วันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2564

83) ตอบคำถามเรื่อง Google Map ทำมาได้ยังไง

มีคนถามเรื่อง Google Map ทำมาได้ยังไง ก็ค้นคว้าข้อมูลมาให้แล้วตามนี้

บริษัทเดิมที่เป็นต้นคิดในการทำ Google Earth มีชื่อว่า Keyhole, Inc. เป็นบริษัททำซอฟท์แวร์โดยใช้ภาพจากดาวเทียมหรือภาพถ่ายทางอากาศมาประกอบเป็นภาพ 3D บนลูกโลก โดยที่ตอนนั้นใช้ชื่อว่า Keyhole EarthViewer ต่อมาบริษัท In-Q-Tel ซึ่งเป็นบริษัทของ CIA ได้สนับสนุนเงินทุนให้กับ Keyhole, Inc. ในการพัฒนาซอฟท์แวร์ และในปี 2004 Google สนใจผลิตภัณฑ์นี้จึงได้เข้ามาซื้อกิจการ และเปลี่ยนชื่อมาเป็น Google Earth ที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ที่มาของข้อมูล https://www.businessinsider.com/the-cias-earthviewer-was-the-original-google-earth-2015-11 และ https://www.historyofinformation.com/detail.php?entryid=3145

การถ่ายภาพทางอากาศไม่ใช่เรื่องใหม่ มีมานานแล้ว อาจจะใช้นกพิราบ เครื่องบิน บอลลูน หรือใช้จรวดยิงขึ้นไปแล้วค่อยปล่อยบอลลูนอีกทีก็ได้ เรียกว่า rockoon (rocket+balloon) หรือ balloon satellite ก็คือวิธีที่อเมริกาใช้แล้วอ้างว่าได้ภาพโลกกลมมาเป็นภาพแรกในปี 1960 นั่นแหละ (อ่านเรื่อง ภาพโลกกลมภาพแรกจากดาวเทียม TIROS I ในวันเมษาหน้าโง่ เมื่อปี 1960 ลิงค์ https://flatearthmatters.blogspot.com/2020/04/67-tiros-i-1960.html?m=1

ซึ่งจริง ๆ แล้วการใช้บอลลูนจะสามารถขึ้นไปที่ระดับความสูงไม่มาก ได้ไม่เกิน 40 - 50 กม. เพราะก๊าซในบอลลูนจะดันออกเนื่องจากสภาวะสุญญากาศจนทำให้บอลลูนระเบิด

Balloon Satellite Is Launched Into Space (1960)

เมื่อได้ภาพถ่ายของพื้นที่ที่ต้องการ ซึ่งจะได้ถ่ายมามาเป็นส่วน ๆ แล้วก็จะเอาแต่ละภาพมาต่อกัน (mosaic) ให้เป็นภาพใหญ่ และกองทัพก็ใช้วิธีนี้เป็นกลยุทธ์อย่างหนึ่งในการทำแผนที่เพื่อวางแผนการรบ ส่วนการทำ Google Earth ก็ใช้หลักการเดียวกันแค่เอาภาพที่ได้มาต่อภาพด้วยคอมพิวเตอร์แค่นั้นเอง 

การทำภาพแบบ google earth จะใช้โครงร่างเป็นโลกกลม โลกแบน หรือโลกทรงอะไรก็ได้ทั้งนั้น แล้วแต่เราอยากได้ เพราะมันคือการเอาภาพมาต่อกันแล้วเอามาหุ้มโครงที่เราอยากได้อีกที ซึ่งไม่ได้แปลว่าโลกกลมที่ Google Earth ทำออกมานั้นคือของจริง (มีคำอธิบายเพิ่ม)


มีคนเคยอธิบายไว้เกี่ยวกับการทำแผนที่ซึ่งเห็นว่าเป็นข้อมูลที่ดีเลย capture เก็บไว้ ลองอ่านและพิจารณาเองนะครับ


