“We are skeptical of claims for the ability of random mutation and natural selection to account for the complexity of life. Careful examination of the evidence for Darwinian theory should be encouraged.”
แปลไทย
“เรามีข้อกังขาในการกล่าวอ้างความสามารถในการกลายพันธุ์แบบสุ่ม (random mutation) และการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (natural selection) เพื่ออธิบายความซับซ้อนของสิ่งมีชีวิต เราอยากให้มีการตรวจสอบหลักฐานที่จะนำมาใช้พิสูจน์ทฤษฎีของดาร์วินนี้อย่างระมัดระวัง"
Did you know that a growing number of scientists doubt the Darwinian theory of evolution?
จากผู้ลงนามในเอกสารนี้รวบรวมรายชื่อแล้วมีทั้งหมด 24 หน้า ซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์จากสาขาต่าง ๆ ประมาณพันคนจากหลากหลายประเทศทั่วโลก เท่าที่ตรวจสอบมีทั้งอาจารย์ที่สอนในมหาวิทายาลัยดังๆ และนักวิทยาศาสตร์จากสถาบันต่าง ๆ เช่น Harvard Medical School, Yale University, Princeton University, University of Washington, Royal Society of Chemistry
คลิกดูรายชื่อทั้งหมดได้จากลิงค์นี้
ใครสนใจข้อมูลเพิ่มเติมลองฟังคลิปการสัมภาษณ์ของ Dr. Douglas Axe เป็นนักชีววิทยาโมเลกุล เป็นอาจารย์รับเชิญของสถาบันชีววิทยาโมเลกุลที่ Biola University และเป็นผู้อำนวยการสถาบันชีววิทยา
Biologist explains scientific challenges to Darwinian evolution
Dr. Douglas Axe อธิบายว่าในยุคของดาร์วินเรามีความรู้เรื่องเคมีในระดับเซลล์เล็กน้อยมาก เราเข้าใจเรื่องการเผาผลาญอาหาร (metabolism) เพียงเล็กน้อย เรามีความรู้ไม่มากเรื่องที่เซลล์สามารถผลิตสารเคมีที่มันต้องการได้อย่างไร แต่ในปัจจุบันนี้เราเข้าใจในรายละเอียดมากขึ้นว่าโปรตีนทำงานอย่างไรในเชิงเคมีเพื่อการดำรงชีวิตที่เรียกกันว่าเอนไซม์ เราเข้าใจดีว่าเอนไซม์พวกนี้สำคัญอย่างไร เรารู้ดีว่าพวกมันถูกเข้ารหัส (encode) มาด้วยยีนส์ และเรารู้ว่าเอนไซม์ถูกกำหนดรหัสมาได้อย่างไรซึ่งนั่นเรียกว่าการเข้ารหัสพันธุกรรม (genetic code) ถ้าคุณเอาทุกอย่างมารวมกันจะบอกได้ว่าเราเข้าใจเรื่องการเข้ารหัสข้อมูลแบบดิจิตอลในระดับเซลล์ในรูปแบบรหัสจีโนม (genome) เราเข้าใจว่ามันเกิดขึ้นเพื่อการกำหนดรหัสโปรตีน และเรารู้ว่าโปรตีนทำงานอย่างไรในเชิงเคมีเพื่อการมีชีวิตอยู่ และเรายังสามารถวัดได้ว่าในนั้นมีข้อมูลอยู่เท่าไหร่บ้าง ถ้าเอาทุกอย่างมารวมกันก็จะมองเห็นอะไรบางอย่างเหมือนกับที่มนุษย์เราใช้เพื่อออกแบบการกำหนดรหัสทางข้อมูลดิจิตอล และเราก็รู้ว่ามันเป็นไปไม่ได้ที่จะได้ข้อมูลในสเกลระดับนั้นด้วยความบังเอิญอย่างที่ทฤษฎีดาร์วินบอกไว้
ผมจำได้ว่าผมคิดว่ามันไม่ใช่แค่ผลผลิตในเชิงวิศวกรรมแต่เป็นผลผลิตทางวิศวกรรมอันชาญฉลาด (product of brilliant engineering) และตอนนั้นเองที่ผมคิดว่ามันต้องมีใครซักคนที่ต้องทำการทดลองเพื่อพิสูจน์ว่ามันใช่หรือไม่
ผมว่ามันเป็นเรื่องแปลกที่การมีอคติมีผลต่อการประมวลข้อมูลของเรา บางคนก็เชื่อตามสิ่งที่ถูกสอนมา แต่ผมไม่เป็นแบบนั้น ผมมักจะตั้งข้อสงสัยในสิ่งที่ถูกสอนอยู่เสมอรวมทั้งทฤษฎีดาร์วินนี้ด้วย
ถ้าคุณเชื่อว่าสิ่งต่าง ๆ เกิดขึ้นได้จากความบังเอิญด้วยวิธีการสุ่ม (random processes) ถ้าเป็นอย่างนั้นจริงเราคงมีแต่ขยะ เราคงมีแต่เศษขยะเต็มไปหมด และนั่นเองที่ทุกคนกระโจนเข้าสู่สมมติฐานแห่ง DNA กองขยะ ซึ่งพวกเขาก็เจอเพียงเศษเสี้ยวหลักฐานที่จะบอกว่าจีโนม เป็นตัวกำหนดรหัสโปรตีน ซึ่งนั่นเป็นเพียงด้านนึงของจีโนมที่เราเข้าใจดี ก็กลายเป็นว่า DNA เหล่านั้นมันไม่ใช่ขยะ และมันยิ่งชัดเจนมากขึ้นว่าที่จริงแล้วสิ่งเหล่านี้มันไม่ใช่ขยะแต่มันเป็นการคาดการณ์ที่มีนัยยะสำคัญ ซึ่งไม่ใช่ตามที่ดาร์วินคาดการณ์ไว้ แล้วก็สามารถบอกได้ว่าทฤษฎีดาร์วินนั้นไม่ถูกต้อง ซึ่งมันยิ่งชัดเจนขึ้นมาเรื่อย ๆ
***********************
ริชาร์ด ดอว์กินส์ (Richard Dawkins) คือนักวิชาการที่สนับสนุนแนวคิดตามทฤษฎีวิวัฒนาการของดาร์วิน
คลิปนี้เขาอธิบายว่ามนุษย์เรามีบรรพบุรุษร่วมกันกับลิง มนุษย์เราเป็นญาติกันกับ ลิงชิมแปนซี ลิงโบโนโบ กอริลล่า และลิงอุรังอุตัง แต่ในความคิดแอดทฤษฎีวิวัฒนาการของดาร์วินมองข้ามความแตกต่างอย่างมีนัยยะสำคัญของมนุษย์กับสัตว์ ถ้าพิจารณาให้ดี ๆ มนุษย์กับลิงแตกต่างกันอย่างมากในแง่ของการใช้สมองเพื่อการคิด มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตประเภทเดียวที่มีทักษะการใช้สมองเพื่อคิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ เรียกได้ว่าโดดเด่นอย่างมากกว่าสัตว์ประเภทอื่น ๆ และไม่มีลิงประเภทไหนจะมีความสามารถเทียบเท่าได้เลย
Richard Dawkins: Why are there still Chimpanzees? - Nebraska Vignettes #2
#Darwinsim
#Pseudoscience
#DissentFromDarwin
#Scientism
------------------------------------------------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น