulhas at the Antarctica Iceshelf

5. สหรัฐอเมริกามีปฏิบัติการ Operation Deep Freeze ของหน่วยลาดตระเวนชายฝั่ง (United States Coast Guard) มาตั้งแต่ปี 1957 ซึ่งประจำการอยู่ที่สถานี McMurdo ภารกิจนี้รับผิดชอบการลาดตระเวนพื้นที่โดยรอบ และให้การสนับสนุนทางอากาศ ภาคพื้นดิน และทางน้ำ ดูแลการส่งเสบียง การเข้าออกพื้นที่ของนักวิทยาศาสตร์ที่ไปทำโครงการงานวิจัยต่าง ๆ ก็น่าแปลกว่า Antarctica ที่มีแต่น้ำแข็ง นกเพนกวิน สิงโตทะเล ฯลฯ จะเป็นพื้นที่ที่สหรัฐอเมริกาให้ความสำคัญมากถึงขนาดต้องมีหน่วยทหารมากำกับดูแล (อเมริกาทำภารกิจนี้ตั้งแต่ก่อนจะมีการลงนามใน Antarctica Treaty ในปี 1959 จนถึงปัจจุบัน)

Operation Deep Freeze I (released 1957)
https://www.youtube.com/watch?v=uA-1F5NSjsU


U.S. Coast Guard Cutter Polar Star breaks ice supporting Operation Deep Freeze 2018

U.S. Air Force In Antarctica • Operation Deep Freeze 2017

6. Scott Base นักวิจัยที่จะเข้าไปทำงานในสถานีวิจัยต่าง ๆ ก็ต้องมาฝึกอบรมการใช้ชีวิตที่ค่ายทหารก่อน อย่างถ้าใครจะไปทำงานที่ฐาน Scott Base ก็ต้องไปอบรมในค่ายทหารในประเทศนิวซีแลนด์


Scott Base, Antarctica (1965) (ABJC W3041/8)


7. Drake Passage หลายคนอาจจะคิดว่าต้องใช้กำลังทหารขนาดไหนในการตรวจตราดูแลพื้นที่ทั้งหมด ที่จริงด้วยตัวสนธิสัญญา Antarctica Treaty ที่มีการลงนามร่วมกัน 54 ประเทศ กำหนดให้ต้องมีการขออนุญาตเพื่อนำเรือและเครื่องบินเข้าพื้นที่ตั้งแต่เส้นละติจูดที่ 60 องศาใต้ และการทำเรื่องขออนุญาตต้องทำก่อนล่วงหน้าตามขั้นตอนที่บอกไปแล้ว นอกจากนั้นการเดินทางไปในพื้นที่ Antarctica ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย สภาพอากาศ คลื่นลมก็แรงมาก


John Stofflet in Antarctica: Rough Seas Ahead!


8. มีอะไรใน Antarctica แม้ว่าสนธิสัญญา Antarctica Treaty จะระบุว่าเป็นภารกิจการสำรวจเพื่องานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และห้ามไม่ให้มีกิจกรรมทางการทหารใด ๆ ในพื้นที่ แต่ที่จริงสหรัฐอเมริกาได้เข้าสำรวจพื้นที่ Antarctica ไว้อย่างละเอียดแล้วตั้งแต่ตอนทำภารกิจ Operation Highjump เมื่อปี 1946-1947 โดย Admiral Richard E. Byrd ที่นำกองกำลังทหารนาวิกโยธินเข้าไป 4,700 นาย พร้อมเรือรบ 13 ลำ และอากาศยานอีก 33 ลำ ซึ่งจากการสำรวจก็ระบุว่าพบแหล่งแร่ถ่านหินใหญ่มากจนสามารถใช้เป็นพลังงานเชื้อเพลิงให้กับโลกได้อีกเป็นร้อย ๆ ปี (นาทีที่ 27.25 - Coal, a mountain of coal. Byrd later declares Antarctic mines if once tapped could supply the world's coal needs for centuries.) การสำรวจพื้นที่ครั้งนี้ใช้การถ่ายภาพทางอากาศอย่างละเอียด และได้ภาพมามากซะจนต้องใช้เวลากว่า 5 ปีในการเอามารวมให้เป็นภาพของพื้นที่ Antarctica ทั้งหมด (นาทีที่ 27.45 - The exposed mapping film will take five years to assemble.)


THE SECRET LAND ANTARCTICA U.S. NAVY OPERATION HIGH JUMP REEL 2 2497


แล้วพื้นที่ของ Antarctica มีขนาดเท่าไหร่กันแน่??

9. James Cook Voyage กัปตันเจมส์ คุกออกสำรวจเส้นทางรอบ Antarctica ระหว่างปี 1772-1775 ใช้เวลาทั้งหมด 3 ปี 8 วันเป็นระยะทางกว่า 60,000 ไมล์ (96,560.64 กม.) ถ้าดูในแผนที่โลกกลมการล่องเรือรอบ Antarctica จะเป็นระยะทางแค่ประมาณ 11,000 ไมล์ (17,702.78 กม.) แต่ถ้าเอาเส้นทางการสำรวจของกัปตันคุกมา plot ในแผนที่โลกแบนก็จะได้ภาพนี้




Captain James Cook - Navigator of the Flat Earth (Part 1)

Captain James Cook - Navigator of the Flat Earth (Part 2)


10. James Clark Ross Voyage ต่อมาในปี 1839 - 1843 กัปตันเจมส์ คาร์ก รอส ออกสำรวจเส้นทางรอบ Antarctica เป็นระยะทางกว่า 62,400 ไมล์ (100,423.07 กม.) ใช้เวลา 4 ปี 5 เดือน การสำรวจครั้งนี้กัปตันรอสได้บันทึกข้อมูลไว้มากมายเกี่ยวกับการเดินทางและสิ่งมีชีวิตที่พบเจอซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์ได้เป็นอย่างดี ชื่อของกัปตันรอสจึงถูกใช้เพื่อตั้งชื่อให้กับสถานที่สำคัญ ๆ ใน Antarctica อย่างเช่น Ross Dependency, Ross Island, Ross Ice Shelf และ Ross Sea 


