วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2562

52) การโคจรของดวงอาทิตย์และการเกิดฤดูกาลในโมเดลโลกแบน

เส้นทางการโคจรของดวงอาทิตย์ในโมเดลโลกแบน


ในโมเดลโลกแบนดวงอาทิตย์โคจรรอบโลกในแนวขนานไปกับพื้นโลกใช้เวลา 23.56 ชม. (1 วัน)

Seiko World-Time Clock
https://youtu.be/_jSjDq3tRZA

และการโคจรจะมี 3 วง มี 3 ระดับ ดูคำอธิบายใน 2 คลิปนี้ประกอบ

Flat Earth Summer Sun 24hrs


Heliocentric to Geocentric Plane 3D Models
https://www.youtube.com/watch?v=WY4HUVYFotM&t=355s


 ภาพด้านล่างเป็นการถ่ายภาพดวงอาทิตย์ ณ จุดเดิมในช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์กำลังจะตกตลอดระยะเวลา 6 เดือนที่กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีก ซึ่งแสดงให้เห็นว่าวงโคจรของดวงอาทิตย์จะมีการขยับไปเรื่อย ๆ ดวงอาทิตย์ไม่ได้ตก ณ จุดเดิมตลอดทั้งปี


ส่วนภาพนี้แสดงให้เห็นวงโคจรของดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ในโมเดลโลกแบนมี 3 วง และมี 3 ระดับ ดังนี้
1) วงรอบในสุดคือเส้น Tropic of Cancer (สีเหลือง) ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์จะลอยสูงสุด ช่วงเดือนมิถุนายน

2) วงตรงกลางคือเส้น Equator (สีแดง) ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์จะลอยในระดับต่ำลงมา ตอนเดือนกันยายนและมีนาคม

3) วงรอบนอกสุดคือเส้น Tropic of Capricorn (สีส้ม) ช่วงเดือนธันวาคม ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์จะลอยอยู่ในระดับต่ำและอยู่ใกล้ผิวโลกมากที่สุด


การเกิดฤดูกาลในโมเดลโลกแบน

และการโคจรของดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ก็จะมีการวนเข้าและวนออก การวนเข้าของดวงอาทิตย์จะมาจากทิศใต้เข้าไปทิศเหนือและขึ้นไประดับสูงสุดในวันที่ 21 มิ.ย. และวนออกจากทิศเหนือลงมาทิศใต้มาอยู่ระดับต่ำสุดในวันที่ 21 ธ.ค.


1) วงรอบสีฟ้าในสุดคือเส้น Tropic of Cancer ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์จะลอยสูงสุด ในวันที่ 21 มิถุนายน ซึ่งจะเรียกว่าวันครีษมายันหรืออุตตรายัน (summer solstice) และจะเป็นฤดูร้อนของทางซีกโลกเหนือหรือทางฝั่งยุโรป จึงเกิดพระอาทิตย์เที่ยงคืน (midnight sun) ที่ขั้วโลกเหนือ คือพระอาทิตย์อยู่เหนือเส้นขอบฟ้าตลอดเป็นระยะเวลาประมาณ 6 เดือน (มากน้อยขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่)

2) วงรอบสีดำคือเส้น Equator ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์จะลอยในระดับต่ำลงมาตอนเดือนกันยายนและมีนาคม จึงเกิดฤดูใบไม้ร่วงและใบไม้ผลิของทวีปยุโรป และเป็นช่วงกำลังจะเข้าฤดูร้อน (เดือนมี.ค.) และเข้าฤดูหนาว (เดือนก.ย.) ของประเทศแถบเส้นศูนย์สูตร

3) วงรอบสีส้มนอกสุดคือเส้น Tropic of Capricorn ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์จะโคจรมาถึงเส้นนี้ในช่วงเดือนธันวาคม ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์จะลอยอยู่ในระดับต่ำและอยู่ใกล้พื้นโลกมากที่สุด เป็นช่วงเวลาที่กลางคืนยาวนานกว่ากลางวันเรียกว่าเหมายัน (winter solstice)  และจะเป็นฤดูร้อนของทางประเทศออสเตรเลีย ส่วนทางขั้วโลกเหนือก็เป็นช่วงที่จะเกิด Polar night คือดวงอาทิตย์ไม่ขึ้นติดต่อกันหลายเดือน และเกิดปรากฎการณ์แสงเหนือในช่วงเดือนนี้เช่นกัน อย่างที่เมือง Spitsbergen (หรือ Svalbard) ในประเทศนอร์เวย์จะไม่เห็นดวงอาทิตย์เลยเป็นระยะเวลากว่า 5 เดือน



Experience the polar night and the northern lights in Svalbard


และที่เมือง Barrow ในอลาสกาก็จะไม่เห็นดวงอาทิตย์ขึ้นเลยเป็นเวลา 67 วัน



การโคจรของดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ในลักษณะการวนเข้าและวนออกแบบนี้จะสอดคล้องกับปรากฏการณ์ Solar Analemma และ Lunar Analemma เป็นเลข 8 ดังในภาพด้านล่าง คือ จุดสูงสุดของดวงอาทิตย์คือวันครีษมายัน (Summer Solstice) เป็นวันที่ระยะของช่วงกลางวันยาวนานกว่ากลางคืน วันที่ดวงอาทิตย์อยู่ที่จุดเส้นศูนย์สูตร (Equator) เรียกว่าวัน Equinox เป็นวันที่ช่วงเวลากลางวันและกลางคืนยาวนานเท่ากัน และ Winter Solstice คือวันเหมายันเป็นวันที่ช่วงเวลากลางคืนยาวนานกว่ากลางวัน








ซึ่งจะเห็นว่าเส้นวงของ Analemma ด้านนึงจะแคบและสั้นกว่าเส้นวงอีกด้านก็เพราะเส้นวงด้านแคบคือวงโคจรของดวงอาทิตย์บริเวณขั้วโลกเหนือที่มีระยะทางที่สั้นกว่า และวงโคจรที่ขั้วโลกใต้มีระยะทางที่ไกลกว่าจึงทำให้เกิดวง 2 วงที่ไม่เท่ากัน ซึ่งจะสอดคล้องกับลักษณะพื้นที่ของโลกในโมเดลโลกแบนมากกว่าของโลกกลม





Analemma movie for every 60 seconds! (english)
https://www.youtube.com/watch?v=KRFXWB2dGcU


The Solar Analemma over Edmonton


ANALEMMA at SUNSET (SICILY)


---------------------------------------------------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น