หลักการทำ Google Map ก็มีวิธีคล้ายกันกับที่ Robert Simmons ใช้สร้างภาพ The Blue Marble ให้กับนาซ่าซึ่งเขาเคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่า

#แปลจากคำสัมภาษณ์ของ Robert Simmon ที่ลงไว้ในเว็บไซต์ของนาซ่า เมื่อวันที่ 6 ธ.ค. 2012 

คำถาม: สิ่งที่เจ๋งที่สุดที่คุณได้ทำจากการทำงานที่ Goddard 

คำตอบ: ครั้งสุดท้ายที่มีคนถ่ายภาพโลกไว้ได้เป็นภาพจากปี 1972 เป็นภาพถ่ายที่แสดงให้เห็นโลกครึ่งใบที่มาจากวงโคจรต่ำของโลก (low earth orbit วงโคจรรอบโลกที่อยู่สูงขึ้นไประหว่าง 160-2,000 กม.) ซึ่งมาจากโครงการอพอลโล 17 องค์กรนาซ่ามีดาวเทียม Earth Observing System (EOS) ได้ถูกออกแบบมาเพื่อตรวจสอบสุขภาพโลก และในปี 2002 เรามีข้อมูลของโลกเพียงพอที่จะนำมาทำเป็นภาพโลกทั้งใบ เราก็เลยได้ทำมันออกมา 

ช่วงที่ยากที่สุดก็คือการทำแผนที่โลกแบบแบนให้เป็นพื้นผิวโลกจากข้อมูลดาวเทียมทั้งหมด 4 เดือน คนที่ทำงานมากที่สุดในส่วนนี้คือ Reto Stockli ซึ่งปัจจุบันทำงานอยู่ที่ Swiss Federal Office of Meteorology and Climatology #แล้วเราก็เอาภาพแผนที่โลกที่มีลักษณะแบนมาพันรอบลูกบอล ในส่วนที่ผมทำก็คือการประกอบส่วนต่าง ๆ ของพื้นผิวโลกก้อนเมฆ และมหาสมุทร เพื่อให้สมกับที่ผู้คนคาดหวังที่จะได้เห็นภาพโลกจากอวกาศ และนั่นก็กลายเป็นภาพโลกกลมที่โด่งดังมากในชื่อว่า Blue Marble (หินอ่อนสีฟ้า)




  




ลองโหลดภาพมาเล่น photo hunt ดูได้ครับ สนุกดี เจอตามนั้นเป๊ะเลย แปะลิงค์จากเว็บของนาซ่าให้ละ #นาซ่าเค้าคงอยากได้ก้อนเมฆสวยๆอ่ะเนอะ https://visibleearth.nasa.gov/images/57723/the-blue-marble



โลกแบนในที่นี้หมายถึงโลกที่มีลักษณะแบบเดียวกับโลกในแผนที่ที่เรียกว่า Azimuthal Equidistant เป็นแผนที่โลกที่ใช้งานได้ตามปกติ ใช้เป็นแผนที่การบิน บอกเส้นทางการบิน บอกระยะทางการบินได้ 




แผนที่แบบ Azimuthal Equidistant ก็สามารถใช้บอกการหมุนเวียนของกระแสลมกระแสน้ำ บอกอุณหภูมิในแต่ละพื้นที่ได้ อย่างในเว็บนี้ที่นักพยากรณ์อากาศใช้เป็นข้อมูล real time เพื่อพยากรณ์อากาศก็ใช้แผนที่โลกแบนแบบนี้ได้ไม่มีปัญหา

Azimuthal Equidistant Wind Map - FE

----------------------------------------------------

#บทความเพิ่มเติม
21) ต้นกำเนิดแผนที่แบบ Azimuthal Equidistant (AE) ของ Giovanni Domenico Cassini https://flatearthmatters.blogspot.com/2018/07/blog-post.html?m=1