James Clark Ross



11. การสำรวจในปัจจุบัน เมื่อปี 2011 เคยมีนักสำรวจกลุ่มนึงจากประเทศนอร์เวย์เอาเรือเข้าไปในพื้นที่โดยไม่ได้ขออนุญาตแล้วใช้รถ ATV ขับต่อไปบนน้ำแข็งเพื่อจะไปให้ถึงขั้วโลกใต้ ผลปรากฎว่านักสำรวจ 3 คนหายตัวไปเจอแต่ซากเรือ 

Flat Earth - The Vanishing, BERSERK unauthorized expedition to the South Pole


12. Colin O’Brady เมื่อปี 2018 Colin ได้ใช้สกีเดินทางคนเดียวเป็นระยะทางประมาณ 900 ไมล์เพื่อไปให้ถึงขั้วโลกใต้ แต่ถ้าดูตามแผนที่โลกแบนก็จะเป็นระยะทางแค่ช่วงนึงเท่านั้น 



13. US. Marshals แม้ว่าสหรัฐอเมริกาจะไม่ได้มีส่วนเคลมพื้นที่ใน Antarctica เลย (มีการเคลมพื้นที่แค่ 7 ประเทศ คือ Argentina, Australia, Chile, France, New Zealand, Norway, and the United Kingdom) แต่บทบาทของสหรัฐอเมริกาก็มีอิทธิพลสูงมากในการดูแล Antarctica นอกจากนั้นสหรัฐอเมริกาคือผู้เริ่มก่อตั้งหน่วยบังคับการใช้กฎหมายสำหรับใช้กับพื้นที่ที่อยู่ภายนอกข้อกฎหมายของประเทศที่อ้างสิทธิ































การอ้างสิทธิ์ในพื้นที่มีเพียง 7 ประเทศตามนี้


14. พระอาทิตย์เที่ยงคืนที่ขั้วโลกใต้ ถ้าหาก Antarctica เป็นทวีปและอยู่ด้านตรงกันข้ามกับขั้วโลกเหนือจริง เราจะต้องได้เห็นภาพพระอาทิตย์เที่ยงคืนเหมือนกันกับที่เกิดในขั้วโลกเหนือ แต่จริง ๆ แล้วยังไม่เคยมีภาพที่ถ่ายเหตุการณ์พระอาทิตย์เที่ยงคืนได้จริง ๆ จากขั้วโลกใต้ เท่าที่มีคือภาพตัดต่อแม้ว่าจะเป็นภาพจากกล้องวงจรปิดก็ตาม ลองฟังคลิปนี้อธิบาย

Antarctica Is NOT What You Think - No 24 Hour Sun!

-------------------------------------------------------------

วันอาทิตย์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

41) Salt Flats Bolivia (Salar de Uyumi) ประเทศโบลีเวีย

Salar de Uyumi มีลักษณะเป็นที่ราบกว้างใหญ่ถึง 4,000 ตารางไมล์ (10,582 ตร.กม.) เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงมากและเป็นฉากของเมือง Crait อยู่ในภาพยนตร์เรื่อง The Last Jedi


Star Wars: The Last Jedi | Worlds of The Last Jedi


Flooded Salt Flats Look Like Giant Mirror

ลักษณะทางกายภาพ
- ความยาว 100 ไมล์ (160.93 กม. - โลกจะโค้งลง 2.03 กม.)
- ความกว้าง 84 ไมล์ (135.18 กม. - โลกจะโค้งลง 1.43 กม.)


ในระยะทางความยาว 160.93 กม. นี้ สำหรับโลกกลมจะมีความโค้งของโลกสูงเท่ากับ 508.13 เมตร





ภาพจากมุมสูง ในเนื้อหาอธิบายว่าที่ราบ Salt Flats แห่งนี้ราบเรียบมากโดยมีความผันแปรไม่เกิน 1 เมตร ตลอดทั้งพื้นที่


Salar de Uyuni มีขนาดใหญ่พอ ๆ กับเกาะฮาวาย ถ้าเทียบกับจังหวัดในประเทศไทยก็ใหญ่กว่าจ.บุรีรัมย์นิดหน่อย (บุรีรัมย์มีขนาด 10,322.885 ตร.กม.)


Salar de Uyumi เป็นสถานที่ที่แสดงให้เห็นถึงคุณสมบัติของน้ำได้เป็นอย่างดีตามเหตุผลดังนี้

1. น้ำต้องการภาชนะสำหรับบรรจุ
2. น้ำจะรักษาระดับความราบเรียบให้เท่ากันเสมอ
3. ความราบเรียบของน้ำทำให้น้ำสะท้อนภาพได้เหมือนกระจก


น้ำไม่สามารถเกาะอยู่กับวัตถุทรงโค้งได้ น้ำต้องการภาชนะสำหรับบรรจุ


น้ำมีคุณสมบัติในการรักษาระดับความราบเรียบให้เท่ากันเสมอ


ความราบเรียบของน้ำทำให้สามารถสะท้อนภาพได้เหมือนกระจก


ลักษณะของภาพสะท้อนบนสิ่งของที่มีความโค้ง

ภาพสวย ๆ จาก Salar de Uyumi






"Wildlife Wonders of South America" 4K UHD 1HR Film 
- Salar De Uyuni & Patagonia Scenes + Music

---------------------------------------------------------------------------------------------