Dr. Hideaki Koizumi นักฟิสิกส์และนักวิทยาศาสตร์ด้านสมองได้บรรยายเกี่ยวกับเรื่องจริยธรรมในด้านวิศวกรรมในงาน Ethics in Engineering: A Panel at a CAETS Council Meeting CAETS 2017 Madrid Real Academia de Ingenieria เมื่อวันที่ 16 พ.ย. 2017 มีเนื้อหาที่ให้แง่คิดเกี่ยวกับการใช้องค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ไว้อย่างน่าสนใจ (อ้างอิง 1)
ในช่วงต้น Dr. Hideaki เสนอรากศัพท์ของคำ 3 คำที่เกี่ยวข้องกันคือ Engineering, Science, และ Technologyโดย Engineering มีรากศัพท์มาจากคำว่า gen มีความหมายว่าให้กำเนิดหรือสร้างขึ้น ส่วนคำว่า Science มีรากศัพท์มาจากคำภาษากรีก "skei" แปลว่า "แยกออก แบ่งออก" ส่วนคำว่า Technology มาจากรากศัพท์ในภาษากรีกคือคำว่า Tekhnē แปลว่า "เลียนแบบหรือทำขึ้นมา"
Marie Curie
Dr. Hideaki ได้ยกคำกล่าวของ Marie Curie ที่กล่าวไว้ในวันที่เธอได้รับรางวัลโนเบลเมื่อปี 1903 ไว้ว่า "วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนั้นเป็นกลาง (ไม่เข้าข้างใคร) ดังนั้นไม่ว่าทั้งสองอย่างนี้จะถูกนำไปใช้ในทางดีหรือไม่ดีก็ขึ้นอยู่กับมนุษยธรรมทั้งสิ้น"
Alfred Nobel
รางวัลโนเบลนั้นถูกตั้งชื่อตาม Alfred Nobel นักเคมีชาวสวีเดน ที่เป็นทั้งวิศวกร นักประดิษฐ์ นักธุรกิจ โดยเขาได้เป็นผู้คิดค้นระเบิดไดนาไมท์ และเปลี่ยนโรงงานของเขาจากเดิมที่ผลิตเหล็กและเหล็กกล้าให้เป็นโรงงานผลิตปืนใหญ่และอาวุธ
Fritz Haber
ต่อมา Dr. Hideaki นำเสนอ Fritz Haber ซึ่งเป็นนักเคมีผู้ค้นพบวิธีการสังเคราะห์แอมโมเนียจากแก๊สไนโตรเจนและไฮโดรเจน Fritz Haber ก็ได้รับรางวัลโนเบลเช่นกันในปี 1918 จากการคิดค้นของเขามีความสำคัญมากกับการผลิตปุ๋ยและการทำวัตถุระเบิดขนาดใหญ่
จากผลงานของ Fritz ทำให้เขาได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ควบคุมการใช้อาวุธเคมีให้กับกองทัพเยอรมัน
(คนที่ชี้นิ้ว) (อ้างอิง 3)
เหตุการณ์เกิดขึ้นหลังจากที่ Fritz กลับมาจากสนามรบเพื่อเฉลิมฉลองความสำเร็จของเขาในวันที่ 1 พ.ค. 1915 พอเช้าวันที่ 2 พ.ค. พวกเขาทั้งสองทะเลาะกันอย่างรุนแรงและ Clara หยิบปีนของ Fritz ยิงตัวตายที่สนามหญ้าหน้าบ้าน แต่ในวันเดียวกันนั้นเอง Fritz ออกเดินทางไปสนามรบอีกครั้งโดยปล่อยให้ลูกชายจัดการเรื่องทั้งหมดคนเดียว (อ้างอิง 2)
Fritz Haber และ Albert Einstein เป็นเพื่อนกัน (อ้างอิง 3)
- Clara Immerwahr
Clara Immerwahr เป็นนักเคมีเช่นกัน เธอเป็นผู้หญิงคนแรกที่จบการศึกษาระดับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยในเยอรมันนีด้วยเกียรตินิยมอันดับสอง ต่อมาในปี 2011 สถาบัน UniCat (Unifying Concepts in Catalysis) ได้มีพิธีมอบรางวัล The Clara Immerwahr Award เพื่อส่งเสริมความเสมอภาคให้กับนักวิทยาศาสตร์หญิงที่ศึกษาด้านปฏิกริยาทางเคมี (อ้างอิง 4)
ตัวอย่างภาพยนตร์เรื่อง Clara Immerwahr จากประเทศออสเตรีย
https://www.youtube.com/watch?v=ZawUOaIbuJw
https://www.youtube.com/watch?v=ZawUOaIbuJw
Johann Georg Faust
Johann Georg Faust (1480 - 1540) เป็นหมอที่ประสบความสำเร็จในชีวิตดีแต่รู้สึกไม่พอใจกับชีวิตตัวเองนัก เขาได้ทำสัญญากับปีศาจเพื่อแลกชีวิตของเขากับความรู้และความสุขอย่างไม่มีขีดจำกัดในทางโลก ประวัติของ Faust เป็นตำนานที่อยู่ในของวรรณกรรมหลายเรื่อง อย่างเช่นของ Goethe
ตามภาพคำถามนั้นถามว่า "จุดมุ่งหมายแอบแฝงของการเล่นแร่แปรธาตุคืออะไร?"
คำตอบ "คือการพยายามสร้างมนุษย์ขึ้นมา"
ในภาษาอังกฤษคำว่า "Faust" และคำคุณศัพท์ "Faustian" มีนัยยะหมายถึงสถานการณ์ที่บุคคลที่มีความทะเยอทะยานจนยอมจำนนต่อคุณธรรมเพื่อต้องการจะได้อำนาจและความสำเร็จเพียงแค่ระยะเวลาสั้น ๆ (อ้างอิง 5)
อ้างอิง
1) https://www.caetsmadrid2017.com/wp-content/uploads/2017/11/Final-CAETS-2017-A-Compuss-for-Engineering-Ethics-by-H.-Koizumi.pdf
2) http://nopr.niscair.res.in/bitstream/123456789/33647/1/SR%2053%281%29%2038-40.pdf
3) http://chemicalweapons.cenmag.org/who-was-the-father-of-chemical-weapons/
4) https://www.unicat.tu-berlin.de/index.php?id=807
5) https://en.wikipedia.org/wiki/Faust
1) https://www.caetsmadrid2017.com/wp-content/uploads/2017/11/Final-CAETS-2017-A-Compuss-for-Engineering-Ethics-by-H.-Koizumi.pdf
2) http://nopr.niscair.res.in/bitstream/123456789/33647/1/SR%2053%281%29%2038-40.pdf
3) http://chemicalweapons.cenmag.org/who-was-the-father-of-chemical-weapons/
4) https://www.unicat.tu-berlin.de/index.php?id=807
5) https://en.wikipedia.org/wiki/Faust
------------------------------------------------------